ไลฟ์สไตล์

เลี้ยงลูกด้วยคำขู่ ความเสียหายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

new18
เผยแพร่ 19 ม.ค. 2563 เวลา 22.00 น. • new18
เลี้ยงลูกด้วยคำขู่ ความเสียหายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

เลี้ยงลูกด้วยคำขู่ ความเสียหายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

การขู่ให้ลูกกลัวถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการเลี้ยงลูกแบบผิด ๆ ที่พ่อแม่หลายคนอาจยังไม่รู้ตัว ว่านั่นคือการทำร้ายลูกทางอ้อม แม้ช่วงแรกการขู่จะใช้ได้ผล ลูกเชื่อฟัง แต่ก็เป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น เพราะในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อตัวลูกที่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กลัวจนเสียโอกาส

เด็กในวัย 2-5 ขวบ เป็นวัยที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียนรู้ เริ่มเข้าใจภาษาพูดและพฤติกรรมของคนรอบข้าง หากพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยการขู่บ่อย ๆ จะทำให้ความอยากเรียนรู้หายไปเพราะเกิดความกลัวเข้ามาปิดกั้น ตามธรรมชาติของเด็กแล้ว หากเกิดความกลัวก็จะไม่กล้าเข้าไปสำรวจ ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ แม้สิ่งนั้นจะไม่อันตราย จนทำให้เด็กเสียโอกาสหลายอย่างเพราะพ่อแม่ตั้งกรอบความกลัวรอบตัวลูกโดยไม่รู้ตัว

ส่งผลต่อการเรียน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการขู่ลูกตั้งแต่เด็กจะทำให้การอยากเรียนรู้หายไป เมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนความอยากเรียน ความกระตือรือร้นจะน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน เพราะเด็กจะรู้สึกว่าไม่สนุกกับการเรียน ไม่เกิดความสงสัยและไม่พยายามหาคำตอบ ส่วนใหญ่เด็กที่เรียนหนังสือได้ดีจะเรียนเพราะอยากรู้ ไม่ใช่เรียนเพราะต้องเรียน ดังนั้นความอยากรู้ อยากเห็น ของเด็กจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความฉลาดของเด็กเป็นอย่างมาก

ไม่กล้าเข้าสังคม

นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความกลัวจนเสียโอกาสและไม่กล้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้ว ยังมีผลทำให้เด็กมีอาการวิตกกังวล ไม่กล้าเข้าสังคม พอโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่มีนิสัยหวาดระแวงและมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือความสัมพันธ์กับเพื่อน บางรายอาจจะหนักถึงขั้นเมื่อโตขึ้นอยู่ในวัยผู้ใหญ่ก็มักจะมีปัญหาหย่าร้างและไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิตคู่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว

ลูกเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนสิ่งที่พ่อแม่ทำ หากพ่อแม่ขู่ลูกด้วยคำพูดที่รุนแรง ก้าวร้าว เด็กจะเกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น ทำให้เมื่อโตขึ้นอาจมีนิสัยก้าวร้าว และชอบใช้ความรุนแรง เนื่องจากถูกปลูกฝังด้วยคำขู่มาตั้งแต่เด็ก ๆ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ เด็กที่เริ่มเข้าใจภาษาพูดของพ่อแม่จะเรียนรู้ได้ว่าคำขู่เหล่านั้นไม่เกิดขึ้นจริง เป็นแค่คำขู่ที่พ่อแม่สร้างขึ้นมา ทำให้พวกเขาไม่เกรงกลัวต่อคำขู่และอำนาจการต่อรองของพ่อแม่ก็จะลดลง ในระยะยาวเด็กจะไม่เชื่อฟังและแสดงอาการต่อต้านที่ก้าวร้าวมากขึ้น

รศ.พญ.สุวรรณี พุทธิศรี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • eka
    แล้ว ไปโรงเรียนก็โดนครูฟาดเต็มแรง ด่าว่าสารพัด สารเลวอีก โตมาเป็นคนดีมีคุณภาพครับ เห้อประเทศ
    20 ม.ค. 2563 เวลา 03.02 น.
  • ☘️🐈‍⬛☘️แต่เสือก💔เพราะ🐃👰🏻‍♀️👰🏻‍♀️
    มันจะไม่เกิดขึ้นกับลูกกูแน่นอน มีอะไรกูพูดตรงๆ แมนๆ สอนไปเลยว่าอะไรควรไม่ควร ไม่มีขู่ ไม่มีตะคอก และไม่ตามใจจนเคยตัว การมีลูกถ้าไม่ทุ่มเทให้ลูกแล้วจะให้ทุ่มเทกับหมาที่ไหน เพราะมันคือความรับผิดชอบ มีแต่คนส้นตีนเท่านั้นที่แม่งชอบขู่เด็ก นอกจากเด็กจะไม่เคารพแล้ว แม่งยังเกลียดฝังใจ กับหลานกู กูไม่จำเป็นต้องพูดมาก คำเดียวรู้เรื่อง แสดงถึงความเอาใจใส่ให้มันเห็น ต่อให้มันจะร้ายสักแค่ไหน มันก็ต้องเห็นอกเห็นใจเราบ้าง มันคือการให้โดยไม่หวังผล เด็กมันก็จะค่อยๆซึมซับ ความหวังดีที่เรามีให้มัน
    27 ม.ค. 2563 เวลา 19.39 น.
  • Recta Sapere
    ความหมายของคำว่า ' ขู่ ' ขู่ หมายถึง ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ ... นั่นหมายความว่า เราสามารถ เตือนเด็ก คาดโทษเด็ก ตามปกติได้โดยมีความหมายเดียวกัน แต่ไม่ต้องให้เกิดความกลัว เช่น "ถ้าหนูไม่ทำ (หรือทำ) .... อีกครั้ง พ่อ(แม่) จะ ...." เป็นประโยคเงื่อนไขปกติ ด้วยน้ำเสียง และ อารมณ์ปกติ โดยไม่ต้องทำให้เด็ก "กลัว" ได้ โดยได้ผลลัพท์เดียวกัน ก็ไม่น่าจะมีผลอย่างที่คุณหมอออกมาเตือนเนอะ
    20 ม.ค. 2563 เวลา 03.31 น.
ดูทั้งหมด