ไอที ธุรกิจ

ลูกหนี้ต้องรู้ แบงก์ชาติสั่งสถาบันการเงิน ปรับวิธีคิดดอกเบี้ย-ลดค่าธรรมเนียม

TODAY
อัพเดต 21 ม.ค. 2563 เวลา 10.20 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2563 เวลา 10.20 น. • Workpoint News

เพิ่งเห็นว่าเมื่อสัปดาห์ก่อนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการใหม่ สั่งให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยน วิธีการคิดดอกเบี้ย  และ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม  เพื่อช่วยลดภาระให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ SMEs และเพิ่มความเป็นธรรมให้กับลูกค้ามากขึ้น

โดยปรับเปลี่ยนทั้งหมด 3 เรื่องด้วยกัน คือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. ค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด ให้คิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือ (เดิมคิดจากเงินต้นทั้งก้อน) ยกตัวอย่าง

  • ถ้าเรากู้เงินจากธนาคารมาทำธุรกิจ 10 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาชำระคืน 10 ปี
  • เราชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเมื่อผ่านไป 3 ปี เราผ่อนเงินต้นคืนแล้ว 3 ล้านบาท มียอดเงินต้นคงเหลืออีก 7 ล้านบาท แต่เราต้องการปิดหนี้ ก่อนครบกำหนด เพราะธุรกิจดำเนินไปด้วยดีมีกำไร
  • ถ้าธนาคารคิดค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด แบบเดิม คือ คำนวณค่าปรับจากยอดเงินกู้ทั้งหมด 10 ล้านบาท สมมติว่า ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เราจะต้องเสียค่าปรับ 10,000,000 x ดอกเบี้ย 2% เท่ากับ 200,000 บาท
  • แต่มาตรการใหม่ แบงก์ชาติสั่งให้ธนาคารคิดค่าปรับจาก “เงินต้นคงเหลือ” เท่านั้น ดังนั้นหากเรามียอดเงินต้นคงเหลือ 7 ล้านบาท จะต้องเสียค่าปรับ 7,000,000 x ดอกเบี้ย 2% เท่ากับ 140,000 บาท
  • หรือเสียค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดน้อยลง 60,000 บาท สำหรับกรณีตัวอย่างนี้
  • และธนาคารจะต้องกำหนดระยะเวลา “ยกเว้น” ค่าปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนดให้กับลูกหนี้ด้วย เช่น ถ้าปิดหนี้ก่อนกำหนดหลังจากผ่อนชำระมาแล้ว 5 ปี หรือ 7 ปี ต้องไม่เสียค่าปรับเลย เป็นต้น

มาตรการที่ 1 นี้ใช้กับ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ SMEs

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นงวดที่ผิดนัดชำระ (เดิมคิดจากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด) มาตรการนี้ผมเห็นว่าน่าจะช่วยลูกหนี้ได้เยอะที่สุดเลยครับ ยกตัวอย่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • เรากู้เงินซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ผ่อนนาน 20 ปี งวดละ 42,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 8% ต่อปี
  • ที่ผ่านมาเราชำระหนี้ตรงเวลาทุกเดือน แต่ปรากฏว่าพอถึงงวดที่ 25 เราดันผิดนัดชำระ จ่ายหนี้ล่าช้าไป 30 วัน ซึ่งจำนวนหนี้ 42,000 บาทในงวดที่ 25 นี้ คิดเป็นเงินต้น 10,000 บาท บวกกับดอกเบี้ย 32,000 บาท โดยที่เรายังเหลือยอดเงินต้นทั้งหมดอีก 4.77 ล้านบาท
  • ถ้าธนาคารคิดดอกเบี้ยค้างชำระ แบบเดิม คือ คำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด 4,770,000 x ดอกเบี้ย 8% x จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า เราจะต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัด 31,364.38 บาท
  • แต่มาตรการใหม่ ที่แบงก์ชาติสั่งให้คำนวณดอกเบี้ยจาก "เงินต้นงวดที่ผิดนัดชำระ" เท่านั้น นั่นคือเงินต้นงวดที่ 25 (ในเคสนี้) จะได้เป็น 10,000 x ดอกเบี้ย 8% x จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า เราจะเสียดอกเบี้ยเพียงแค่ 65.75 บาท เท่านั้น
  • หรือแตกต่างกันถึง 3 หมื่นบาท
  • และธนาคารจะต้องกำหนดระยะเวลา “ผ่อนผัน” ไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ด้วย เช่น ชำระหนี้ล่าช้าไม่เกิน 3 วัน หรือ 5 วัน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นต้น

มาตรการที่ 2 ใช้กับ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ SMEs

 

3. ค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ให้คืนค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนเมื่อลูกค้ายกเลิกบัตร (เดิมไม่คืนหรือคืนเมื่อลูกค้าขอ) มาตรการนี้อาจดูเหมือนว่าลูกค้าแต่ละคนก็ได้เงินคืนไม่เยอะ แต่จำนวนคนที่ได้คืน ผมคิดว่าเยอะมากแน่ๆ ครับ ยกตัวอย่าง

  • ปกติเราจ่ายค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิต เป็นรายปี เช่น ปีละ 500 บาท
  • เดิม ถ้าเราใช้บัตรไปแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน แล้วขอยกเลิกการใช้ เราจะเสียค่าธรรมเนียม 500 บาทนั้นไปฟรีๆ หรือถ้าต้องการได้ค่าธรรมเนียมคืนก็ต้องไปทักท้วงเอาจากธนาคารเอง
  • แต่มาตรการใหม่ ถ้าเราใช้บัตรไปแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน แล้วขอยกเลิกการใช้ ธนาคารจะต้องคืนเงินให้เราตามสัดส่วนทันทีโดยคิดจากค่าธรรมเนียมรายปีลบส่วนที่ใช้ไปแล้ว อย่างกรณีนี้เราจะได้เงินคืน 376.71 บาท
  • และแบงก์ชาติยังห้ามธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่หรือออกรหัสทดแทนอีกด้วยนะครับ (เว้นแต่จะมีต้นทุนสูงจริงๆ)

 

บทความโดย  ดร.พีท - พีรภัทร ฝอยทอง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 37
  • Nut
    ควรออกกฎ ห้ามบังคับลูกค้า เลือกทำบัตร ATM พ่วงประกัน หรือ บัตร ATM ที่มีราคาสูงๆด้วย และ ธนาคารต้องสำรองบัตร ATM mุกประเภท รวมถึงประเภทที่เก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุดด้วย ทุกวันนี้ จะทำบัตร ATM เจอแต่บัตรมีค่าธรรมเนียมสูงๆโดยอ้างว่า บัตรค่าธรรมเนียมต่ำหมดสต็อก โดยที่อาจจะไม่รู้ว่า อาจจะมีการทำยอดบัตร ATM ค่าธรรมเนียมสูงๆในหมู่พนักงานธนาคารด้วยหรือไม่ ธปท.รบกวนลงมาดูตรงนี้ และ ห้ามให้ ธนาคารนำผลการเปิดใช้บัตร ATM ค่าธรรมเนียมสูงๆมาประเมินผลพนักงานธนาคารด้วย ลูกค้ากระทบเยอะมาก
    22 ม.ค. 2563 เวลา 02.29 น.
  • สุรชัย
    เพิ่งคิดทำรึรวยจนจุกแต่ปชชจะตายหมดแล้ว
    21 ม.ค. 2563 เวลา 11.16 น.
  • PUnakhonbelieve
    ค่าดอกเบี้ยคิดทุกเดือน ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินก็เก็บทุกเดือนซ้ำซ้อน ไปดูของที่ไหน มันโครตเอาเปรียบ
    21 ม.ค. 2563 เวลา 12.12 น.
  • 🎖❣️Suthin❣️🎖
    อืม ดีมีประโยชน์
    22 ม.ค. 2563 เวลา 02.31 น.
  • pada
    เงินต้นที่ค้าง2แสน..คิดเรา19% ไปจ่ายก็คิดจากเงินต้นทั้งหมด งานนี้จ่ายไป450,000..ธ.บ้านเพื่อคุณหรือบ้านเพื่อใคร..ขอให้ความรวยทับตาย..พอปิดบัญชี บอกให้เราไปกู้อีก..เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    22 ม.ค. 2563 เวลา 02.27 น.
ดูทั้งหมด