การเป็นคนเอเชียน ในอเมริกา ท่ามกลางช่วงไวรัสโควิด19 ระบาดนั้น
นอกจากจะกลัวติดโรคแล้ว
ขึ้นชื่อว่า อเมริกา ประเทศแห่งการคลั่งเชื้อชาติตัวเอง และรังเกียจกลุ่มคนที่ไม่ใช่ ‘คนขาว’ ซะขนาดนี้
เราก็เครียดเลยไปถึงว่า ถ้าต้องเข้าโรงพยาบาลจริงๆ ‘เขาจะปฎิเสธการรักษาของเรามั้ย’ เพียงเพราะเราไม่ใช่คนอเมริกัน?
เมืองลอส แองเจลิสที่เราอยู่นั้นช่างกว้างใหญ่ ชุดตรวจโควิด19 ก็มีไม่พอ ขนาดเพื่อนสนิทเราชาวอเมริกัน ที่มีอาการตามโรคนี้ทุกอย่าง ไปคลินิกขอตรวจ หมอยังบอกให้กลับไปพักผ่อนรักษาเองที่บ้านเลย เพราะชุดตรวจมีไม่พอ ต้องเก็บไว้ให้คนที่เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง
คิดภาพมาที่เรา ความหวังแทบริบหรี่ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีเหมือนถ้าเราอยู่ที่ไทย
แต่ลึกๆ แล้ว สิ่งที่เราผวามากกว่าการติดโรค – คือการโดนเหยียดเชื้อชาติ
ประเทศที่มีประธานาธิบดีเรียกไวรัสตัวนี้ว่า ‘Chinese Virus’ หรือไวรัสจีน –เพิ่มความเกลียดชัง ความแค้นเข้าไปอีก
ถึงเราอยู่เมืองลอสเองเจลิส เมืองที่ถือว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูงมาก
แต่มันก็ยังประหม่าอยู่ดี ว่าจะเผลอๆ เดินอยู่แล้วเจอแจ็กพอตโดนคนอี๋ใส่
เพราะเพื่อนคนจีนของเราที่นี่ เกิดและโตที่อเมริกา ก็ยังโดนทำร้ายมาแล้ว ‘แค่เพราะหน้าจีน’
เขาบอกว่า เวลาเห็นข่าว ก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว
วันนี้จะมาพูดถึงการ ‘เหยียดเชื้อชาติ’
ที่เรามักนึกถึงกันแค่ การพูดจาเหยียดชนชาติที่ไม่ใช่คนขาวด้วยภาษาที่หยาบคาย หรือการแกล้งและทำร้ายร่างกายให้เจ็บแสบ
มันมีอีก 4 พฤติกรรมอ้อมๆ ที่ก็สื่อได้ว่ามีนัยยะของความไม่เท่าเทียม การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ หรือเหยียดกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งที่ไม่เหมือนตัวเอง ปนอยู่
- การทำให้มีค่าน้อยลง (Minimization)
คือการทำตัวมืดบอด บอกว่า ‘ปัญหานี้มันไม่มีอยู่จริง มันไม่ได้เป็นปัญหาของสังคมเราเลย’ หาว่าคนอื่นที่ชูประเด็นนี้ขึ้นมานั้น คิดมากเกินไป
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘ฉันไม่เชื่อ ว่าจะมีใครเหยียดผิวในเมืองฮอลลีวูด!’
‘เครียดเรื่องโรคระบาดก็หนักพอแล้ว ยังจะมาเครียดเรื่องโดนเหยียดนี่อีกทำไม!’
- การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization)
คือการเลือกที่จะไม่ใส่ใจปัญหานี้ และหาเหตุผลมาทำให้ตัวเองรู้สึกสบายใจ
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้แหละ’
‘ก็เป็นกรรมของเขาอ่ะเนอะ’
- การเบี่ยงเบนความสนใจ (Deflection)
ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ถึงหลักฐานความไม่เท่าเทียมและการเหยียดต่างๆ โดยเอาข้อเท็จจริงอื่นมาอ้าง
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘คนอเมริกันไม่ได้เหยียดผิวเลย เห็นไหม บารัค โอบาม่ายังเคยได้เป็นประธานาธิบดีเลย’ แล้วก็ทำเป็นหลับหูหลับตาถึงเรื่องปัญหาการเหยียดที่ยังมีอยู่ในประเทศนี้
- การอวดเก่งเรื่อง ‘การตกเป็นเหยื่อ’ (Competing Victimization)
คือการเล่าเรื่องวีรกรรมสุดเศร้าของเราให้อีกฝ่ายฟัง เพื่อหวังจะกลบความหนักใจของเขาด้วยความน่าสงสารของเรา
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘โอ้ย ผมก็เคยโดนเหยียดหนักมากตอนเด็กๆ เพราะผมน่ะจน’ เพื่อละเลยความเศร้าจากการโดนเหยียดเชื้อชาติของอีกฝ่ายที่กำลังฟังอยู่
การโดน ‘กด’ ไว้ซึ่งความรู้สึกเจ็บปวดของมนุษย์สักคน มันระบมหัวใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ
บางครั้ง ‘การเหยียด’ มันก็มาในรูปแบบของการ ‘เมินเฉย’
และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหลายอย่างที่ตามมา
เหมือนที่มาร์ธิน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักสิทธิมนุษยชนผิวสีเคยพูดไว้ว่า
‘โศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดนั้น ไม่ได้มาจากเสียงอันดังลั่นของคนชั่วทั้งหลายหรอก
แต่มาจากความเงียบเฉยของพวกคนดีทั้งหลายต่างหาก’
อ่านบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร
W... พวกคนรวยและคนไทยที่เรียนอเมริกากลับมาทำเป็นหยิ่งว่าจบนอกล่ะ มันภูมิใจมากนะ
07 เม.ย. 2563 เวลา 08.44 น.
ซ้น ต่างกับไทนเหนต่างชาติตานำ้ข้าวยังกะเหนเทวดาเขามองเราเปนพวกปรสิตอย่างงั้นเรยเวลาเราอยู่มบ้านเมืองเขา
07 เม.ย. 2563 เวลา 08.14 น.
NOT ไทยยกย่องไอ้หรั่งยิ่งกว่าพ่อแม่มันอีกใครได้ผัวฝรั่งเป็นที่เชิดหน้าชูตาทั้งที่แม่งไม่ได้รวยจริงสุดท้ายแม่งเกาะเมียไทยแดกสบาย
07 เม.ย. 2563 เวลา 08.35 น.
>YO< เป็นบทความที่ดีครับ จะได้รู้ว่าอะไรคือพูดแล้วแสดงถึงการเหยียด
07 เม.ย. 2563 เวลา 08.48 น.
เรื่องนี้คงจะเป็นการสื่อให้ได้รู้ถึงว่า ก่อนที่ตัวของเราจะไปตำหนิอะไรคนอื่นเขา เราก็ควรที่จะสำรวจตัวของเราเองให้ดีเสียก่อนหรือยังอย่างนั้นหรือปล่าวครับ.
07 เม.ย. 2563 เวลา 06.42 น.
ดูทั้งหมด