ไอที ธุรกิจ

อาจารย์หมอเตือน! ระบบการศึกษาทำให้เด็กขาดทักษะ โดยเฉพาะทักษะการแพทย์

Beartai.com
อัพเดต 21 พ.ย. 2561 เวลา 08.43 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2561 เวลา 08.43 น.
อาจารย์หมอเตือน! ระบบการศึกษาทำให้เด็กขาดทักษะ โดยเฉพาะทักษะการแพทย์

Roger Kneebone ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาเกี่ยวกับศัลยกรรม ของมหาวิทยาลัย Imperial ณ กรุงลอนดอนกล่าวว่า คนรุ่นใหม่มีประสบการณ์การใช้ทักษะที่น้อย นั่นทำให้พวกเขาอาจพบปัญหาเมื่อลงมือปฏิบัติงานจริง มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเรียนแพทย์ เพราะการที่พวกเขาได้เกรดสูงในมหาวิทยาลัย นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาสามารถผ่าตัดได้อย่างดี มันเป็นความกังวลที่เกิดกับศาสตราจารย์ และเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ตั้งความหวังไว้ว่าแพทย์รุ่นใหม่จะสามารถประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น

ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาการผ่าตัดกล่าวว่านักเรียนแพทย์ควรได้รับการเรียนองค์รวมทั้งทางด้าน การสร้างสรรค์ และศิลปะ มากกว่านี้ เพื่อที่เขาจะได้เรียนรู้การใช้มือของพวกเขาในการเย็บ และผ่าตัดได้เป็นอย่างดี เขาได้เห็นทักษะของนักเรียนแพทย์ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมันเป็นปัญหาสำหรับศัลยแพทย์ ที่ต้องการความชำนาญในด้านงานฝีมือ และความรู้ทางวิชาการ ทักษะบางอย่างเราจะได้รับจากที่บ้านไม่ก็ที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บ การชั่งส่วนผสม การซ่อมแซมสิ่งของ งานไม้ หรือแม้กระทั่งการเล่นดนตรี แต่นักเรียนที่เข้ามาเรียนกลับมีความมั่นใจ และทักษะที่น้อยมาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Alice Barnard หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการศึกษากล่าวว่า ทางรัฐบาลจ่ายค่าสนับสนุนเป็นจำนวนมากเพื่อสนับสนุนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ แต่สิ่งที่เขาแสดงออกมันกลับขัดกับนโยบายของเขา ทางรัฐวัดผลการปฏิบัติการของโรงเรียนโดยการมุ่งเน้นไปที่การวัดผลทางวิชาการ ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดผลเสียต่อวิชาศิลปะ และการสร้างสรรค์ จากผลการรายงานได้เตือนว่า รายวิชาที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ลดลง 20% รวมถึงรายวิชาที่มีผลต่อการออกแบบ และเทคโนโลยี GCSE อีก 57% ตั้งแต่ปี 2010

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้มีเพียงเฉพาะกับศิลปินเท่านั้น วิชาด้านการออกแบบ และ เทคโนโลยี ดนตรี ศิลปะ และละคร เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆในการพัฒนาจินตนาการและความชำนาญ ความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาการทำงานเป็นทีม และทักษะทางเทคนิค สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่จะช่วยนำทางเด็กๆ ไปสู่สถานการณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนไปในอนาคต ไม่ใช่ผลการสอบ

อ้างอิง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แชร์โพสนี้

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Antimoon
    ก็พวกลูกสามัญชนมีทักษะแค่นั้นแระ​
    22 พ.ย. 2561 เวลา 00.52 น.
  • baicha
    เหมือนกันทุกชาติ ทุกภาษา การศึกษาจะดีหรือแย่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบ, โรงเรียน, ครู เพียงเท่านั้น นักเรียนก็มีความสำคัญ และยิ่งสำคัญมากที่สุดคือ พ่อแม่ ถ้าเด็กทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้ ครูจะไม่พร้อมสอนได้หรือ ถ้าพ่อแม่เตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ การเรียนการสอนในห้องจะราบรื่นมากๆ พ่อแม่ยังเตรียมความพร้อมให้กับลูกคนเดียวไม่ได้ จะให้ครูมาเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเป็นสิบๆ คน ได้อย่างไร และที่สุดกว่านั้นคือ พ่อแม่ชอบวุ่นวายกับการสอน ลองเป็นผู้ชมที่ดีสิ พ่อแม่อาจจะได้เรียนรู้ไปกับลูกก็ได้
    21 พ.ย. 2561 เวลา 22.01 น.
  • kwan
    อาจารย์หมอบางคนก็ยังยึดติดกับเกรดของ นศพ.บางคนอยู่ทั้งที่เวลาปฏิบัติสวนทางกับเวลาสอบ
    21 พ.ย. 2561 เวลา 15.51 น.
  • green
    สอนเรื่องทักษะและความคิดสร้างสรรค์นั้นดีแน่ แต่มันวัดผลยากครับ ผู้สอนจะปวดหัวตอนวัดผลนี่แหละ ให้สอนไม่ยากหรอกครับ จะสอนโดยไม่วัดผลก็ไม่ได้ ผู้คนก็จะถามว่าแล้วจะรู้ได้ไงว่าเด็กมีทักษะและความเข้าใจจริง แต่ถ้าจะทำจริงก็ดูฟินแลนด์เลย สอนอย่างเดียว ไม่มีสอบ ไม่มีการบ้าน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าทำได้ และทำได้ดีเยี่ยมด้วยกับแนวคิดที่มีแต่คนคัดค้านในตอนแรกแบบนี้
    21 พ.ย. 2561 เวลา 13.22 น.
  • ☘️🐈‍⬛☘️🐅พวกกูไปทางธนาธร👍✅
    อาจารย์หมอเพิ่งรู้เหรอครับ
    21 พ.ย. 2561 เวลา 12.29 น.
ดูทั้งหมด