ทั่วไป

ไม่ต้องเป็นเภสัชก็ขายยาได้? แล้วชาวบ้านจะมั่นใจได้ไง ว่ากินแล้วไม่ตาย!

TheHippoThai.com
เผยแพร่ 26 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

ไม่ต้องเป็นเภสัชก็ขายยาได้? แล้วชาวบ้านจะมั่นใจได้ไงว่ากินแล้วไม่ตาย!

หลังจากเป็นประเด็นร้อนแรงแซงโค้งตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กับการเคลื่อนไหวทางสังคมของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ที่ อย. ได้หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นในปี 2561 ด้วยคำถามที่ว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา นี้ จะเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ หรือ? 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้ทาง อย. ได้มีการเผยแพร่ข้อดีที่มุ่งเน้นคุ้มครองประชาชน ของ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่นี้สู่สังคมไทย แต่ดูเหมือนว่า 10 ข้อดีที่ อย. หยิบยกขึ้นมานั้น จะไม่สามารถต้านทานกระแสการเคลื่อนไหวภายใต้มาตรา 22 (5) ที่ว่าด้วยเรื่องของ การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากแพทย์มีอำนาจในการสั่งจ่ายยาได้

ในวันที่ 14 ตุลาคม 2561 ชมรมเภสัชกรภาคใต้ และ 12 เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม นำโดย ภญ.สุจิดา กุลถวายพร ประธานชมรมเภสัชกรภาคใต้ ได้แถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับเดือนตุลาคม 2561 : ฉบับยื่นต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยระบุว่า เนื่องจากร่างพ...ยาฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุขยื่นเสนอต่อครม.นั้นผู้ที่รับผิดชอบจัดทำร่าง...ยาฉบับดังกล่าวได้สรุปการรับฟังความคิดเห็นไปฝ่ายเดียวว่าชมรมเภสัชกรภาคใต้เห็นด้วยกับร่าง...ยาที่จะเสนอต่อครม.”  ซึ่งไม่เป็นความจริง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2561 กลุ่มเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือให้กับ นายชำนาญ ทองดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งต่อข้อเสนอให้ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยา ถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาระงับการพิจารณาพ.ร.บ.ยาฉบับนี้ และขอให้เกิดกระบวนการร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ด้วยหลักการและแนวคิดทางกฎหมายที่ถูกต้อง โดยยึดหลักการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้ยาอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า ร่าง...ยาฉบับนี้ถือเป็นการลดมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคลงหลายประการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวงการธุรกิจ จะทำให้คลินิกสุขภาพสามารถอ้างเรื่องการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขายยา และมีลักษณะการดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกับร้านยา โดยภาพรวมร่าง...ยาจึงดูเหมือนเป็นเรื่องธุรกิจแต่แฝงว่าต้องการคุ้มครองประชาชน

อีกทั้ง นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของการแก้ไข พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เรื่องจะเพิ่มวิชาชีพที่จะสามารถจ่ายยาได้นั้น จริงๆแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือต้องให้เภสัชกรเป็นคนจ่ายยาซึ่งจำนวนเภสัชกรไม่ได้ขาดและต้องตอบคำถามว่าวิชาชีพที่จะเพิ่มเข้ามา เช่น พยาบาล ทันตแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู มีความสามารถและมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ หากตอบคำถามได้ตนก็ไม่ได้ขัดข้องที่จะเพิ่มวิชาชีพเหล่านี้ให้สามารถจ่ายยาได้ ซึ่งหากไม่ได้ก็อาจจะต้องมีการจำกัด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของ พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่นี้ ไม่ได้มีผลต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพียงเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานดีเพียงพอ เพราะสุดท้ายปลายทางแล้ว ผู้ที่จะ “ได้” หรือ “เสีย” ประโยชน์ที่แท้จริง ก็คือ “ประชาชน” ผู้รับยานั่นเอง

 

แหล่งที่มา : https://morning-news.bectero.com/social-crime/16-Oct-2018/131683

https://www.thaipost.net/main/detail/20271

https://www.thaipost.net/main/detail/16334

https://waymagazine.org/drug_law/

ความเห็น 96
  • Nattapong
    แม่งมันจะให้เด็ก 7-11 ขายยาให้น่ะสิ
    26 ต.ค. 2561 เวลา 00.16 น.
  • Vanida
    เอื้อประโยชน์ให้ใคร คิดถึงประโยชน์สูงสุดของปชช. หรือยัง
    26 ต.ค. 2561 เวลา 00.10 น.
  • JAZZ+F900R🏍🔚
    เอื้อประโยชน์ให้ 7-11 เต็มๆ
    26 ต.ค. 2561 เวลา 00.29 น.
  • ปอนด์ปอนด์
    เป็นเอก็ขายได้ หน้ามหาลัยกูก็มีแต่เอมาเปิดทั้งนั้น ขายให้เด็กแว้นกับเด็กในมหาลัย เคยไปซื้อยาละบอกอาการแม่งไปไม่เป็นเลย 555555555555555
    26 ต.ค. 2561 เวลา 00.13 น.
  • Lord
    คิดถึงประโยชน์ขอขปชชส่สนใหญ่สิ/ไม่ใช่บางกลุ่ม
    26 ต.ค. 2561 เวลา 00.33 น.
ดูทั้งหมด