ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“คลัง” ยันหนี้สาธารณะ 60% ต่อจีดีพีเหมาะสมตามหลักสากล

ไทยโพสต์
อัพเดต 12 ม.ค. 2562 เวลา 04.24 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2562 เวลา 04.24 น. • ไทยโพสต์

 

12 ม.ค. 2562 นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวชี้แจงถึงกรณีที่มีการแสดงความเป็นห่วงเรื่องวินัยการคลังตามกรอบของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลัง ที่มีการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของจีดีพีนั้นมีความหละหลวม ว่า ยืนยันว่าการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันสอดคล้องกับการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในระดับสากล โดยการกำหนดสัดส่วนดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่กระทรวงการคลังใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะตลอดมา และได้มีการทบทวนสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจและนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ทางธนาคารโลกได้แนะนำมาว่าความเหมาะสมของสัดส่วนหนี้สาธารณะที่ 60% ต่อจีดีพี เป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว และหลายประเทศก็กำหนดสัดส่วนหนี้ไว้ที่ระดับดังกล่าว ซึ่งเพียงพอที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้ในระยะต่อ ๆ ไป ขณะที่สัดส่วนหนี้ของรัฐบาลของไทยก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับหลายประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นคงทางการคลังในระดับสูง” นางจินดารัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อรองรับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและพื้นที่ทางการคลังกรณีเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลก โดยจากประมาณระยะ 5 ปีข้างหน้า พบว่า ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ยังอยู่ภายใต้เพดานที่ 60%

นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งได้มีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่กำหนดเป็นเพียงกรอบความยั่งยืนทางการคลังเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น และยังมีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินอื่น ๆ เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลังด้วย เช่น สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้, สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด รวมทั้งได้เพิ่มการวิเคราะห์สัดส่วนภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกแนะนำ เพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลมีความสามารถในการชำระหนี้ในปัจจุบันและระยะปานกลาง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นางจินดารัตน์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ยังได้มีประกาศเพื่อกำหนดสัดส่วนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ (เงินต้น) ไว้ที่ 2.5-3.5% ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบริหารหนี้สาธารณะของไทยที่ได้มีการกำหนดสัดส่วนดังกล่าวไว้ในกฎหมาย เพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังและสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว โดยในระยะปานกลาง (5ปี) เราได้มีการคาดการณ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ซึ่งพบว่ายังอยู่ภายใต้เพดานที่ไม่เกิน 60% โดยในปีงบประมาณ 2562 สัดส่วนหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 43.3% ต่อจีดีพี, ปีงบประมาณ 2563 อยู่ที่ 44.5% ต่อจีดีพี, ปี 2564 อยู่ที่ 46% ต่อจีดีพี, ปี 2562 อยู่ที่ 47.9% ต่อจีดีพี และปี 2566 ภายใต้สมมติฐานจีดีพีขยายตัว 4% สัดส่วนหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 48.5% ต่อจีดีพี  โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

“ระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ 60% เป็นระดับที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รักษาวินัยทางการคลังและสามารถรองรับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ รวมทั้งกรอบการบริหารหนี้สาธารณะต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จะช่วยให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความยั่งยืนทางการคลัง

             

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 44
  • หมาตัวใหนที่เคยพูดเป็นหนี้ชั่วลูกชั่วหลาน ...แล้วไอ้สองล้านล้านเนี่ยะ ...ถึงชาติใหนวะ ... พวกเดียวกัน แม่งดีงามจริง...
    12 ม.ค. 2562 เวลา 13.17 น.
  • Andaman
    แค่ 40-50 นี่ก็ถือว่าวิกฤตแล้วนะเจ๊สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา เงินงบประมาณจะนำไปใช้พัฒนาประเทศจะน้อยลงทุกปีเพราะต้องนำไปใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยมากขึ้นทุกปี ตามสัญญาที่ทำไว้ คนจนจะจนลงไปอีก แต่คนรวยจะรวยขึ้นไปเรื่อยๆ วิกฤตกำลังจะาเยือนในอีกสามปีหรือห้าปีข้างหน้า นั่นคือจะเป็นประเทศที่ไม่สามารถใช้หนี้ต่างประเทศได้คือแทบจะล้มละลายหรือชักดาบไม่ใช้หนี้ระหว่างประเทศ
    12 ม.ค. 2562 เวลา 09.37 น.
  • เจ้ไปจบมหาวิทยาลัยที่ไหน..เขาสอนว่าหนี้60%ยังปกติ ขนาดธนาคารเขายังคิดมีรายได้คงเหลือสุทธิเดือนละไม่ต่ำกว่า40%จึงจะกู้บ้านเลย..นี่สมองของประเทศน่ะเนี่ย..ประเทศไทย
    12 ม.ค. 2562 เวลา 13.59 น.
  • pongpipat
    คนของแบงค์ชาติ ทำงานตามตำรา แบงค์ชาติ แนะนำมาว่า ดีแล้ว ก็ดีตาม ไม่รู้หรอก ว่า เหมาะสมจริงหรือเปล่า ไม่รู้ที่มาที่ไปหรอก ว่าทำไม 60% เหมือนคราวต้มยำกุ้ง ดาหน้ากันออกมาท่อง ตัวเลข อ้างตำรา ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมแล้ว แล้วเป็นไง
    12 ม.ค. 2562 เวลา 13.55 น.
  • Keng nopdon
    เยอะชิบหายสัก 30-40 พอแล้ว ประเทศกุกำลังพัฒนาชิบหาย
    12 ม.ค. 2562 เวลา 13.18 น.
ดูทั้งหมด