ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ปฏิวัติค้าส่ง “แม็คโคร” ขนเทคโนโลยีใส่ “ดิจิทัล สโตร์” ตอบโจทย์ลูกค้า 4.0

Positioningmag
อัพเดต 19 ก.ค. 2562 เวลา 18.27 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2562 เวลา 04.00 น.

ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกในการซื้อสินค้าตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ไม่เฉพาะแต่ “ค้าปลีก” ที่มี “ผู้บริโภคทั่วไป” เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องปรับตัวเอง ผสานช่องทางขายแบบ “ออมนิ แชนแนล” ทั้งออฟไลน์ออนไลน์

แต่ใน “ธุรกิจค้าส่ง” ที่กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ หรือ B2B รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้าทั่วไป อย่าง “แม็คโคร”** ก็หนีไม่พ้นกับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยเหมือนกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การปรับตัวของค้าส่งอายุ 30 ปี  ไม่ใช่แค่การมีช่องทางจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์เท่านั้น  แต่ได้เติม “อาวุธ” เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริมประสิทธิภาพธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้าผู้ประกอบการ พร้อมปฏิวัติวงการค้าปลีก ด้วยการเปิดฟอร์แมทใหม่ “ดิจิทัล สโตร์” สาขาแรก ที่ลาดกระบัง พื้นที่รวม 6,700 ตารางเมตร มีพื้นที่ขาย 1,900 ตารางเมตร เงินลงทุนรวม 200 ล้านบาท เป็นงบลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 26 ล้านบาท

ใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์ลูกค้า B2B

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โจทย์สำคัญของการขยายสาขา “แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์” คือ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่ม B2B ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้าและได้ของครบ เพราะที่ผ่านมาปัญหาหลักที่เป็น Pain Point ของลูกค้าแม็คโคร คือ มาซื้อสินค้าแล้วได้ของไม่ครบ

“ลูกค้า B2B มาเดินห้างด้วยพฤติกรรมเหมือนการมาทำงาน ต้องการความรวดเร็วในการซื้อของ เพื่อกลับไปทำธุรกิจต่อ แต่ถ้าลูกค้าผู้บริโภคทั่วไป การเข้าห้างเป็นเหมือนการมาเดินช้อปปิ้ง มามองหาประสบการณ์เลือกซื้อสินค้า” 

การแก้โจทย์ธุรกิจของ  “แม็คโคร”**  คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเสริมการให้บริการ โดยนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลเข้าเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการ การบริหารจัดการร้านค้า พนักงาน คู่ค้า และลูกค้าเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อตอบโจทย์การซื้อสินค้า ที่ได้ทั้งความรวดเร็วและสินค้าครบถ้วน 

ชู 32 เทคโนโลยีเสริมแกร่ง

เทคโนโลยีดิจิทัลที่ “แม็คโคร” นำเข้ามาเสริมการทำงานในสโตร์มีทั้งหมด 32 อุปกรณ์ ติดตั้งบริเวณก่อนเดินเข้าซื้อสินค้าในสาขา จนไปถึงขั้นตอนการชำระเงิน  

ด้านบริการลูกค้า ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง AI อัจฉริยะ ตรวจสอบปริมาณสินค้าบนชั้นวาง เพื่อเติมสต็อกได้ทันที ลดการสูญเสียโอกาสการขาย กำหนดเวลาตรวจสอบปริมาณสินค้าได้แบบเรียลไทม์และตั้งเวลา เริ่มติดตั้ง  25 ตัวในแผนกสินค้าที่ขายดี เช่น ไส้กรอก นม 

“เป็นเทคโนโลยีช่วยบริหารสต็อกสินค้าและบนชั้นวางจำหน่าย ช่วยแก้ปัญหาลูกค้ามาซื้อสินค้าแล้วได้ของไม่ครบ”

ขณะที่ปัญหาความล่าช้าจากการต่อคิวชำระเงิน ได้นำระบบ “คิว บัสเตอร์” (Queue Buster) เข้ามาบริการ โดยพนักงานที่ติดเครื่องหมาย Q Buster จะนำเครื่องสแกนเนอร์ประจำตัว ไปสแกนบาร์โค้ดสินค้าตั้งแต่คิวชำระเงิน พร้อมบันทึกหมายเลขบัตรสมาชิก เมื่อถึงคิวชำระเงินที่แคชเชียร์จะสแกนบัตรสมาชิกและจ่ายเงินได้ทันที  ทั้งเงินสดและ QR Payment

ป้ายราคาอัจฉริยะ

[caption id="attachment_1239734" align="alignnone" width="700"]

ป้ายราคาอัจฉริยะ[/caption]

การบริหารจัดการสาขา ใช้เทคโนโลยี ป้ายราคาอัจฉริยะ ESL (Electronic Shelf Label) ซึ่งทำงานร่วมกับกล้อง AI จากเดิมป้ายแสดงราคาเป็นรูปแบบกระดาษ แต่สาขาดิจิทัล สโตร์ เปลี่ยนเป็นป้ายกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ LED กว่า 8,000ชิ้น แสดงราคาและเปลี่ยนแปลงราคาภายใน 40 วินาที จากเดิมต้องให้พนักงานเดินเปลี่ยนป้ายราคากว่า 1,000 จุด 

ป้ายอัจฉริยะยังเชื่อมโยงข้อมูลสินค้า รายละเอียด โปรโมชั่น ตำแหน่งการจัดวาง สต็อกสินค้า ช่วยลดปัญหาราคาไม่ถูกต้องและสินค้าไม่ตรงป้าย

ลดต้นทุนพลังงาน

[caption id="attachment_1239735" align="alignnone" width="700"]

หน้าจอ Eco-Friendly แสดงการใช้พลังงานในสาขา[/caption]

สาขาดิจิทัล สโตร์ ได้ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panel) 800 ตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้งานได้ 35% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน ช่วยลดค่าไฟฟ้าเดือนละกว่า 5 แสนบาท สำหรับสาขาขนาดพื้นที่ 1,900 ตารางเมตร ระบบทำความเย็นอัจฉริยะ หลอดไฟ LED รุ่นใหม่ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 50%

[caption id="attachment_1239738" align="alignnone" width="700"]

ระบบม่านควบคุมความเย็น[/caption] [caption id="attachment_1239736" align="alignnone" width="700"]

ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และจุดชาร์ตไฟสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า[/caption]

พร้อมติดตั้งจุดชาร์ตไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า การใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจัดส่งสินค้า ชาร์ตไฟฟ้า 1 คืน วิ่งได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าลดลงเหลือกิโลเมตรละ 40 สตางค์  สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 1 วัน (Same Day) จากจัดส่งสินค้าวันถัดไป 

[caption id="attachment_1239737" align="alignnone" width="700"]

สื่อโฆษณาภายในสาขา[/caption]

นอกจากนี้ยังเป็นสโตร์ที่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัล ลดปริมาณสื่อโฆษณากระดาษที่ใช้มากว่า  30 ปี  ทำให้การเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่นต่างๆ ทำได้ภายใน 30 วินาที จากเดิมกระดาษใช้เวลา 14 วัน และใช้ระบบคิวอาร์โค้ด สแกนรับข้อมูลโปรโมชั่นแบบรายบุคคล

“รูปแบบดิจิทัล สโตร์ ช่วยตอบโจทย์ด้านบริการให้กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ และเพิ่มประสิทธิภาพกการบริหารจัดการ โอกาสทำยอดขายเพิ่มขึ้น 5% เทียบสาขาปกติ และทำให้แม็คโครยังคงเป็นลีดเดอร์ในธุรกิจค้าส่ง”

[caption id="attachment_1239739" align="alignnone" width="700"]

แม็คโครคลิ๊ก[/caption] [caption id="attachment_1239741" align="alignnone" width="700"]

เครื่องคิดเงินสองหน้าจอ (Double Screen Cashier)[/caption]

ดูข่าวต้นฉบับ