ทั่วไป

รัฐไฟเขียว! เปิดให้ต่างชาติเข้ามาเปิดหลักสูตรสอนเรื่องเทคโนโลยีในไทยอย่างจริงจัง

ช่อง 7
อัพเดต 21 ก.ค. 2561 เวลา 22.02 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2561 เวลา 22.02 น. • Ch7
รัฐไฟเขียว! เปิดให้ต่างชาติเข้ามาเปิดหลักสูตรสอนเรื่องเทคโนโลยีในไทยอย่างจริงจัง
รัฐไฟเขียว! เปิดให้ต่างชาติเข้ามาเปิดหลักสูตรสอนเรื่องเทคโนโลยีในไทยอย่างจริงจัง

โลกยุคดิจิทัลที่คืบคลานเข้ามามีบทบาทในชีวิตคนเรามากขึ้น ทำให้เราปฏิเสธความสำคัญของเทคโนโลยีไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามาเติมเต็มให้กับการใช้ชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องหันมาส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้มหาวิทยาอมตะ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร "Master of Science in Engineering" ซึ่งเป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ได้เป็นครั้งแรก เพื่อรองรับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้หุ่นยนต์ เครื่องจักรทันสมัยในสายการผลิต
ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เปิดทางให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เข้ามาเปิดวิทยาเขตในประเทศไทย จัดตั้งมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล  (CMKL University) เป็นหลักสูตรของสหรัฐอเมริกา สอนในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์สมอง การควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ
  
การเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรจากต่างประเทศในสถาบันการศึกษาของไทย ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะกว่า 20 ปี หลายมหาวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรจากต่างประเทศมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ
แต่นับจากนี้ไปหลักสูตรต่างชาติที่จะมาเปิดสอนในไทยจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่หันมาเน้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นหลัก ดังนั้นเราจึงต้องผลิตบุคลากรรองรับ
ประโยชน์ที่เราเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยต่างชาติเข้ามาเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในไทย นอกจากจะช่วยเรื่องการผลิตบุคลากรแล้ว ยังเป็นแนวทางกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยในไทยพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และเด็กไทยไม่ได้ต้องเสียเงินบินไปเรียนหลักสูตรพวกนี้ในต่างประเทศ และไม่ควรมองเรื่องผลประโยชน์อื่นแอบแฝง
แต่การเปิดหลักสูตรให้ต่างชาติเข้ามาสอนในไทย ต้องระวังเรื่องการรับนักเรียนที่ควรมีการกำหนดมาตรการให้เด็กไทยได้รับโอกาสเข้าเรียนมากกว่าต่างชาติ
เพราะต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันนี้มีนักเรียนจากหลายชาติไม่ว่าจะเป็นจีน เมียนมา เวียดนาม ลาว แม้แต่สหรัฐอเมริกา ก็เข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดให้มหาวิทยาลัยเป้าหมายที่จะจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนในพื้นที่ EEC มีแผนมีแนวทางปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน การจัดหลักสูตร จัดสรรบุคลากรให้เชื่อมโยงกัน สอดคล้องไม่ซ้ำซ้อน ในการผลิตนักศึกษา เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในสาขาที่ขาดแคลนได้ในระยะยาว
การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ เพราะคนเป็นหัวใจหลักในการทำงาน หากเราขาดแคลนบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ หรือรู้ไม่ทันการพัฒนาเทคโนโลยี ก็จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจตามเป้าหมายของรัฐบาลยากที่จะเดินหน้าต่อไปได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • Pattavee
    กูเกลียดรถยนต์ ที่ประกอบในไทย แค่รถ Benz รุ่นเดียวกัน แต่ประกอบนอก งานเนี๊ยบกว่ารุ่นประกอบในไทย เยอะเลย เสียงดังข้างประตูก็ไม่มี
    22 ก.ค. 2561 เวลา 08.07 น.
  • Zircon
    จะเปิดหลักสูตรก็เปิดไป แต่อย่าเอาเงินของประชาชนไปใช้นะ ใครอยากเรียนก็ให้คนนั้นจ่าย
    22 ก.ค. 2561 เวลา 06.09 น.
  • Aree Palasak
    สลิ่มไม่ยื่นตลก.ตีความก่อนหล่ะ
    22 ก.ค. 2561 เวลา 06.04 น.
  • กฤติเดช สุขเนืองนอง
    เห็นด้วย100% แรกเริ่ม รัฐน่าเอาเด็กเก่งทั่วประเทศทั้งหมด ที่มีปัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง เรียนฟรี ซัพ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด คล้ายทุนหลวง---จบ ต้องเอาความรู้ ถ่ายทอดคนรุ่นหลัง เวลากี่ปีแล้วแต่ตกลง---และแต่ละสาขา ศธ ต้องบังคับ รร เพิ่มหลักสูตรพื้นฐาน รองรับเรียนต่อในอนาคต--รัฐ ต้องทำจริงจังปราศจากเด็กเส็น เชื่อแน่ไม่เกิน ทศวรรค ไทยจะไม่ล้าหลังด้านนี้เด็ดขาด
    22 ก.ค. 2561 เวลา 05.47 น.
  • โครงการพันล้าน เฟส 2
    ดีๆๆพวกจนๆจะได้ไม่ต้องมีโอกาสไปเรียน
    22 ก.ค. 2561 เวลา 05.32 น.
ดูทั้งหมด