“หม่อมป้อม” ลั่น! “ต้มยำกุ้ง” ก็คือ “ต้มยำกุ้ง” ไม่มีน้ำข้น! ไม่มีน้ำใส!
ใครๆก็รู้จัก "ต้มยำกุ้ง" ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยแต่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ แถมชาวต่างชาติยังเรียกทับศัพท์ไปเลยว่า “Tom Yum Koong” ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นการให้เกียรติอาหารไทยที่เขาไม่ไปแปลงเป็นภาษาของเขา และเมื่อชาวต่างชาติมาเที่ยวเมืองไทย ถือเป็นสิ่งที่ทุกคน “ต้อง” ชิมต้มยำกุ้งให้ได้สักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าต้มยำกุ้งนั้นจะกลายพันธุ์ไปถึงไหน ๆ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบอยู่ดี
วันนี้ดิฉันไม่ได้จะมาบอกว่าการปรุงต้มยำกุ้งทำอย่างไร แต่จะพาพวกเรามองกลับไปดูต้มยำกุ้งในวันเก่าก่อนกันดีกว่า นั่นหมายถึงต้มยำกุ้งแสนอร่อยชามแรกที่ดิฉันจำได้ ซึ่งก็เป็นระยะเวลานานพอสมควรมาแล้ว ดิฉันจำได้ว่าน้ำซุปของต้มยำกุ้งมีกลิ่นหอมของ ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด พริกขี้หนู และที่สำคัญ มีความเป็นกุ้งเจืออยู่ในน้ำซุป นั่นก็คือการต้มเปลือกกุ้งและก้ามกุ้งไปพร้อมกับสมุนไพรทั้งหลายที่กล่าวมา และที่สำคัญคือมีหอมแดงบุบพอแตกที่ใส่ลงไปต้มด้วยกันนั้นจะเป็นตัวช่วยให้น้ำซุปมีความหวานตามธรรมชาติ
การต้มน้ำซุปเปลือกกุ้งจะทำให้น้ำซุปออกสีขุ่นขาวตามธรรมชาติ กุ้งที่ใช้ก็คือ "กุ้งแม่น้ำ" ที่มีมันกุ้งอยู่เต็มหัว และ "มันกุ้ง" นี่เองที่เป็นตัวให้สีแดงมันวาวในต้มยำกุ้ง
พ่อเล่าว่า เมื่อสมัยพ่อเป็นเด็ก สมัยที่ยังลงไปว่ายน้ำเล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาได้อยู่นั้น เพียงแค่พ่อดำน้ำลงไปที่ท่าเรือหน้าบ้านก็จะงมกุ้งก้ามกรามหรือกุ้งแม่น้ำติดมือขึ้นมาได้เสมอๆ ทำให้คนรุ่นเก่ามีกุ้งตัวโตมันเต็มหัวกินกันโดยไม่ได้เห็นว่ามันคือของราคาแพงหรือของหายากแต่อย่างใด
ดังนั้นต้มยำกุ้งจึงเป็นอาหารจานอร่อยที่คนไทยทุกคนตัองรู้จักและทำกินตามบ้านกันทั่วไป ต้มยำกุ้งของแต่ละบ้านก็มีรสชาติเฉพาะตัวสุดแต่รสนิยม ดังนั้นต้มยำกุ้งจึงมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกระทั่งเราได้ยินชื่อ “ต้มยำกุ้งน้ำข้น”
ต้มยำกุ้งน้ำข้น คือ ต้มยำกุ้งที่ใส่นมข้นจืด และมีน้ำมันพริกเผาลอยหน้า ดิฉันลองนั่งนึกดูเล่นๆว่า ทำไมจึงมีต้มยำกุ้งน้ำข้นขึ้นมาในสารบบอาหารไทย คิดเองตอบเองเชื่อเองว่า น่าจะมาจากร้านอาหารประเภทกุ๊กช็อป ซึ่งเป็นเหมือนร้านอาหารตามสั่งขนาดใหญ่ที่มีพ่อครัวหรือกุ๊กเป็นคนจีนหรือเชื้อสายจีน ในยุคหนึ่งร้านอาหารประเภทนี้เป็นที่นิยม เรียกชื่ออาหารกันแบบน่ารักว่า “ซีเต๊กซีตู” ซึ่งงมาจากคำว่า สเต็ก (Steak) สตู (Stew) นั่นเอง
ร้านกุ๊กช็อปเหล่านั้นก็คงจะตั้งใจบริการลูกค้าเต็มที่ เมื่อลูกค้าสั่งงต้มยำกุ้งก็เลยไม่ขัดข้อง น้ำซุปสีขาวขุ่นจากการต้มเปลือกและก้ามกุ้ง อาจโดนทดแทนด้วยการเติมนมข้นจืดลงไปแทน ซึ่งนมข้นจืดเสนอหน้าอยู่ในหลายๆจานของร้านอาหารประเภทนี้ ส่วนมันกุ้งที่ลอยหน้าอยู่ก็ถูกทดแทนด้วยน้ำมันพริกเผาอันเป็นเครื่องปรุงที่มีอยู่ในครัวจีนเช่นกัน
รสชาติของนมข้นจืดคงจะช่วยให้ต้มยำกุ้งมีรสนุ่มนวล ละมุนลิ้น และเป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า จึงเกิดเป็นวิวัฒนาการใหม่ของตัมยำกุ้งขึ้นมา เลยเรียกให้เป็นที่เข้าใจกันว่า “ต้มยำกุ้งน้ำข้น” ต้มยำกุ้งแต่เดิมที่มีมาก็เลยกลายเป็น “ต้มยำกุ้งน้ำใส” ไปโดยปริยาย
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวของดิฉัน โดยนำประสบการณ์ส่วนตัว มาคิดเอง เออเอง และไม่คิดถึงคำว่าถูกหรือผิดระหว่างต้มยำกุ้งน้ำข้นและน้ำใส
ในฐานะที่ดิฉันทำมาหากินอยู่ในวงการอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย ดิฉันยอมรับได้ในวิวัฒนาการของอาหาร ทุกอย่างไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ มีแต่ก้าวไปข้างหน้า แต่ในความก้าวหน้าของอาหารไทยดิฉันอยากเห็นเพียงแค่การเดินทางบนถนนสายเดียวกันเท่านั้นเอง นั่นคือการ "อยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง" ส่วนใครจะเดินชิดซ้าย เดินชิดขวา หรือเดินอยู่กึ่งกลางถนน นั่นไม่ใช่ข้อขัดข้องใดๆ ขอให้อุ่นใจว่า "เราเดินอยู่บนถนนสายอาหารไทยเส้นเดียวกัน"
No More _112_ อาหารไทย ไม่มีสูตรตายตัว ขายทั่วโลก ก็ไม่เหมือนกันทั้งโลก ขึ้นอยู่กับ คนกิน และสถานที่
ต้มยำกุ้ง จะน้ำข้น หรือน้ำใส ทำแล้วอร่อย รสชาติจัดจ้าน ก็ือว่าอร่อย จะน้ำข้นหรือน้ำใส แล้วแต่คนชอบ
บางคนบอก ต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ ก็แล้วแต่คนกิน
ขนาดผัดไทยที่บอกว่าอร่อยๆ แต่อาจจะไม่อร่อย ในอีกส่วนที่ไม่ชอบ สูตรตายตัวไม่มี มีแต่สูตร ทำให้อร่อย นั่นล่ะ สูตรตายตัว
เราอยู่กับร้านอาหารมา30 ปี ขายทั้งคนไทย และต่างประเทศ บอกได้เลยว่า ทำอะไร หน้าตาอาหารแบบไหน ก็ได้ แต่ต้องอร่อยไว้ก่อน นั่นละ สำคัญที่สุด
21 ก.ค. 2561 เวลา 14.12 น.
YOTHIN🎃🩴👖 ขอต้มยำกุ้งน้ำแห้ง1ที่
20 ก.ค. 2561 เวลา 06.10 น.
Jim ที่กุเข้าใจ...ไม่ว่าจะข้นจะใส
ขอให้มันเผ็ด เปรี้ยว...ที่สำคัญ ต้องใส่กุ้ง
20 ก.ค. 2561 เวลา 09.26 น.
Chainarong :DMK. กินทุกวันครับ..วันละสองสามห่อ..(บะหมี่)
20 ก.ค. 2561 เวลา 12.10 น.
ป๋ายงค์ บ้านผมต้มยำกุ้งใส่กะทิขูดและคั้นเองใส่เห็ดฟางใส่น้ำพริกเผาถ้าไม่เปรี้ยวใส่มะขามเปียกหย่อยสุดๆใครไม่เชื่อลองทำดูแล้วจะลืมสูตอื่น
20 ก.ค. 2561 เวลา 09.18 น.
ดูทั้งหมด