ปกติแล้วเราจะสื่อสารกับด้วยวาจาเป็นหลัก แต่จริง ๆ แล้วในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันยังมี ‘ภาษากาย’ คอยช่วยเสริมการสนทนาอยู่อย่างลับ ๆ ด้วย บ่อยครั้งที่ภาษากายหรืออวัจนภาษาบอกความหมายที่แท้จริงได้ดีกว่าคำพูดเสียอีกนะคะ LINE TODAY ORIGINAL ศุกร์นี้จะชวนอ่านภาษากายที่เราแสดงออกกันอยู่เวลาพูดคุยกัน ว่าท่าทางแบบไหนมีความหมายถึงอะไรบ้าง
1. สีหน้า
การแสดงออกท่าสีหน้าเป็นอะไรที่เห็นได้ชัดและเข้าใจง่ายที่สุดแล้วในบรรดาอวัจนภาษาทั้งหมด เช่น หากคู่สนทนายิ้มก็คือพึงพอใจ, ชักสีหน้าบูดก็อาจไม่ค่อยพอใจ, คิ้วขมวดก็คิดอยู่หรือมีความเครียดหรือสับสน และอีกมากมายหลายสีหน้าที่เราต่างก็เคยพบเจอในชีวิตประจำวัน
สีหน้าเป็นภาษาสากลที่ไม่ว่าเราจะพูดกันคนละภาษาแต่สีหน้าคือรู้เรื่องและเข้าใจตรงกันทั้งโลก !
2. สายตา
ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยสักนิด เพราะสายตาสามารถแสดงออกถึงอารมณ์บางอย่างได้ไม่แพ้การพูด (ขนาดอิ้งค์ วรันธร ยังบอกเลยว่า สายตามันหลอกกันไม่ได้~)
มองตา : เวลาคุยกับใครแล้วเขามองตาเรา นั่นแปลว่าเขากำลังให้ความสนใจกับการสนทนานี้อยู่ แต่หากจ้องนานไปบางทีก็อาจทำให้รู้สึกน่าหวาดระแวงอยู่เหมือนกัน ในขณะเดียวกันหากคู่สนทนารู้สึกไขว้เขว, ถูกเบี่ยงเบนความสนใจ หรือรู้สึกไม่ค่อยสบายใจในบทสนทนา สายตาจะมองซ้ายมองขวา หรือไปมองอย่างอื่นแทนที่จะสบตากันนั่นเอง
กระพริบตา : การกระพริบตาคือธรรมชาติของเราทุกคนอยู่แล้ว แต่หากใครสักคนกระพริบตามากหรือน้อยกว่าปกติ นั่นแสดงออกถึงอะไรบางอย่างที่ไม่ปกติแน่นอน ว่ากันว่าหากใครกระพริบตาถี่มาก อาจเป็นเพราะเขากำลังรู้สึกเครียด หรือกดดันอยู่ก็เป็นได้
ขนาดรูม่านตา : ฟังแล้วอาจจะคิดว่าแล้วจะรู้ได้ยังไงล่ะ จริง ๆ ก็คือการสังเกตว่าเวลาเราคุยกัน อีกฝ่ายมีทีท่าทางสายตายังไง อย่างเช่น หากอีกฝ่ายรู้สึกสนใจ, ตื่นเต้น ดวงตาจะเบิกโพลง แต่หากอีกฝ่ายไม่ได้สนใจมากเท่าไหร่ ตาอาจจะหรี่ ๆ ลงจากปกติหน่อยนั่นเอง
3. ริมฝีปาก
การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวของริมฝีปากก็บอกอะไรบางอย่างของอีกฝ่ายได้นะ
กัดปาก : จะแสดงถึงความวิตกกังวล, ไม่สบายใจ หรือการต้องคิดอะไรเยอะแยะอยู่ในเวลานั้น
ยู่ปาก : เหมือนการทำปากจู๋นั่นแหละค่ะ แสดงออกถึงความไม่มั่นใจ, ไม่ไว้ใจในสิ่งที่กำลังพูดคุยกัน
เม้มปาก : ใช้แสดงออกเวลาเรากำลังปิดบังความรู้สึกบางอย่างที่แท้จริงภายในใจ
คว่ำปาก : แน่นอนว่าต้องหมายถึงความรู้สึกไม่พอใจ, ความเศร้า จนเผลอทำมุมปากคว่ำ
ยิ้ม : ที่มักจะเป็นภาษากายที่สังเกตได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้วการยิ้มก็มีมิติพิศวงอยู่เหมือนกันนะ บางทีการยิ้มอาจแปลว่าพึงพอใจ, ถูกใจ, แฮปปี้ แต่หลาย ๆ ครั้งรอยยิ้มก็ถูกใช้ในการปกปิดความรู้สึกบางอย่างได้เหมือนกัน ยิ้มปลอมแบบนี้อาจจะต้องใช้การสังเกตภาษากายอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อช่วยพิจารณาอีกขั้นหนึ่งว่า คน ๆ นั้นกำลังรู้สึกอย่างไรอยู่
ยิ้มจริงจะใช้กล้ามเนื้อใบหน้าหลายส่วน เช่น ตาหยี, แก้มยกสูง แต่ยิ้มปลอมดูง่าย ๆ เลยคือจะยิ้มแค่ปากหรือมุมปากเท่านั้น
4. ท่าทาง
คือท่าทางประกอบเวลาเราคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นการยกไม้ยกมือประกอบ, ชูนิ้วแสดงจำนวน, การโบกมือ, ยกนิ้วโป้งให้, ทำมือโอเค ฯลฯ ซึ่งท่าทางนี้จะมีความพิเศษหน่อยตรงที่ แต่ละพื้นที่อาจมีความหมายแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นหากจะเดินทางไปต่างที่ต่างถิ่นก็อาจจะต้องทำความเข้าใจความหมายของท่าทางการแสดงออกไว้สักหน่อยก็ดีนะคะ จะได้ไม่โป๊ะ
5. แขนและขา
ภาษากายอีกอย่างที่เรามักจะทำโดยไม่รู้ตัวเวลาคุยกันคือ การใช้แขนและขาขยับไปมายุกยิก เช่น
กอดอก : แปลว่าคน ๆ นั้นอาจกำลังปกป้องตัวตนตนเองอยู่ หรือเป็นคนไม่ค่อยอยากเปิดเผยเท่าไหร่
ท้าวเอว : บ่งบอกเป็นนัยว่าคนนั้นอาจกำลังไม่พอใจอยู่ หรือแสดงออกว่าเตรียมพร้อมสำหรับอะไรบางอย่าง
เอามือไพล่หลัง : เขาอาจกำลังรู้สึกเบื่อหน่าย, กังวล หรือบางครั้งอาจหมายถึงกำลังโกรธก็ได้
เคาะนิ้ว : แสดงว่าคนนั้นกำลังเบื่อ, เร่งรีบ, อดทน หรือกำลังสับสนวุ่นวายใจ
นั่งไขว่ห้าง : หมายความว่าคนนั้นรู้สึกต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่นั่นเอง
6. ท่านั่ง
ท่าทางการนั่งเป็นคำใบ้บ่งบอกความหมายโดยนัยเหมือนกัน โดยเฉพาะบุคลิกภาพของคนสื่อสารเอง ได้แก่
ท่าทางแบบเปิดเผย : เวลานั่งจะนั่งแบบสบาย ๆ กางขาเล็กน้อย, เปิดมือ, มีแสดงท่าทางประกอบการพูด แสดงว่าเป็นคนเฟรนด์ลี่, ไม่ค่อยซีเรียส และค่อนข้างเปิดเผย
ท่าทางแบบปิด: เช่นคนที่นั่งหนีบขา, เอามือวางบนตักอย่างเรียบร้อย แสดงว่าเป็นคนขี้กังวล, ไม่ค่อยเป็นมิตร, ไม่เปิดเผยเท่าที่ควร
7. ระยะห่างระหว่างกัน
ความใกล้ชิด หรือระยะห่างระหว่างกันและกันเวลาสนทนานั้นก็สามารถบอกความหมายเราได้เหมือนกันนะ หากใครที่นั่งหรือยืนใกล้กันหน่อย นั่นแปลว่า มีความไว้ใจซึ่งกันและกัน กล้าที่จะเปิดเผยตัวตนกันมากกว่าคนที่เว้นระยะห่างไว้เยอะ ๆ หรือแม้กระทั่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขยับเข้าไปใกล้อีกคน แต่เขากลับยิ่งออกห่าง ก็เป็นสัญญาณว่าเขาอาจไม่สะดวกใจที่จะคุยกับเราก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นนี่เป็นเพียงการสังเกตแบบคร่าว ๆ ไม่สามารถฟันธงได้ซะทีเดียวว่าความหมายของอวัจนภาษาเหล่านั้นจะแปลตามที่ตำราบอกได้ 100% เสมอไป ยังไงก็ขอให้เราหมั่นสังเกตคู่สนทนาไว้ด้วย ว่าเข้ากำลังรู้สึกอย่างไรกับการพูดคุย ณ เวลานั้น จะได้ทำตัวให้ถูกทั้งคู่ค่ะ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
.
ซ้ง แอดมิน อินโฟ เทค คนเราไม่ค่อยรู้ตัวว่า มนุษย์เราสื่อสารด้วย อวัจนภาษา มากกว่าวัจนภาษา หลงยึดว่าเรารู้จากการพูด ทำให้ทุกวันนี้ไม่ระวังตัวกัน ถึงเกิดการทะเลาะวิวาทเพราะหมั่นไส้กัน โดยยังไม่ได้พูดกันด้วยซ้ำ คนโบราณจึงมีการสอนกริยามารยาท การวางตัว ต่อหน้าผู้อื่นและสังคม เมื่อก่อนมีวิชาเรียนมารยาทและสังคม แต่ยุคทักษิณยกเลิกไป พร้อมกับวิชาหน้าที่พลเมือง และลดเรียนวิชาประวัติศาสตร์และศีลธรรม
02 เม.ย. 2564 เวลา 03.45 น.
Taweesak t. คนไม่ชอบ ทำอะไรก็ผิดหมดแหละ คนที่ชอบ นั่งตด ยังบอกว่าน่ารัก ว่าไปนั่น...
02 เม.ย. 2564 เวลา 13.07 น.
ปาริฉัตร Parichat ท่าทาง บงบอกมารยาท การศึกษา การอบรมเลี้ยงดู
02 เม.ย. 2564 เวลา 16.27 น.
อย่าอิงตัวบทมากเกินไป สบายๆชีวิตจะมีความสุขมากกว่า บางเรื่องใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ ใช้ความจริงใจดีกว่าภาษากาย
02 เม.ย. 2564 เวลา 02.08 น.
SMILEAREA มันคืออะไรก็ได้ป่าว ไม่เสมอไปหรอก
02 เม.ย. 2564 เวลา 13.53 น.
ดูทั้งหมด