ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาของโลกออนไลน์ การสื่อสารที่ไร้พรมแดน ที่มาพร้อมกับมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ทางข้อมูล การรับข่าวสารต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว แต่ในข่าวสารมากมายที่ได้รับ ก็มีข้อมูลผิด ๆ หรือข่าวปลอมอยู่จำนวนไม่น้อย
ถ้าจะเห็นได้ชัดมาก ๆ และทั่วโลกต่างก็ต้องอินกับเรื่องนี้จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือว่า โควิด-19 ทำให้เหล่าโซเชียลมีเดียเจ้าต่าง ๆ ต้องลบโพสต์กันจ้าละหวั่น
ทำไมข้อมูลผิด ๆ ถึงแพร่กระจาย?
ต้องเล่าย้อนความไปก่อนว่า การเกิดขึ้นของข้อมูลผิด ๆ นั้นจะเกิดจากการมีสถานการณ์บางอย่างที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญ เมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ ๆ เกิดขึ้น ผู้คนก็ต้องการคำอธิบายต่อเหตุการณ์นั้นเพิ่มขึ้นไปด้วย จากการศึกษานั้นพบว่า มี 5 ปัจจัย
- ทัศนคติทางลบ
มีข้อสังเกตว่าคนเรานั้นมักจะสนใจข้อมูลในเชิงลบ ไม่ดี มากกว่า ข้อมูลเชิงบวก หรือดี ๆ มากกว่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรียกได้ว่าข้อมูลลบ ๆ เนี่ยมันอยู่คู่มนุษยชาติเลยก็ว่าได้ เวลาที่มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น มักจะได้รับความสนใจมากกว่า เช่นคนสนใจโควิด-19 ก็เพราะว่ามันพรากชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการสำรวจด้วยว่าข้อมูลเชิงลบนั้นนอกจากคนจะสนใจมากกว่าแล้ว ผู้คนยังเชื่อมันมากกว่าข้อมูลเชิงบวกอีกด้วย
- การกระจายของความเสี่ยงของสังคม
ทัศนคติทางลบนั้นแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่า “คนชอบแชร์” เปรียบเสมือนเครือข่ายลูกโซ่ที่แชร์ต่อ ๆ ไปแบบเท่าทวีคูณ มีการจำลองสถานการณ์ โดยให้คนนั้นได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเป็นโทษของสิ่ง ๆ หนึ่ง การทดลองค้นพบว่าเมื่อผู้คนส่งต่อข้อมูลไปเรื่อย ๆ นั้น ข้อมูลจะถูกทำให้สั้นลง และจะเหลือแต่เรื่องในแง่ลบที่ยังถูกส่งต่อไปเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลเหล่านั้นมันสัมพันธ์กับความรู้สึกเครียด และรู้สึกว่าตัวเองโชคร้ายของผู้คนมากกว่า
- ความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์
ในช่วงวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นการเกิดโรคระบาดขึ้นบนโลก ผู้คนมักจะกลัวมาก ๆ และก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งเมื่อต้องรับมือกับเรื่องเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลผิด ๆ นั้นแพร่กระจายไปได้ไวขึ้น มีการศึกษาพบว่า ยิ่งเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อข้อมูลถูกส่งต่อก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น และเป็นไปในทางลบมากขึ้น รวมไปถึงความบิดเบี้ยวของข้อมูลชุดนั้นด้วย อารมณ์ประมาณว่ายิ่งดราม่าคนจะยิ่งส่งต่อ กรณีศึกษาที่ชัดเจนมาก ๆ ก็คือการใช้ทวิตเตอร์ส่งต่อเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงเวลาของโรคระบาดนั่นเอง
- ความไม่ชัดเจนของความคิดแบบวิทยาศาสตร์
เพื่อให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นเวลาเกิดวิกฤติใหญ่ต่าง ๆ คงจะหนีไม่พ้นการมีเรื่องเล่า ตำนาน หรือนวนิยาย เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แต่เราต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่กล่าวมาเหล่านั้นไม่ได้มีเพียงข้อเท็จจริง แต่มีการปรุงแต่งสีสันของเรื่องราวจากผู้บอกเล่า และอาจจะขัดแย้งกับข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งความไม่ชัดเจนตามไม่ทันของวิทยาศาสตร์ในเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น มันเลยทำให้คนอาจเชื่อข้อมูลผิด ๆ เพราะวิทยาศาสตร์นั้นกว่าพิสูจน์ออกมาได้ ต้องผ่านกระบวนการทั้งทดลองซ้ำ ๆ กว่าจะได้ข้อสรุป เลยใช้เวลานาน ในขณะที่วิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบในเรื่องใหม่ ๆ ก็มีตำนานเกิดขึ้นมากมายแล้วจึงเกิดเป็นข้อมูลให้คนเข้าใจผิด ๆ นั่นเอง
- ความกลัว และกระบวนการที่ตื้นเขิน
ถ้าข้อมูลผิด ๆ ถูกผลิตซ้ำ ๆ และพูดซ้ำ ๆ อย่างมั่นอกมั่นใจ มันจะสามารถโน้มน้าวใจของผู้คนได้มากกว่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเมื่อเราใช้เวลาน้อยมาก ๆ ในการที่รับข้อมูลต่าง ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วข้อมูลนับร้อยพันก็ผ่านตาเราไปอย่างมากมาย เพราะความกลัวที่คนต่างต้องการที่จะป้องกันตัวเอง จึงเป็นโอกาสของข้อมูลผิด ๆ ที่จะเข้ามาถึงตัวผู้คนมากขึ้น
ในช่วงเวลาของการระบาดของโรคต่าง ๆ นั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์มักจะคิดเสมอว่าตัวเองต้องสู้กับไวรัสถึง 2 ชนิด การรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ว่าการฝึกฝนตัวเองในการรับข้อมูลที่ดีก็เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เช่นกัน เริ่มจากการตระหนักรู้ก่อนว่าข้อมูลทุกอย่างที่ได้รับมาไม่ใช่เรื่องจริง หรือเป็นข้อมูลที่ผิด ให้ตั้งการ์ดเหมือนเวลาที่เราเห็นคนไอหรือจามในช่วงที่โควิด-19 ระบาด เมื่อเห็นแล้วก็ตรวจสอบขั้นพื้นฐานก่อน หาที่มาของข้อมูล และน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลเหล่านั้น ถ้าไม่มีเวลาตรวจสอบก็อย่าเพิ่งแชร์ต่อ
“รักษาชีวิตของตัวเอง ด้วยการไม่ส่งต่อข้อมูลผิดๆ”
ขอบคุณข้อมูลจาก
ส่วนมากประเทศอื่นจะไม่ดราม่าหนักเท่ากับประเทศไทยหรอก ประเทศด้อย พัฒนาอย่าง ไ ท ย ส่วนใหญ่ก็จะชอบด่ากราดก่อนความจริงปรากฎ เพราะคนไ ท ย ส่วนใหญ่ป่วย สติลดการทรงตัว ต้องการระบายสิ่งที่เก็บกด ขอให้ได้ด่า จะถูกจะผิด มันก็แค่ก้าวต่อโดยไม่สนใจคนที่ตัวเอง เข้าไปด่ากราดว่าเค้าจะรู้สึกอย่างไร ไม่สนความจริงหรือความเท็จ
01 ก.ย 2563 เวลา 16.27 น.
Eed Eed คิดน้อยไปไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ
04 ก.ย 2563 เวลา 02.51 น.
Foong เพราะโง่ใง 555
01 ก.ย 2563 เวลา 16.35 น.
K 79 คิดถึงจัง แนะนำไทยรัฐ ส่วนใหญ่ให้เกียรติต่อเหตุการณ์ต่อเนื้อข่าว
01 ก.ย 2563 เวลา 04.09 น.
ShelL ข่าวในไล นี่แหละตัวดีเลย555
04 พ.ย. 2563 เวลา 23.41 น.
ดูทั้งหมด