ทั่วไป

อ.เจษฎา เผยข้อมูล สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารอันดับหนึ่ง

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 30 ม.ค. 2566 เวลา 22.26 น. • เผยแพร่ 31 ม.ค. 2566 เวลา 05.10 น.

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เผยผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ถึงเรื่องสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารอันดับหนึ่ง ระบุว่า "ฟอร์มาลีน เป็นสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร อันดับหนึ่ง"

อ.เจษฎา เผยข้อมูล สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารอันดับหนึ่ง
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันนี้มีนักข่าวจากกรมประชาสัมพันธ์ จะมาขอสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสาร "ฟอร์มาลีน" ที่ปนเปื้อนในอาหาร

เลยขอข้อมูลจากสไลด์เรื่อง "สถานการณ์การปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร และแนวทางการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย" ที่ คุณพลาวัตร พุทธรักษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเคยเอามาบรรยายในงานเสวนา “กินอยู่อย่างไร…ให้ห่างไกลสารพิษ” ซึ่งผมกับ อ.อ๊อด ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเผยแพร่เตือนกันนะครับ ว่า "ฟอร์มาลีน" นั้น ปนเปื้อนอยู่ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่คิด

- ในช่วงปี 2565 ทางกรมอนามัยได้ทำการศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ด้วยการสุ่มตรวจอาหารทั้งหมด 21,080 ตัวอย่าง จากสถานประกอบกิจการด้านอาหารทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) พบว่า 97% ไม่พบการปนเปื้อน ขณะที่อีก 3% พบการปนเปื้อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- โดยในกลุ่มของอาหารที่พบการปนเปื้อนของสารพิษนั้น อันดับหนึ่งที่พบมากสุดคือ "ฟอร์มาลีน" พบถึง 31% , รองลงมาคือ ยาฆ่าแมลง 25% , สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 19% , สารเร่งเนื้อแดง 11% , สารกันรา 10% , และบอแรกซ์ 4% ตามลำดับ

- สารฟอร์มาลีน มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลีนเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอ ใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ใช้ป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต หลังการเก็บเกี่ยว และใช้ป้องกันแมลงในพวกธัญญพืชหลังการเก็บเกี่ยว

- ฟอร์มาลีนเป็นสารอันตราย และห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ปัจจุบันยังมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่าย และเก็บรักษาได้นาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ผักสดชนิดต่างๆ เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- ความเป็นพิษ : สารฟอร์มาลีนเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไป จะเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และหากรับประทานในปริมาณมากไป ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อ.เจษฎา เผยข้อมูล สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารอันดับหนึ่ง

- อันตรายจากฟอร์มาลีนในอาหาร : การรับประทานฟอร์มาลีนปริมาณ 30 มิลลิลิตร ทำให้เสียชีวิตได้ / "ระยะยาว" องค์การอนามัยโลก รายงานว่า ฟอร์มาลีนเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อทานหรือสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือต่อเนื่อง

- อาหารที่มักพบว่ามีสารฟอร์มาลีน ได้แก่ อาหารทะเลสด (กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก) ผักผลไม้สด สไบนาง (ผ้าขี้ริ้วสีขาว) ปลาหมึกกรอบ

- 4 วิธีเลี่ยง : "อาหารสด" เมื่อดมกลิ่น จะต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก , "ผักผลไม้" ที่ยังดูสดไม่เหี่ยว ทั้งที่วางขายมาตลอดทั้งวัน , "เนื้อสัตว์สด" ที่มีสีเข้ม และสดผิดปรกติ ทั้งที่ไม่ได้แช่เย็น , "นำมาล้างน้ำ" ก่อนนำอาหารสดมาปรุง ควรล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง

อ.เจษฎา เผยข้อมูล สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารอันดับหนึ่ง

- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ประกอบการนำหมูแช่ฟอร์มาลีนมาจำหน่าย มีโทษตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากสารฟอร์มาลีนถูกนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลีน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ หากตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฏหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- เมื่อดูเปรียบเทียบย้อนหลัง จากหน่วยโมบายล์ยูนิตของกรมฯ พบว่าสถานการณ์การปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีนในอาหารนั้น เพิ่มขึ้นมาโดยต่อเนื่อง จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 3.27% ในปี พ.ศ 2559 , ได้มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ทุกปี จนมาถึง 5.42% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาเป็น 7.73% ในปี 2565

ภาพจากคลิปการเสวนา #กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลสารพิษ ดูคลิปได้ที่นี่

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • บุ๋ม
    มันหาซื้อได้ง่ายหร่อ
    31 ม.ค. 2566 เวลา 14.10 น.
ดูทั้งหมด