เช็ค "วิธี" จ่ายหนี้ กยศ. เตรียมตัวไว้จะได้ไม่ร้อนใจ ใครกู้ยืมเงินสามารถชำระหนี้คืนก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
เช็คด่วน "วิธี" จ่ายหนี้ กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) เตรียมตัวไว้จะได้ไม่ร้อนใจเมื่อใกล้ถึงกำหนด (วันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันสุดท้ายของการจ่ายหนี้ กยศ.) ใครกู้ยืมเงินสามารถชำระหนี้คืนก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย กยศ.
How to เตรียมตัวจ่ายหนี้ กยศ.
- ตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. ที่ต้องจ่ายในแต่ละปีจากเว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th : คลิกที่นี่ เลือก ตรวจสอบยอดหนี้ หรือ scan QR code (ในรูปข้างล่างนี้)
- คำนวณและวางแผนเก็บเงินเป็นรายเดือน เพื่อจ่ายหนี้ให้ครบตามกำหนด (ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี)
จำนวนเงินที่ต้องเก็บ = ยอดหนี้รายปี / จำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงกำหนดชำระ
เช่น ณ เดือน มกราคม 2565 ถ้ายังไม่เคยทยอยเก็บมาก่อน และปีนี้ต้องจ่าย 9,000 บาท จะต้องเก็บเงิน 9,000 / 6* = 1,500 บาทต่อเดือน
* 6 เดือน มาจากเดือน ม.ค. - มิ.ย. หรือถ้ารอบหน้าเริ่มวางแผนตั้งแต่หลังกำหนดจ่ายปีนี้ ก็จะมีเวลาเก็บ 12 เดือน (ก.ค. 65 - มิ.ย. 66) เหลือยอดที่ต้องเก็บต่อเดือนลดลง
"วิธี" จ่ายหนี้ กยศ. ควรเตรียมตัวด้วย ดังนี้
หลักเกณฑ์การชำระหนี้
- ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
- ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
- การชำระหนี้งวดต่อ ๆ ไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
- หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
- ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
หมายเหตุ
- ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
- กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
ช่องทาง "วิธี" ชำระหนี้ กยศ.
- ทั้งนี้ กยศ. จะมีหนังสือแจ้งชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน หรือรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบ หากผู้กู้ยืนไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้ สามารถตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตัวเองได้ทางแอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th : คลิกที่นี่ นำเงินไปชำระได้ตามช่องทาง ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย
- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ตู้ ATM
- อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com) : คลิกที่นี่
- แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ตู้ ATM
ชำระหนี้ กยศ. ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking
- เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอปพลิเคชัน กยศ. Connect
- เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking
- กด สแกนจ่าย
- เลือกภาพ QR Code ที่บันทึกไว้
- ชำระเงิน
ชำระหนี้ กยศ. ด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode
- แสดง Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th : คลิกที่นี่ หรือแอปพลิเคชัน กยศ. Connect ใช้เพื่อชำระหนี้ผ่านหน่วยรับชำระ ดังต่อไปนี้
- ไปรษณีย์ไทย
- บิ๊กซี
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารไทยธนชาต
- ธนาคารกรุงศรี
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารกรุงเทพ
หมายเหตุ
- ชำระได้เฉพาะผู้กู้ยืมที่ไม่มียอดค้างชำระ และมีสถานะชำระหนี้ปกติตามสัญญา 15 ปี เท่านั้น
- สามารถตรวจสอบรายการลดหนี้ได้ภายหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมชำระเงินไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ
- ผู้กู้ยืมต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละช่องทางที่ใช้บริการ
ตารางวางแผนผ่อนชำระหนี้ กยศ. ตั้งแต่เนิ่น ๆ