ทั่วไป

หรือเราต้องถอยเวลากลับ นักวิทยาศาสตร์เผยเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โลกหมุนเร็วที่สุดในรอบ 60 ปี

The MATTER
อัพเดต 08 ส.ค. 2565 เวลา 09.36 น. • เผยแพร่ 06 ส.ค. 2565 เวลา 06.58 น. • Brief

เราเชื่อกันมาตลอดว่าในหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง หรือ 86,400 วินาที แต่อันที่จริงนั่นเป็นเพียงระบบสมมติ และมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยอยู่เสมอ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมารายงานว่าวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา เป็นวันที่สั้นที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 หรือโลกหมุนเร็วขึ้นราว 1.59 มิลลิวินาที

“ตั้งแต่ปี 2016 โลกก็เริ่มหมุนเร็วขึ้น” ลีโอนิด โซตอฟ นักวิทยาศาสตร์ที่เพิ่งตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของการหมุนของโลกกล่าว “และปีนี้ (2022) มันก็หมุนเร็วขึ้นกว่าปี 2021 และ 2020” โซตอฟระบุว่า ไม่ใช่ทุกวันสั้นกว่าปกติ แต่แนวโน้มที่เกิดขึ้น อาจทำให้เราต้องปรับนาฬิกาอะตอม (นาฬิกาที่มีความแม่นยำที่สุดในโลก) ถอยหลังลงเล็กน้อย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกเร่งสปีดรอบตัวเอง เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2020 นักวิทยาศาสตร์บันทึกว่าโลกหมุนเร็วขึ้น 1.47 มิลลิวินาที นับเป็นวันที่สั้นที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ขณะที่เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา โลกก็หมุนเร็วขึ้น 1.5 มิลลิวินาทีเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการหมุนเร็ว-ช้าของโลก โดยนาซ่า (Nasa) เปิดเผยว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีผลกับการหมุนช้าลงของโลกในระดับมิลลิวินาที ขณะที่แผ่นดินไหวเมื่อปี 2004 อันทำให้เกิดสึนามิบริเวณภาคใต้ของไทยส่งผลให้เกิดการเขยื้อนของแผ่นโลก และทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นในระดับเกือบ 3 ไมโครวินาที

หรือสรุปได้ว่าอะไรก็ตามที่ส่งผลต่อแกนกลางของโลกจะทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น ขณะที่ ปรากฏการณ์ใดก็ตามที่แกนกลางของโลกส่งผลออกไปจะทำให้โลกหมุนช้าลง แต่คำถามที่นักวิทยาศาสตร์ยังตอบไม่ได้คือ ทำไมปรากฎการณ์เหล่านี้ถึงส่งผลต่อการหมุนของโลก?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างที่ทราบกันว่า โลกไม่ได้ใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์ 365 วันตรงเป๊ะ แต่เกินเลยมาอีกประมาณ 1 ใน 4 นั่นเป็นที่มาว่าทำไมทุกๆ 4 ปีเราจะมีวันในรอบปีเพิ่มมาอีกหนึ่งวัน หรือวันที่ 29 ก.พ. ซึ่งปรากฎการณ์แบบนั้นนักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า ‘ปีอธิกสุรทิน (Leap Year)’

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์คาดว่าถ้าโลกยังคงหมุนเร็วขึ้นด้วยแนวโน้มเช่นนี้ อาจต้องเริ่มถกเถียงกันถึง ‘การลบวินาทีทิ้ง (Negative Leap Second’ เป็นครั้งแรก หรือการถอยหลังเวลาลงระดับวินาทีเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่แท้จริงของโลก

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่มองว่าแนวคิดดังกล่าวเสี่ยงเกินไป และอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายมากกว่าผลบวก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ้างอิง:

https://www.theguardian.com/science/2022/aug/01/midnight-sooner-earth-spins-faster-shortest-day

https://www.cbsnews.com/news/earth-spinning-faster-than-usual-shortest-day-ever/

https://futurism.com/earth-spinning-fast-turn-back-clock

ดูข่าวต้นฉบับ