ไลฟ์สไตล์

"ตำลึง" ผักริมรั้วหน้าฝนแสนธรรมดา แต่มีสรรพคุณเป็นได้ทั้ง "ยา-อาหาร"

Amarin TV
เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 13.51 น.
เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยกิน ตำลึง พืชไม้เลื้อยที่มักพบตามกำแพง รั้ว หรือแม้แต่ตามต้นไม้ใหญ่ มีใบสีเขียวจัด และมีชื่อท้องถิ่นอื่

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยกิน ตำลึง พืชไม้เลื้อยที่มักพบตามกำแพง รั้ว หรือแม้แต่ตามต้นไม้ใหญ่ มีใบสีเขียวจัด และมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกเช่น ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตำลึงมีลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของนกนานาชนิด

ในตำลึงยังมีสรรพคุณทางยาที่นำมาใช้ได้ตลอดทั้งต้น ตั้งแต่ ใบ ที่สามารถนำมาใช้แก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ ส่วน เถา นำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ ดอกตำลึง ช่วยทำให้หายจากอาการคันได้ ราก ใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า และ น้ำยาง จากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

แม้จะมีการนำมาใช้ในด้านของนาสมุนไพรไม่บ่อยนัก แต่ใบกับยอดอ่อนยังมีการนำมาทำเป็นอาหารอยู่บ่อยครั้ง เช่นใบกับยอดที่มักใส่ในแกงจืดกับหมูบะช่อ ผลตำลึงอ่อนก็รสหวานสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าแก่แล้วจะออกรสขม ผลตำลึงอ่อนนำไปแกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน นำไปแช่อิ่มหรือดองแบบเดียวกับแตงกวา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Paendin A.
    นอกจากนำใบแก่มาลวกจิ้มน้ำพริกได้คุณค่าวิตามินAสูงแล้ว ขอสนับสนุนให้กินใบตำลึงแก่ครับ คลอโรฟิลด์สูงมาก นำมาปั่นสดคั้นน้ำแล้วแช่เย็นจะดื่มง่าย ดื่มเเทนน้ำทั้งวัน ป้องกันอาการภูมิแพ้ได้ผลดีเยี่ยม ลองแล้วจึงบอกต่อครับ
    16 ก.ค. 2562 เวลา 17.54 น.
  • แม่สาย
    ลูกตำลึงแก่สุกสีแดงรสหวานค่า ไม่ใช่ขม
    16 ก.ค. 2562 เวลา 22.51 น.
ดูทั้งหมด