เคยเป็นมั้ย อยู่ๆก็นึกชื่อคนที่เจอหน้ากันบ่อยๆไม่ออกว่าชื่ออะไร?
เคยเป็นมั้ย คิดไว้แล้วว่าจะทำอะไร แต่ถึงเวลาก็ลืมว่าจะต้องทำอะไรบ้าง?
เคยเป็นมั้ย หาของที่จำเป็นต้องใช้ไม่เจอ?
เคยเป็นมั้ย อ่านหนังสือสอบเท่าไรก็จำไม่ได้สักที?
แต่เรื่องที่อยากลืมอย่างเช่น เรื่องที่เคยอกหัก
เหตุการณ์ที่เลวร้ายจนไม่อยากจดจำ อยากจะลืมมากเท่าไร
กลับจำฝังจน จนบางคนติดตามไปในความฝัน
เคยถามตัวเองมั้ย เราเป็นแบบนี้เพราะอะไร?
หลายคนแม้วัยหนุ่มสาว ก็เคยต้องมาพบเอิ้นด้วยอาการลืมง่ายจนกังวลว่าตัวเองกำลังเป็นความจำเสื่อมรึป่าว
หรือไม่ก็ลืมยาก อยากจะลบเรื่องราวบางอย่างออกจากความทรงจำแต่ก็ทำไม่ได้สักที
อยากบอกให้สบายใจว่า
ถ้าเราอายุไม่เกิน 65 ปี
ไม่มีประวัติการใช้สารเสพติดที่มีผลต่อสมอง
ไม่มีโรคเบาหวาน ไขมัน เส้นเลือดสมองตีบแตก
หรืออุบัติเหตุร้ายแรงทางสมอง
โอกาสจะเป็นโรคความจำเสื่อมนั้นไม่มี
แล้วอะไรทำให้ อยากจำกลับลืม
กระบวนการจำเป็นการทำงานของสมอง
ที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. การลงข้อมูลที่จะจำ
2. การเก็บข้อมูล
3. การดึงไปใช้
4. การแสดงออกถึงข้อมูล
เมื่อเรารับข้อมูลบางอย่างมา เช่น นั่งฟังอาจารย์สอนในห้องเรียน เรารับรู้เสียงอาจารย์ที่พร่ำสอน
ถ้าเรามีความสนใจ (attention) ร่วมในการรับรู้ ข้อมูลก็จะถูกเปลี่ยนเป็นความจำระยะสั้น (Short term memory) ความจำชนิดนี้พร้อมจะหายไปภายในไม่กี่นาที หากไม่มีอะไรมาทำให้แปรเปลี่ยนไปเป็นความจำระยะยาว (Long term memory) ความจำชนิดนี้อยู่กับเราได้ยาวเป็น วัน / เดือน / ปี / หลายปี
สิ่งที่จะมาช่วยเปลี่ยนความจำระยะสั้น ให้เป็นเป็นความจำระยะยาวก็อย่างเช่น
การทวน ( ไม่ทวนใน 1 นาทีก็ต้องนึกถึงบ่อยๆ) ,
การแปลงเป็นความหมาย หรือภาพ
การเชื่อมโยงวันเวลา
การมีอารมณ์ร่วม
หรือ การแปลงเป็นทักษะในการปฏิบัติ
ดังนั้นไม่น่าแปลกใจ ถ้าเราจะลืมเรื่องที่ครูเพิ่งสอนไปหลังจากเรียนไม่กี่นาทีเพราะไม่สนใจ
จำคำสั่งหัวหน้าไม่ได้เพราะเครียดเรื่องอื่นอยู่
จำสิ่งที่ต้องทำในงานได้น้อยลงหลังเลิกกับแฟน เพราะเราไม่มี (attention) ความสนใจจดจ่อในการรับข้อมูลมาบันทึกไว้ในสมองตั้งแต่แรก
เราจึงกลายเป็นพวกอยากจำกลับลืม
ในขณะที่ เมื่อเราถูกคนที่รักและไว้ใจทำร้ายจนบอบช้ำ
หรือ เจอเหตุการณ์เลวร้าย
ความทรงจำนั้นกลับฝังแน่นไม่ลืมเลือน
เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้ถูกอารมณ์(โดยเฉพาะด้านลบ)ดึงดูดข้อมูลเข้าสู่ความจำระยะยาวอย่างรวดเร็ว
เมื่อไรที่ถูกกระตุ้น เช่น สถานที่ เจอคนที่มีส่วนร่วม หรือมีคำพูดมากระทบ
เรื่องราวเลวร้ายนั้นก็พร้อมจะผุดขึ้นมาอยู่เสมอ เกิดการดึงข้อมูล
หากเราหมกมุ่นครุ่นคิดกับเรื่องนั้นต่อก็จะเกิดการทบทวนซ้ำ
ความทรงจำนั้นก็จะยิ่งฝังแน่น
เราจึงกลายเป็นคน อยากลืมกลับจำ
ดังนั้น หากเรามองว่าการฝึกทักษะการจำนั้นสำคัญ การฝึกทักษะการลืมย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
เพราะเราจะจำในสิ่งที่ควรจำ ลืมในสิ่งที่ควรลืม
annop. 😀
20 ก.พ. 2562 เวลา 13.08 น.
Mew’achariya ^^
20 ก.พ. 2562 เวลา 13.05 น.
นันท์ (Tik)*_* ช่ายค่ะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้นค่ะ
20 ก.พ. 2562 เวลา 16.27 น.
♡APPLE'SD 51💰 🙂
20 ก.พ. 2562 เวลา 14.42 น.
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นมาได้เสมอ.
20 ก.พ. 2562 เวลา 15.34 น.
ดูทั้งหมด