ไทยเป็นชาติ “กสิกรรม” แต่ทำไม“กระดูกสันหลังของชาติ” ยังยากจน!?
“กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจเพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม”
เราคงได้ยินเพลงนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ หลาย ๆ คนก็อาจจะเติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นเกษตรกรหรือปศุสัตว์ และคำกล่าวพวกนี้ก็ไม่ได้เกินเลยความเป็นจริง ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศ “ผู้ผลิต” ทางการเกษตรขนาดใหญ่ของโลกและมีการส่งออกสินค้าทางเกษตรจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา อ้อย และถั่วเหลือง
แต่ทำไม อาชีพที่ใคร ๆ ก็กล่าวว่าเป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” กลับกลายเป็นอาชีพที่ลำบากยากจนที่สุด?
ภาพของเกษตรกรที่ออกมาร้องไห้ อดอาหาร ประท้วงเรื่องราคาค่าข้าว ภาพของลูกหลานชาวนาตาดำ ๆ ที่ต้องมาออกรายการร้องเพลงสู้ชีวิตเพื่อ “ปลดหนี้” ให้กับครอบครัวที่เป็นเกษตรกรนั้นกลับเป็นภาพที่เราเห็นได้บ่อยไม่แพ้กันตลอดชีวิตที่ผ่านมา
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่ออาชีพเกษตรกรรมสำคัญที่สุด ก็ควรจะให้ค่าตอบแทนสูงสุดไม่ใช่หรือ? เขาทั้งหลายต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้างที่ขัดขวางไม่ให้พวกเขาได้อยู่ดีกินดี?
1.) ปัญหาผลผลิตไม่แน่นอน
ตั้งแต่ในอดีตมา ผลผลิตทางการเกษตรก็เป็นสิ่งที่ต้องขึ้นกับธรรมชาติและฤดูกาลมากอยู่แล้ว ยิ่งในยุคปัจจุบันที่โลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด ศัตรูพืชชนิดใหม่ ๆ ก็ยิ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับผลผลิต และเมื่อจำนวนการผลิตไม่แน่นอน กำลังในการขายก็ย่อมน้อยลง และอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องภาระหนี้สินได้ เพราะต้นทุนในการเพาะปลูกสูง และให้ผลตอบแทนน้อย
2.) ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง
เกษตรกรรายย่อยหลายรายไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง บ้างก็รับจ้างทำนา บ้างก็ต้องทำกินบนที่ดินของนายทุน บ้างเคยมีที่ก็ต้องเอาไปจำนองเพราะปัญหาต้นทุนการเพาะปลูก บ้างก็ต้องเช่าที่ดินในการทำการเกษตรแล้วก็เป็นหนี้ วนเวียนไปอยู่อย่างนั้น เพราะไม่มีที่ดินสินทรัพย์เป็นของตัวเอง
3.) พ่อค้าคนกลางกดราคา
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขายผลิตภัณฑ์การเกษตรของตัวเองกับพ่อค้าคนกลางซึ่งรับซื้อจำนวนมากในราคาถูก ๆ เพื่อนำไปขายเก็งกำไรเพิ่มในราคาที่สูงขึ้น หลาย ๆ ครั้งพวกเขาไม่รู้ราคาตลาดและถูกกดราคา ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยพ่อค้าและไม่กล้ามีปากมีเสียงเพราะกลัวว่าคราวต่อไปจะไม่มีใครมาซื้อผลิตผลของพวกเขาอีก เกษตรกรหลายครัวเรือนจึงยอมรับเงินน้อย ๆ ดีกว่าไม่ได้รับเงินเลย
4.) ไม่รู้วิธีการเพิ่มมูลค่า
เมื่อผลผลิตไม่ได้ถูกซื้อขายโดยตัวเกษตรกรเองแล้วเกิดการผลิตเกินจำนวนที่พ่อค้าคนกลางต้องการต่อรองซื้อขึ้นมาก็จะเกิดผลผลิตเฟ้อ ซึ่งในบางครั้งเกษตรกรไม่ได้รู้วิธีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า และทำให้เกิดปัญหาผลผลิตทิ้งเสียและต้องเสียผลผลิตตรงนั้นไปโดยเปล่าประโยชน์
การแก้ไขปัญหาการเกษตร เป็น “โจทย์” หลักของแทบจะทุก ๆ รัฐบาล แต่ก็แทบไม่เคยมีรัฐบาลไหนเลยที่จะแก้ปัญหาให้เห็นผลได้จริงและยั่งยืน ดังนั้น การที่ภาคการเกษตรจะเข้มแข็งขึ้นมาได้นั้นขึ้นอยู่กับเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคเองที่อาจเริ่มสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจากเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางหรือนายทุนบริษัทใหญ่ เกษตรกรเองที่อาจต้องเริ่มศึกษาวิธีการขาย การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ภาครัฐเองที่จะต้องมีนโยบายในการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ผ่าน ๆ ไป
ยิ่งช่วงนี้ใกล้หาเสียงแล้ว เรามารอดูนโยบายดี ๆ กันดีกว่า ว่าพรรคไหนให้ความสำคัญกับเกษตรกรและพรรคไหนจะทำได้จริงบ้าง และเมื่อไหร่ ที่เกษตรกรชาวไทยจะได้มั่งมีศรีสุขสมกับฐานะและคุณค่าของอาชีพพวกเขาซึ่งเป็นดั่งกระดูกสันหลังที่แท้จริงของประเทศไทยเราสักที
ภาพประกอบ
https://www.matichonweekly.com/column/article_14486
http://farmkaset.blogspot.com/2015/07/blog-post_73.html
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/38298
Tarurotte เกษตรกรไทยมีความชำนาญในอาชีพเกษตรกรรมแน่รึเปล่า? ใส่ปุ๋ยก็เอาสารเคมีหว่านโครมๆ ที่ดินราคาสูงก็ขายนามาเป็นลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรม
การเกษตรใช้คน 2 ประเภท เกษตรกร ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างผลผลิต กับแรงงาน ใช้ขนส่งผลผลิต ตอนนี้ระบบการเกษตรไทยอยู่ในมือคนประเภทไหนกันแน่? กษัตริย์ หรือ ศูทร?
06 มี.ค. 2562 เวลา 07.01 น.
ธนวัฒน์ พรรณาขา0576 นายทุนโคตรรวย
ชาวนาแมร่งจนลงทุกวัน
04 มี.ค. 2562 เวลา 01.54 น.
NONAME แตงโมที่ญี่ปุ่นลูกละ 900 บาท อาหารแพง เสื้อผ้าถูก
03 มี.ค. 2562 เวลา 14.34 น.
CCN ชาติไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้มากๆๆๆ_ชาวนาคืนคนปลูกข้าวให้คนทั้งชาติกินกัน. รบ__ต้องคำนึงข้อนี้ให้มาก
ก่อนที่แผ่นดินที่จะทำนาหมดไป
ไปดูที่จีน. ชาวนาปลูกบ้าน 2-3-4..ชั้นอยู่สุขสบาย
มากมาก__รบต้อง. คำนึงเรื่องนี้ให่มากที่สุด
ไทยในนำ้มีปลาในนามีข้าว. มาแต่สมัยไหนแล้ว
อย่า. ให้คนกลางบีบ. หัวชาวนามากไปนะ. สัจธรรม
03 มี.ค. 2562 เวลา 13.08 น.
khundet ทำไมไม่ตั้งกระทรวงข้าววะ..
03 มี.ค. 2562 เวลา 05.12 น.
ดูทั้งหมด