ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘ทุเรียน’ มากคุณค่าพอดีคำ!!

The Bangkok Insight
เผยแพร่ 16 ก.พ. 2562 เวลา 09.38 น. • The Bangkok Insight

เมื่อช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปฉลองตรุษจีนกับเพื่อนสนิทชาวมาเลเซีย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  ต้องขอบอกว่า ตรุษจีนในประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรา เช่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ ไต้หวัน มาเลเซีย ถือเป็นวันใหญ่มาก เคยมีเพื่อนชาวไต้หวัน บอกว่า บริษัทให้พนักงานหยุดเพื่อเฉลิมฉลองกันแบบข้ามสัปดาห์กันเลยทีเดียว ต้องขอขอบคุณ Air Asia พาดิฉันมาถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ อย่างปลอดภัยในเมืองหลวงอย่าง กัวลาลัมเปอร์

นอกจากร้านต่าง ๆ จะประดับประดาด้วยโคมแดงแล้ว สิ่งที่สังเกตเห็นเด่นชัด คือ ร้านอาหารจีนต่าง ๆ จะสรรหาเมนู (ที่เสริ์ฟเฉพาะช่วงตรุษจีน) สะดุดฃเมนูหนึ่งที่พิเศษมีเฉพาะช่วงตรุษจีน มีชื่อเรียกว่า “Yusheng” น่าตาอาหารน่ารับประทานมาก มีลักษณะเหมือนสลัดผักนานาชนิด ที่ถูกสับเป็นฝอยวางรวมกัน เมนูนี้ถือเป็นความเชื่อที่จะเสริมความรุ่งโรจน์ตลอดปีใหม่นี้ โดยชาวจีนเชื่อว่า ยิ่งโยนสลัดสูงเท่าไร ก็ยิ่งได้รับความโชคดีมากขึ้นเท่านั้น บอกได้เลยประทับใจมากในค่ำมื้อเย็นวันนั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พอวันรุ่งขึ้น ระหว่างทางที่ดิฉันกำลังเดินทางกับเพื่อนมาเลย์ ตาเหลือบไปเห็นร้านริมถนน ร้านนี้เต็มไปด้วยกรุ๊ปทัวร์จีนใส่เสื้อสีแดง ลงมาแวะชิมทุเรียนกัน ต้องขอบอกว่า หนึ่งในผลไม้เศรษฐกิจที่ส่งออกของประเทศมาเลเซียและทำรายได้ดี นั่นคือ “มู ซาง คิง” ทุเรียนมาเลเซียที่ขึ้นชื่อลือชา นั่นแหละค่ะ เลยบอก taxi ทันทีเลยว่า “จอดค่ะ” สมดังหมายโชเฟอร์แท็กซี่ จอดทันทีที่สิ้นคำ เราเองยัง งง เพราะโชเฟอร์เล่นจอดกลางถนน และให้พวกเราได้ลงเลย…

มูซางคิง ราชาทุเรียน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มูซางคิง ถือเป็นราชาทุเรียนของประเทศมาเลเซีย จัดได้ว่าเป็นทุเรียนที่มีราคาสูงที่สุดสายพันธ์หนึ่งเลยทีเดียว และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคชาวจีนอย่างล้นหลาม ด้วยรสชาติที่หวาน มัน มีเมล็ดลีบ ขณะกินสุก 100% ด้วยราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาทในประเทศจีน! น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 2 – 2.5 กิโลกรัม ราคาที่จำหน่ายในประเทศมาเลเซีย ราว 100 – 120  ริงกิต หรือประมาณ 800 – 900 บาทต่อกิโลกรัม ในประเทศไทยนิยมปลูกที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รัฐบาลมาเลเซียถึงกับตั้งเป้าส่งออกทุเรียน มู ซาง คิง ให้ได้ 50% ภายในปี 2575 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า และแน่นอนประเทศที่มีความต้องการทุเรียนสายพันธ์นี้สูงสุด คือ ประเทศจีน

อย่างไรก็ดี ข้อมูลการค้าของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) พบว่า ปีที่แล้วประเทศจีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้น 15% หรือเกือบ 350,000 ตัน เกือบ 40% ในนี้เป็นทุเรียนไทย ส่วนทุเรียนมาเลเซีย ยังมีน้อยมาก อาจเป็นด้วยเหตุผลของผลผลิตที่ยังน้อยอยู่ และอีกเหตุผลหนึ่งที่มองข้ามความพิเศษไม่ได้ คือ ทุเรียน มู ซาง คิง ต้องรอให้มันสุกเอง หล่นจากต้น แล้วเก็บมาจำหน่าย ทำให้เป็น มู ซาง คิง  เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีนอย่างมาก  เพราะจะได้รสชาติของเนื้อทุเรียนที่นุ่ม ชุ่ม เปียก หวานและมันเต็มที่!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทุเรียน  มีหลายสายพันธ์

ทุเรียน ถือเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว  บางคนชอบมาก  บางคนถึงกับไม่ชอบกลิ่นเลยก็มี ทุเรียน มีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียงแค่ 9 ชนิดที่เราสามารถรับประทานได้ เช่น DurioZibethinus, DurioDulcis, DurioGrandiflorus, DurioGraveolens, DioKutejensis, DurioLowianus, DurioMacratha, DurioOxyleyanus, DurioTestudinarumโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายพันธ์ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันมากที่สุดคือ พันธ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธ์ก้านยาว เป็นต้น

ประโยชน์ของทุเรียน

  • เส้นใยทุเรียน มีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
  • ทุเรียน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธ์ไทย หมอนทอง)
  • ทุเรียน ช่วยต้านโรคหัวใจ
  • รากทุเรียน ช่วยแก้โรคดีซ่าน
  • เปลือกทุเรียน สามารถช่วยในการสมานแผลได้
  • ผลทุเรียน สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมปังสอดไส้ ไอศกรีม

โทษของทุเรียน

  • ด้วยความที่ทุเรียน ไม่ว่าจะเป็นพันธ์ใด ๆ ถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง และยังอุดมไปด้วยไขมัน และกำมะถัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน  เพราะหากทานเข้าไปอาจทำให้ระดับน้ำตาล และความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ทานทุเรียน เยอะเกินไป อาจทำให้ร้อนในได้

 

#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน

#KINN_Biopharma

 

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ