ไลฟ์สไตล์

น้ำแข็ง ตัวช่วยดับกระหาย อันตรายที่แฝงมากับความเย็น

LINE TODAY
เผยแพร่ 01 พ.ย. 2562 เวลา 07.44 น.

น้ำแข็ง ตัวช่วยดับร้อน ดับกระหายที่พวกเรากินกันอย่างแพร่หลาย ทั้งใส่ในเครื่องดื่ม ทั้งแช่ของ และอีกสารพัดประโยชน์ของน้ำแข็งที่กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้ว

แต่ใครจะรู้ว่าเจ้าน้ำแข็งใส ๆ ที่มองผิวเผินเหมือนจะสะอาด กลับไม่ได้ใสสะอาดอย่างที่คิด เพราะจากการเปิดเผยของกรมวิทยาศาสตร์ที่สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในน้ำแข็งทุกปี ผลการตรวจปรากฎว่าน้ำแข็งนี่แหละคือตัวการสำคัญที่อุดมไปด้วยเชื้อโรคหลากหลายจนเรานึกกันไม่ถึงเลยทีเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เชื้อโรคที่พบการปนเปื้อนบ่อยในน้ำแข็ง

น้ำแข็งที่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคอยู่บ่อย ๆ คือน้ำแข็งบด โดยเชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่ทำให้อาหารเป็นพิษ เช่น สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส, ครอสตรเดียมเพอร์ฟริงเจนส์, ซาลโมเนลล่า และบาซิลลัส ซีเรียส

ส่วนที่พบรองลงมาคือเชื้อที่ทำให้ท้องร่วง ท้องเสีย เช่น อี.โคไล ซึ่งปกติแล้วเชื้อนี้ปะปนอยู่ในอุจจาระและสิ่งแวดล้อมที่มีความสกปรกค่อนข้างมาก ดังนั้นการตรวจเจออี.โคไล ในน้ำแข็งก็แปลว่าน้ำแข็งไม่สะอาด เมื่อทานแล้วมีโอกาสก่อให้เกิดโรคสูง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การปนเปื้อนนี้อาจเกิดได้ทั้งจากกระบวนการผลิต การบรรจุและการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้น้ำแข็งหลอดบรรจุถุงเองก็มีการตรวจพบการปนเปื้อนเช่นเดียวกัน แต่มักเกิดจากกระบวนการเก็บรักษามากกว่าการผลิต

วิธีการเลือกซื้อน้ำแข็งอย่างปลอดภัย

อากาศอย่างบ้านเรา จะไม่ให้กินน้ำแข็งเลยคงเป็นไปได้ยาก อีกอย่างไม่ใช่น้ำแข็งทั้งหมดจะไม่ปลอดภัย ที่ปลอดภัยที่สุดหนีไม่พ้นน้ำแข็งที่เราทำเอง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องเลือกให้ดีเพื่อให้ไกลเชื้อโรคมากที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. บรรจุภัณฑ์

เลือกซื้อน้ำแข็งที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท ไม่มีรอยรั่วหรือฉีกขาดใด ๆ และไม่เคยเปิดใช้มาก่อน

2. ฉลากของบรรจุภัณฑ์

ต้องแสดงรายละเอียดการผลิตครบถ้วนและชัดเจน ผลิตจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ต้องมีข้อความว่า “รับประทานได้” มีการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วเท่านั้น

3. ลักษณะของน้ำแข็ง

น้ำแข็งต้องใสสะอาด ไม่มีรูพรุน เมื่อละลายแล้วต้องไม่มีตะกอนนอนก้น ไม่มีสี ไม่มีรสชาติหรือกลิ่นที่ผิดปกติ

4. น้ำแข็งแช่ของห้ามกิน

ไม่ทานน้ำแข็งที่มีการแช่ปนกับอาหารประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะผัก เนื้อสัตว์ กระป๋องเครื่องดื่มหรือขวดน้ำต่าง ๆ เพราะมีโอกาสที่น้ำแข็งจะปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย หากต้องทานน้ำแข็งแบบที่อยู่ในถังน้ำแข็ง ถังต้องสะอาดและแช่แค่น้ำแข็งอย่างเดียว เวลาตักต้องใช้ที่ตักน้ำแข็งแบบมีด้ามเท่านั้น

5. เช็กน้ำแข็งหลังละลายแล้วด้วย

ถ้าน้ำแข็งละลายแล้วมีตะกอนนอนก้นอยู่ ควรงดซื้อน้ำแข็งซ้ำจากผู้ประกอบการเจ้าเดิมซ้ำอีก

ยังไงก็แล้วแต่ แม้จะเลือกแล้วเลือกอีกแต่เราก็ไม่มีทางมั่นใจได้ว่าน้ำแข็งที่เห็นใส ๆ อยู่นั้น ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัยไร้กังวลหรือไม่ เพราะฉะนั้นอย่างที่บอกไปแล้วว่าทำน้ำแข็งเองดีที่สุด แค่ภาชนะสะอาด น้ำสะอาด ตู้เย็นสะอาด แค่นี้ก็ได้น้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย กินแล้วไม่ท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษอีกต่างหาก

ความเห็น 41
  • สุนทร
    กรมวิทยาศาสตร์มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบแล้วทำไมไม่ควบคุมให้ดีๆขยันออกตรวจบ่อยๆสิครับ
    01 พ.ย. 2562 เวลา 11.08 น.
  • khop
    งานเข้าเเล้วกุ เเดรกมาทั้งชีวิต 55555
    01 พ.ย. 2562 เวลา 11.12 น.
  • F'VerYON
    เอาไปต้ม
    01 พ.ย. 2562 เวลา 11.55 น.
  • อ่านมากไปก็ไม่ใช่ดีนะเนี่ย line today บทความแต่ละอันที่เลือกมา (top category) อ่านแล้วรู้สึกโลกนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน ไอ้นั่นก็ไม่ดี ไอ้นี่ก็ต้องระวัง ไอ้โน่นกินไม่ได้ ใช้มากก็ไม่ดี ไม่รู้อะไรนักหนา บ้าบอคอแตก 😝😝😝😝😝😝😝😝😝 แต่ก็ยังอ่านอยู่นั่นแหละ #เวรกรรมของตรู 🤣🤣🤣
    01 พ.ย. 2562 เวลา 11.58 น.
  • เดี๋ยวอายุมากขึ้นก็รู้เองหละ กินน้ำเย็นๆมากๆจะเป็นไง 😭 โถ่ กูไม่น่าแก่เลย 😭 😄
    01 พ.ย. 2562 เวลา 11.18 น.
ดูทั้งหมด