ทั่วไป

ข่าวปลอม อย่าแชร์ ! 44 เว็บไซต์ เชิญชวนประชาชนลงทะเบียน รับเงิน 5,000 บาท เยียวยา COVID-19

สวพ.FM91
อัพเดต 28 มี.ค. 2563 เวลา 13.16 น. • เผยแพร่ 28 มี.ค. 2563 เวลา 13.16 น.

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 44 เว็บไซต์​ เชิญชวนประชาชน​ลงทะเบียน รับเงิน​ 5,000 บาท​ เยียวยา​ COVID-19​ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็น ข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการจัดทำชื่อเว็บไซต์โดยใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกับชื่อเว็บไซต์จริงในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาทนั้น ทางธนาคารกรุงไทยได้ออกมาชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า การลงทะเบียนจะทำผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน .com เท่านั้น
หลังจากที่ธนาคารกรุงไทยได้จัดทำเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน .com เพื่อให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์เงินช่วยเหลือ COVID-19 มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) นั้นปัจจุบันทางทีม IT Security ของธนาคารกรุงไทยได้ตรวจพบการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่คล้ายคลึงกับชื่อเว็บไซต์จริงของโครงการจำนวนมาก เช่น www.เราไม่ทิงกัน .com www.เราไม่ทิ่งกัน .com และ www.เราไม่ทิ้งกัน .net เป็นต้น
จึงขอให้ประชาชนพิมพ์ใหม่ และเช็กตัวสะกดให้ถูกต้องก่อนลงทะเบียน เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี
ทั้งนี้การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน .com เปิดให้ลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์ต่อวัน โดยระบบจะแจ้งผลการลงทะเบียนทาง SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ให้ไว้ หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
โดยสามารถรับเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ ทางบัญชีพร้อมเพย์ของธนาคารใดก็ได้ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัญชีธนาคารใดก็ได้ที่มีอยู่เดิมโดยที่ชื่อ และนามสกุลเจ้าของบัญชี ต้องตรงกับชื่อและนามสกุลที่นำมาลงทะเบียน จึงไม่จำเป็นต้องไปเปิดบัญชีใหม่ที่สาขา ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจะได้รับเงินเยียวยาเข้าบัญชีภายใน 7 วันทำการ
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลบริการและผลิตภัณฑ์ของธนาคาร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ Krungthai.com หรือโทร. 02 1111111
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารกรุงไทย
ช่องทางการติดตาม
LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG)
Website : https://www.antifakenewscenter.com/
Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand
#ข่าวปลอม #อย่าแชร์ต่อ #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #มาตรการรัฐบาล #เราไม่ทิ้งกัน #โควิด19 #COVID19

ดูข่าวต้นฉบับ

ดูบทความอื่นๆ จาก สวพ.FM91

หน้าหลัก
สวพ.FM91
ความเห็น 2
  • kamen rider
    สังเกตง่ายๆจุดเดียวพอ ถ้าเข้าได้ ปลอม เข้าไม่ได้ แท้
    28 มี.ค. 2563 เวลา 14.15 น.
  • อุทัย
    ปัญหาเว็มปลอมบ่น่าสิแก้ยาก คือบ่ดัดหลังดัดสันดานซุมหมู่นี่แหน่......
    28 มี.ค. 2563 เวลา 14.21 น.
ดูทั้งหมด