ไอที ธุรกิจ

YouTube อธิบายว่าการลบคอมเมนท์ต่อต้านรัฐบาลจีนนั้นเป็นข้อผิดพลาดของระบบ !?

Thaiware
อัพเดต 28 พ.ค. 2563 เวลา 04.30 น. • เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 04.30 น. • l3uch
ก่อนหน้านี้ได้มีผู้ใช้พบว่า YouTube ได้ทำการแบนคอมเมนท์ที่มีข้อความเชิงลบต่อรัฐบาลจีนออกไปแบบอัตโนมัติ

เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีผู้ใช้ได้ตั้งกระทู้แจ้งปัญหาสำหรับ YouTube (YouTube Help) ว่าทุกครั้งที่เขาโพสต์ข้อความบางอย่างก็จะถูกระบบลบออกไป และหลังจากนั้นก็มีผู้ใช้คนอื่นๆ ทดลองคอมเมนท์บ้าง ก็พบว่าโดนลบออกไปแบบอัตโนมัติเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
YouTube อธิบายว่าการลบคอมเมนท์ต่อต้านรัฐบาลจีนนั้นเป็นข้อผิดพลาดของระบบ !?


ภาพจาก : https://s.newtalk.tw/album/news/408/5ebf9d8ca5d15.jpg

ซึ่งคอมเมนท์ที่ถูกลบออกไปนั้นเป็นข้อความในภาษาจีนว่า “共匪 (Gong Fei)” และ “五毛 (Wumao)” ที่มี ความหมายในเชิงลบต่อ CCP (Chinese Communist Party) หรือพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป็นรัฐบาลของประเทศจีน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับคำว่า 共匪 (Gong Fei) หมายถึง “คอมมิวนิสต์ผู้ชั่วร้าย” ที่เป็นคำด่ารัฐบาลจีนว่าริดรอนสิทธิของประชาชน ส่วนคำว่า 五毛 (Wumao) นั้นแปลเป็นไทยได้ว่า 5 เหมา (หนึ่งในหน่วยเงินของประเทศจีน คิดเป็นเงินไทยได้ราว 2.5 บาท) โดยมีความหมายสื่อถึงการโพสต์ข้อความในเชิงปกป้องและเชิดชูการทำงานของรัฐบาลจีน เพราะผู้ที่โพสต์ข้อความดังกล่าวนี้จะได้รับเงินจากรัฐบาลจีนประมาณ 5 เหมา (0.5 หยวน) ต่อ 1 โพสต์

โดย Jennifer Zeng (曾錚) นักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกันเชื้อสายจีนได้ทวีตวิดีโอที่คอมเมนท์ข้อความว่า “共匪” และลองรีเฟรชหน้าคอมเมนท์ของคลิปนั้นๆ ดู ก็พบว่าคอมเมนท์ถูกลบออกไปภายในระยะเวลา 15 วินาที หลังจากการคอมเมนท์ จึงตั้งข้อสังเกตว่าทาง YouTube อาจทำการเซนเซอร์และแบนคอมเมนท์ข้อความนั้นๆ ออกไปแบบอัตโนมัติ

แต่การลบข้อความของ YouTube จะจัดการลบเฉพาะคอมเมนท์ที่มีคำว่า “共匪” และ “五毛” ที่เป็น ภาษาจีนเพียงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงข้อความที่เป็นพินอินคำอ่าน หรือข้อความที่สื่อถึงความหมายของสองคำนี้ในภาษาอื่นแต่อย่างใด 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ที่น่าแปลกคือทั้ง YouTube และบริการอื่นๆ ของ Google นั้นถูกบล็อคการเข้าถึงในประเทศจีน จึงไม่น่าจะมีเหตุผลอะไรที่ต้องเซนเซอร์ข้อความเหล่านี้ ก็ไม่แน่ว่าคำอธิบายของ Google ที่ออกมาตอบกลับถึงประเด็นนี้ว่ามันน่าจะ “เป็นบั๊กภายในระบบที่ทางบริษัทกำลังจัดการดำเนินการแก้ไขอยู่” นั้นอาจฟังขึ้นก็เป็นได้

ดูข่าวต้นฉบับ