ไลฟ์สไตล์

พยากรณ์อากาศด้วยตัวเอง! 7 ลักษณะก้อนเมฆ บอกความรุนแรงฝนตกฟ้าคะนอง

UndubZapp
เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2563 เวลา 02.00 น. • อันดับแซ่บ
7 ลักษณะก้อนเมฆที่สามารถบอกเหตุฝนฟ้าคะนองได้ ฝนตกหรือฝนไม่ตก ฝนแรง พายุเข้า หรืออากาศจะแปรปรวนแค่ไหน ดูคร่าวๆ ได้จากลักษณะเมฆค่ะ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมนุษย์เราจะสามารถรู้สภาพอากาศได้ง่าย เพียงแค่ใช้นิ้วคลิกดูแอปพยากรณ์อากาศในโทรศัพท์ หรือแค่เปิดเว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจิ้น เราก็จะพบข้อมูลสภาพอากาศทั้งหมดในแต่ละวันแล้ว อย่างไรก็ตาม UndubZapp เชื่อว่าชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยเรื่องไม่คาดฝัน เราทุกคนจึงควรจะใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทและมีสติอยู่เสมอ UndubZapp จึงขอนำข้อมูลความรู้เรื่องวิธีการสังเกตก้อนเมฆบนท้องฟ้าเบื้องต้น หากว่าขณะนี้ก้อนเมฆบนท้องฟ้าดูผิดแปลกไปจากทุกที เราควรปลุกความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวเองขึ้นมา พยากรณ์อากาศด้วยตาเปล่า และลองสังเกตดูว่าเมฆที่เราเห็นอยู่ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนภัยจากฟากฟ้าหรือเปล่า หากว่าภยันตรายใดกำลังจะเกิดขึ้น เราจะได้ไหวตัวทันค่ะ

1. Cumulonimbus Clouds

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมฆคิวมูโลนิมบัส มีลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่ มีความหนาแน่นสูงหนา มีสีดำมืด ฐานเมฆต่ำ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่ง (anvil) ที่ใช้ในการตีเหล็ก ก้อนเมฆชนิดนี้ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รวมไปถึงลูกเห็บ

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. Shelf Clouds

เมฆกันชน หรือ เมฆอาร์คัส จะอยู่บริเวณฐานเมฆ มีน้ำหนักมากกว่าเมฆฝนปกติ แม้ว่าตัวเมฆอาร์คัสจะไม่มีอันตรายโดยตรง แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับเมฆฝนฟ้าคะนอง จึงพบว่ามีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

3. Nimbostratus

เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหนา สีเทา แผ่กว้างขยายออกไปไม่เป็นรูปทรง จนทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆนิมโบสเตรตัสนี้เป็นที่ทำให้ฝนตกอย่างต่อเนื่อง หรือก็คือเมฆฝนนั่นเอง

 

4. Funnel Clouds

เมฆงวงช้าง มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ทอดตัวยาวลงมาในแนวดิ่ง โดยเมฆงวงช้างนี้จะเป็นสภาวะเริ่มต้นของการก่อตัวทอร์นาโด หากว่าเมฆแตะกับพื้นหรือน้ำ ก็จะกลายเป็นทอร์นาโด

 

5. Tornadoes

ทอร์นาโด หรือ พายุลมงวง/พายุงวงช้าง เป็นพายุหมุนขนาดรุนแรงซึ่งเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยหมุนบิดลงมาจากใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ทอดตัวยาวลงมาในแนวดิ่ง ซึ่งเมฆหนึ่งก้อนอาจทำให้เกิดพายุได้หลายวงพร้อมๆ กัน มักเกิดในที่ราบขนาดกว้างใหญ่

 

6. Mammatus Clouds

เมฆแมมมาตุส หรือ เมฆเต้านม มีลักษณะคล้ายเม็ดตะปุ่มตะป่ำห้อยย้อยเต็มท้องฟ้า ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูผิดแผกจากเมฆปกติทั่วไป ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเมฆอันตราย แต่ความจริงแล้วเมฆชนิดนี้เราจะเห็นได้หลังจากพายุฝนฟ้าคะนองหมดไปแล้วต่างหาก

 

7. Undulatus Asperatus Clouds

เมฆชนิดใหม่ที่เพิ่งได้รับการเสนอชื่อไม่นาน มีลักษณะคล้ายกับเกลียวคลื่น แม้ว่าเมฆจะมีรูปทรงแปลกประหลาด แต่เมฆชนิดนี้จะไม่ก่อตัวเป็นพายุ

SOURCE : accuweather

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

แซ่บกันต่อ…

>> ปริศนาเที่ยวบินผวา!! 5 เหตุการณ์เครื่องบินสูญหาย ไร้ข้อสรุป

>> จากไต้ฝุ่น Jebi ย้อนรอย 10 อันดับภัยธรรมชาติญี่ปุ่น รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

ดูข่าวต้นฉบับ