“ตุ๊ด” ห้ามเป็นครู! ‘ตุ๊ด- เกย์- กะเทย- ทอม- ดี้’ ไม่สมควรจะเป็นครูจริงเหรอ?
กลายเป็นข่าวดังประจำสัปดาห์ (และพาหัวร้อนกว่าอากาศ) เมื่อเหตุการณ์ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์’ นำหน้าชื่อ ใช้คำพูดในลักษณะเหยียดเพศ รวมถึงขู่บังคับนิสิตหญิงข้ามเพศห้ามใส่ชุดนิสิตหญิงเข้าชั้นเรียน มิฉะนั้นจะปรับตกในรายวิชาของตัวเอง แม้เธอจะยื่นคำร้องต่อที่ประชุมของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อขออนุญาตแต่งกายตามเพศสภาพของตัวเองแล้วก็ตาม
และด้วยความอาวุโส ที่อาจมี ‘บารมี’ ในคณะมาก่อน ที่ประชุมก็มีคำสั่งยกเลิกคำร้องของนิสิตคนนี้ และบังคับให้เธอกลับมาใส่ชุดนิสิตชายเพื่อเข้าเรียนตามเดิม แม้ด้วยภาพของเธอจะเป็นนิสิตหญิงที่ไว้ผมยาว มองไกล ๆ ก็ไม่มีใครคิดว่าเป็นผู้ชายอย่างแน่นอน
คำพูดเหยียดเพศของอาจารย์วัยเกษียณท่านนี้ อ่านแล้วอาจไม่เชื่อว่าจะออกมาจากปากของคนที่สอนในรายวิชา‘จิตวิทยาสำหรับครู’ ได้ อาทิเช่น “ครุศาสตร์ให้พวกกะเทยมาเรียนก็บุญแล้ว” “พวกตุ๊ดไม่สมควรได้เรียนหนังสือ ไปแก้ไขตัวเองให้ได้ก่อน” “กะเทยไม่ต่างอะไรกับคนบ้า แค่สังคมยอมรับมากกว่า”
และที่ร้ายแรงที่สุด คือประโยคที่บอกว่า “กะเทยเป็นพวกวิปริตผิดเพศ ไม่สมควรจะเป็นครู”
ทั้งที่ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง ก็มีนิสิตที่เป็นกลุ่มคนชอบเพศเดียวกัน หรือที่เราชอบเรียกกันว่า‘ตุ๊ด - เกย์ - กะเทย - ทอม - ดี้’ (ที่เรียกกันในบริบทที่ไม่ใช่คำเหยียดเพศ) ไม่ต่างกับในสังคมไทย และสังคมโลก ที่มีความหลากหลายทางเพศหลายเฉดสีในสังคม
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือทัศนคติของอาจารย์ท่านนี้ และนิสิตบางคนในคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ในสำนักข่าวเจ้าหนึ่ง ที่แม้จะเป็นเพศหลากหลายเหมือนนิสิตที่เป็นเหยื่อความเกลียดชังคนนี้ แต่ก็ยังติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่า การเป็นตุ๊ดกะเทยเป็นเหมือนโรคติดต่อที่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้มาสอนลูกตัวเอง
จริงอยู่ที่ความคิดแบบนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ในสังคมไทย ที่แม้จะมองว่าเปิดกว้างให้กับความหลากหลายทางเพศ แต่การยอมรับในการ ‘เลือก’ ที่จะเป็นเพศไหน ก็ยังติดอยู่กับค่านิยมเก่า ๆ ที่ว่า กลัวจะเป็นแล้วไม่ได้รับการยอมรับ ถูกกีดกัน หรือแม้แต่ประโยคที่ว่า ‘เป็นอะไรก็ได้ ขอให้เป็นคนดี’
แต่นั่นหมายความว่า เราจำเป็นต้อง ยอมรับสภาพกับค่านิยมเหล่านี้หรือ?
ในปี 1990 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า ‘คนที่มีความหลากหลายทางเพศ มีเพศสภาพไม่ใช่ชายหรือหญิงตามกำเนิด ไม่ใช่คนป่วย และไม่ใช่โรคที่ต้องรักษา’
นั่นคือเกือบ 30 ปีที่แล้ว!
การเลือกที่จะเป็นตุ๊ด เกย์ กะเทย ทอม ดี้ (หรืออีกหลายคำที่เรียกกัน) จึงไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันได้เหมือนไข้หวัด หรือโรคที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ไม่ใช่โรคทางจิตที่ต้องได้รับการรักษา แต่เป็น สิ่งที่คนๆนั้นเลือกเองว่าเขาจะเป็นเพศอะไร
คำพูดของอาจารย์วัยเกษียณที่บอกว่า“พวกกะเทยเกย์เนี่ยเป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งรักษาได้จับพวกมันมาดูผู้ชายโป๊ดูหนังเอ็กซ์ชาย-ชายแล้วถ้าอวัยวะเพศของมันแข็งก็เอาไฟฟ้ามาช๊อตๆๆให้มันทรมานเหมือนตายทั้งเป็นให้มันเรียนรู้ว่าเป็นพฤติกรรมต่ำทราม” จึงเป็นคำกล่าวอ้าง ที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง ความเข้าใจผิด และไม่ชะโงกหน้าออกมามองโลกด้วยอคติที่บังตา แม้โลกจะก้าวไปข้างหน้าแค่ไหนก็ตาม
แต่นั่นก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากับทัศนคติของคนที่เป็นเพศหลากหลายเหมือนกัน ที่ยังมองว่าการเป็นแบบที่ตัวเองเป็น อาจเป็นเหมือนโรคติดต่อ ที่กระจายไปสู่เด็กได้ ถ้าพวกเขาจบออกไปเป็นครูที่สอนคน (เรื่องตลกร้ายคือคำพูดนี้ก็ออกมาจากคนที่เรียนครุศาสตร์ด้วยกันเองซะอย่างนั้น)
ถ้าแม้แต่คนที่เรามองว่าเป็นเพื่อนในกลุ่มคนเพศหลากหลายเหมือนกัน ยังมองว่าการเป็นตัวเอง แสดงออกในการเป็นตุ๊ด กะเทย ทอม ดี้ หรือจะเป็นเพศไหนก็ตามที่ไม่ได้ตรงกับความเป็นชายหญิงอย่างที่สังคมมอง เป็นเรื่องที่ไม่สมควรถูกยอมรับ เป็นเรื่องที่ ‘สมควรแล้ว’ หรือ ‘จะให้ทำยังไงล่ะ พ่อแม่เขาก็คงกลัว’ … แล้วการยอมรับจะเกิดขึ้นในวงกว้างได้อย่างไร
คงเหมือนกับประโยคที่ "รูพอล"เจ้าของรายการ "รูพอลส์แดร็กเรซ"พูดเอาไว้ในทุกตอนจบของรายการว่า "ไม่มีใครจะรักเราได้หากเราไม่รักตัวเองเสียก่อน” และการยอมรับเพศหลากหลายในสังคมไทยคงไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ถ้าคนเพศหลากหลายกันเองก็ไม่เคยยอมรับและรักตัวเอง เหมือนอย่างที่อยากให้คนอื่นยอมรับแค่ไหนก็ตาม
ที่มาข้อมูล
Ken เป็นครูที่สอนดี เอาใจใส่การสอน แค่นี้ก็พอใจแล้ว
30 ม.ค. 2562 เวลา 04.11 น.
อ้อย จะเพศใหนก็คนเหมือนกันคะ ขอแค่เป็นคนดี
30 ม.ค. 2562 เวลา 04.42 น.
ทำไมคะมันผิดตรงไหน ครูทุกคนทุกเพศก็รักนักเรียนนะคะ เด็กๆที่ได้ดีมีเยอะแยะ แบ่งเเยกเพื่อ
30 ม.ค. 2562 เวลา 04.18 น.
@®ππ ความคิดล้าหลังสมองแม่งพัฒนาได้แค่นี้ไม่น่าได้เป็นผู้ช่วยส้นตึกไรนี่หรอก
30 ม.ค. 2562 เวลา 04.43 น.
Tu789 ต้องบอกอีตุ๊ดกอบศักดิ์ ด้วยห้ามเป็น รมต.
30 ม.ค. 2562 เวลา 04.46 น.
ดูทั้งหมด