แฟชั่น บิวตี้

ไฮโซใจบุญ กับมูลนิธิประจำตระกูล เพื่อตัวเองหรือเพื่อสังคม!?

Manager Online
เผยแพร่ 06 ก.ค. 2563 เวลา 00.07 น. • MGR Online

แม้ต่างจะพากันคาบช้อนเงินช้อนทองออกมาจากท้อง แต่บรรดาเซเลบทั้งหลายที่ล้วนมีพร้อมทั้งคุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ก็ไม่ลืมที่จะแบ่งปันความโชคดี ความมั่งมี สานต่อความตั้งใจของบรรพบุรุษ ส่งมอบความสุขให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ผ่านทางมูลนิธิประจำตระกูล ที่บรรพบุรุษแต่ละบ้านแต่ละครอบครัวต่างก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ไปจนถึงเพื่อนร่วมโลก หรือจะเพียงเพื่อสร้างเกียรติคุณให้กับตนเอง บรรพบุรุษและวงศ์ตระกูล

แต่ไม่ว่าจุดริเริ่มจะมีแรงบันดาลใจต่างกัน แต่ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือการมุ่งหมายทำเพื่อสังคมและยกระดับความเป็นอยู่ในชีวิตผู้คนให้ได้อยู่ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น ลองมาดูกันสิว่า บ้านไหนตระกูลไหนดูแลมูลนิธิอะไรกันอยู่บ้าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับตระกูลแรกที่ไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ กับตำนานเจ้าสัวใหญ่ของเมืองไทยตระกูล “เตชะไพบูลย์” ที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสำคัญที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง “ป๋อเต็กตึ๊ง” องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่ช่วยบรรเทาสาธารณภัย ที่ดำเนินการมากว่า 100 ปีแล้ว รวมไปถึงการริเริ่มโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ซึ่งถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นมาจากการร่วมมือกันของนักธุรกิจโพ้นทะเลนับสิบคน แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ เป็นฟันเฟื่องสำคัญที่ทำให้มูลนิธิป่อเต็กตึ้งเติบโตมาได้จนทุกวันนี้ และปัจจุบันนี้ทายาทของตระกูลเตชะไพบูลย์ก็ยังคงนั่นแท่นเป็นประธานกรรมการของมูลนิธิ ทั้งคุณวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิ และ คุณจิตรามณฑน์ เตชะไพบูลย์ประธานกรรมการอาสาสมัครกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิฯ

ซึ่งบางคนอาจจะรู้จักป๋อเต็กตึ้งในด้านการกู้ภัย เก็บศพ แต่ที่จริงแล้วมูลนิธินี้ยังมีบทบาทมากมายยิ่งกว่านั้น ทั้งการช่วยบรรเทาสาธารณภัยเวลาเกิดแหตุฉุกเฉิน ทั้งมีหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชนลงพื้นที่ช่วยดูแลสุขอนามัยในท้องที่ต่างๆ การช่วยเลี้ยงดูผู้ยากไร้ ไปจนถึงการมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของสมาชิกสมาคมต่างๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถัดมาเป็นอีกหนึ่งมูลนิธิที่เน้นทางด้านสาธารณสุขเป็นหลักอย่าง มูลนิธิแสง-ไซ้กี เหตระกูล ของเหล่าผู้บริหารหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่างเดลินิวส์ โดยทางมูลนิธิได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจบริการประชาชนในพื้นที่ชนบท หรือห่างไกลความเจริญ โดยทายาทรุ่นปัจจุบันของตระกูลนี้อย่าง ปิ่น-สุวดี พึ่งบุญพระ แห่งพีพี กรุ๊ป ก็ได้เข้าไปช่วยงานของมูลนิธิ และเคยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า ถึงแม้เธอจะไม่ได้มีความรู้ทางด้านแพทย์ แต่ก็ได้เข้าร่วมกับทริปของทีมแพทย์เคลื่อนที่ไปรักษาประชาชนในชนบทเป็นประจำทุก 3 เดือน ตระเวนไปทั่วประเทศ เผื่อช่วยงานในด้านอื่นๆ อย่างเช่นช่วยจัดคิว อำนวยความสะดวกให้ผู้มารับบริการ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และแม้จะมีงานยุ่งขนาดไหนก็พยายามหาเวลาไปช่วยงานมูลนิธิให้ได้ เพราะเธออยากช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากและด้อยโอกาสกว่า และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายบางส่วนให้เต็มขึ้นมา โดยเฉพาะ เรื่องสุขภาพ เพราะถ้าคนเรามีสุขภาพที่ดีแข็งแรงก็จะมีพลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ต่อไป

นอกจากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว ยังมีเซเลบที่เผื่อแผ่ความใจดีไปถึงเพื่อนร่วมโลก อย่างบ้านปังศรีวงศ์ แห่งเครือเกษมจิก ที่ริเริ่มจัดตั้งสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย ช่วยดูแลสัตว์ เพราะต้องการให้ความสำคัญต่อเรื่องคุณภาพสัตว์ และการทารุณกรรมสัตว์ ทั้งนี้ในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรหรือสมาคมที่เข้ามาดูแลเกี่ยวกับสัตว์อย่างจริงจัง ดังนั้นเขาจึงร่วมกลุ่มกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์จัดตั้งสมาคมนี้ขึ้นเพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้กับเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่ไม่สามารถเอ่ยปากเรียกร้องเองได้

แถมยังได้ก่อตั้งมูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เป็นเกียรติแก่บรรพบุรุษซึ่งเป็นเภสัชกรไทยท่านแรกที่จบปริญญาโทเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขับเคลื่อนเภสัชอุตสาหกรรมให้เกิดโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันขึ้นในประเทศไทย โดยมูลนิธิที่ตั้งขึ้นนี้เพื่อช่วยสร้างวัฒนธรรมวิชาชีพ เภสัชกรรมให้เข้มแข็ง สามัคคี และผลักดันให้เป็นกำลังสำคัญของสังคม ทั้งการสนับสนุนกพัฒนาการศึกษาและอาชีพแก่เภสัชกรทุกสาขา รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดีและมีความประพฤติดี พร้อมให้เงินทุนในการวิจัยและพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์

ฝากตระกูลพรประภาก็ไม่น้อยหน้า มีมูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรประภา ที่ตั้งชื่อตามต้นตระกูล คือ คุณพ่อไต้ล้ง และ คุณแม่เช็ง บรรพบุรษชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาเมืองไทย เป็นบิดา-มารดาของคุณถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้งสยามกลการ ปัจจุบันนี้มีรุ่นหลานคือคุณปรีชา พรประภา นั่งเป็นประธานมูลนิธิ

โดยมูลนิธิก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคม ได้ดำเนินการมานานหลายสิบปี ทั้งทำการกุศล บริจาคช่วยเหลือยามเกิดสาธารณภัย อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการสนับสนุนเงินทุนสร้างโรงเรียนระดับชั้นประถมที่แหลมฉบัง และล่าสุด ครอบครัว “พรประภา” โดยมูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรประภา และบริษัท สยามกลการ จำกัด “ให้” การสนับสนุนเงินจำนวนกว่า 28 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลถึง 8 แห่ง เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งบรรดารุ่นเหลนต่างก็ได้จับมือร่วมกันสร้างวันปันสุขของสยามกลการ จัดมอบเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวน 1,550 ชุด มูลค่า 1 ล้านบาท ให้กับคนในชุมชนบ่อนไก่เพื่อช่วยบรรเทาภาวะวิกฤตโควิด-19 อีกด้วย

ข้ามมาทางตระกูลแห่งยักษ์ใหญ่ของตลาดค้าปลีกอย่าง “จิราธิวัฒน์” ก็มีมูลนิธิเตียง จิราธิวัฒน์ ที่ก่อตั้งมากว่า 35 ปีแล้ว โดยคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บิดา คุณเตียง จิราธิวัฒน์ ผู้บุกเบิกธุรกิจขายปลีกภายใต้ชื่อ “ห้างเซ็นทรัล” และเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ของมูลนิธิครอบคลุมหลากหลายการพัฒนาของสังคม ทั้งช่วยเหลือให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในชุมชนที่ยากจน ส่งเสริมการสาธารณสุขให้เด็กและเยาวชนมีพลานามัยสมบูรณ์ ส่งเสริมศาสนาและศีลธรรมอันดีของประชาชน ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัย พร้อมร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ และราชการ เพื่อสาธารณประโยชน์ ผ่านการจัดทำหลากหลายโครงการในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

อีกหนึ่งตระกูลที่ร่วมสานต่อแนวทางของบรรพบุรุษในการช่วยเหลือสังคมอย่าง ตระกูล “โชควัฒนา” ที่ก่อตั้งมูลนิธิดร.เทียม โชควัฒนา ขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2529 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และส่งเสริมการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนและการศึกษาของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นห่างไกล ตามเจตนารมย์ของต้นตระกูลที่เนื่องด้วยความด้อยโอกาสในการศึกษาที่ประสบในช่วงชีวิตวัยเยาว์ ท่านจึงมีความตั้งใจว่าเมื่อไรที่ประสบความสำเร็จในชีวิตท่านจะต้องช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆ ที่ด้อยโอกาสเช่นท่าน

ซึ่งปัจจุบันมูลนิธิก็ได้ดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงเรียน มอบทุนการศึกษา และสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในชนบท การบริจาคเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสาธารณกุศล ผู้ยากไร้และผู้ประสบสาธารณภัย ตลอดจนกิจกรรมที่สร้างประโยชน์สุขแก่ สังคมส่วนรวม และล่าสุด คุณศิรินา ปวโรฬารวิทยา (โชควัฒนา) รองประธานมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา ก็ได้มอบชุด PPE จำนวน 1,000 ชุด ให้แก่กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) ในการช่วยเหลือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์นี้ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสร้ายโควิด 19

แม้บางทีอาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ติฉินนินทาว่าเซเลบตระกูลดังเหล่านี้ทำเอาหน้าบ้าง สร้างภาพบ้าง แต่เพียงแค่ลงมือ ไม่ทำร้ายสังคมและช่วยพัฒนาให้คุณภาพชีวิตเพื่อนร่วมโลกเราได้เป็นอยู่อย่างดีขึ้น ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยใช่ไหมละ

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • €¥£
    ทำดีทั้งนั้น ขออนุโมทนา การเปิดกองทุน หรืออะไรเป็นการกุศล มันง่ายสำหรับนำเงินเหลือจากงานต่างๆ ไปใส่ไว้ให้ออกดอกผล ต่อยอดใบบุญออกไป ที่บ้าน เปิดบัญชีกับบ้านเด็กพิการซ้ำซ้อน โดยเงินก้อนแรกมาจากงานศพญาติผู้ใหญ่ ที่เหลือจากการร่วมทำบุญ ปีต่อๆมาก็ยังทำ บอกแขกว่างดของช่วย ก็จะได้เป็นเงินไปสมทบ ต่อมาก็งานวันเกิดคนในครอบครัว งานแต่ง งานฉลองอายุ งานทำบุญต่างๆ ก็ตามเดิมก็ของดของขวัญ เปลี่ยนเป็นร่วมทำบุญตามศรัทธา ทุกๆปีก็จะสะสมมากขึ้นๆ ไม่ต้องมานั่งคิดด้วย จะเอาเงินไปบริจาคที่ไหน โปะไปที่เดียว สบายใจ
    06 ก.ค. 2563 เวลา 14.48 น.
ดูทั้งหมด