ทั่วไป

แจงแล้ว ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ "HKU5" ในค้างคาว คล้ายโควิด-19

TNews
อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

วันนี้ (22 กุมภาพันธ์ 2568) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย กรณีพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ HKU5 ในค้างคาว ที่มีรายงานข่าวว่าสามารถเกาะกับตัวรับในเซลล์ของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ดีเหมือนโควิด-19 นั้น เป็นเพียงข้อมูลรายงานการวิจัยของห้องแล็บจีน เมื่อปี 2566 ยังไม่พบว่ามีการแพร่ระบาดหรือติดเชื้อสู่คน ย้ำไทยมีระบบเฝ้าระวังการระบาดเข้มแข็งและติดตามการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง ชี้มาตรการสวมหน้ากาก ล้างมือ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ช่วยป้องกันไวรัสได้ทุกสายพันธุ์

แจงแล้ว ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ HKU5 ในค้างคาว คล้ายโควิด-19
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
แจงแล้ว ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ HKU5 ในค้างคาว คล้ายโควิด-19

วันนี้ (22 กุมภาพันธ์ 2568) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงเกี่ยวกับข่าวการค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในค้างคาวจากทีมนักวิจัยชาวจีน ซึ่งมีความสามารถในการติดต่อไปยังมนุษย์ได้คล้ายกับไวรัสโควิด-19 ว่า ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการวิจัยในห้องแล็บที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยเป็นการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สายพันธุ์ HKU5-CoV-2 ที่ค้นพบนี้ เป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมในไวรัสสกุล Merbecovirus ซึ่งไม่ถือว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือไวรัสกลายพันธุ์ แต่เป็นไวรัสในตระกูลโคโรน่าไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ย่อย โดยนักวิจัยค้นพบว่ามีลักษณะการจับคู่ระหว่าง HKU5-CoV-2 กับ ACE2 ของมนุษย์ที่แตกต่างจากเมอร์เบโคไวรัสอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดข้อสันนิษฐานในทางการวิจัยว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการติดต่อจากสัตว์ไปสู่คนและอาจส่งผลให้เกิดการระบาด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการแพร่ระบาดหรือข้อมูลทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ HKU5-CoV-2 ในคนแต่อย่างไร ประชาชนจึงไม่ต้องวิตกกังวลในขณะนี้ สำหรับประเทศไทย ได้มีระบบเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง รวมถึงความร่วมมือของกรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคอย่างต่อเนื่อง และมีความรวดเร็วในการตอบสนองต่อสถานการณ์ ขณะนี้ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในประเทศไทยยังคงเป็นสายพันธุ์โอมิครอน JN.1*

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
แจงแล้ว ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ HKU5 ในค้างคาว คล้ายโควิด-19

"แม้จะยังไม่พบการระบาดของสายพันธุ์ HKU5-CoV-2 แต่มาตรการป้องกันจะไม่แตกต่างจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 หรือ RSV คือ หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด หากจำเป็นต้องไปให้สวมหน้ากากอนามัย หรือสวมเมื่อป่วยมีอาการระบบทางเดินหายใจเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ล้างมือเป็นประจำ โดยบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีอาการรุนแรงสามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคได้ ทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนโควิด 19" นพ.โอภาสกล่าว

นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า การค้นหาเชื้อไวรัสใหม่ในค้างคาว เช่นที่จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินการ เป็นการวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อม เนื่องจากไวรัสโคโรนามีหลายสายพันธุ์และมีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ เมื่อค้นพบไวรัสแล้วจะมีการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ เพื่อต่อยอดไปถึงการพัฒนาวัคซีน ซึ่งความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสจากค้างคาวมาสู่คนโดยตรงยังอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง เนื่องจากโดยปกติเชื้อที่พบในค้างคาวมีปริมาณน้อย โอกาสที่คนจะไปสัมผัสกับค้างคาวก็ต่ำมาก และการติดต่อสู่คนมักต้องมีสัตว์ตัวกลางอื่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • somsant
    เชื้อมันอยู่ในค้างคาวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว มนุษย์นี่แหละที่ไปเอามันมาวิจัยแล้วก็ปล่อยให้มันหลุดออกมาจากห้องแลป ไม่รู้ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จนเกิดการระบาด
    22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • KOI
    มาเม่งให้หมดเลย ล้างโลกไปซะที
    22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • ดาวลูกไก่
    พอเถอะ.หมอ
    22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • Khanchai🐻🦧🐓
    พยายามหาเชื้อโรคน่าดู
    21 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • Rakpant Hanprasert
    ถ้าระบาดแล้วจะแจ้งให้ทราบ การเฝ้าระวังไม่ต้องสนใจเพราะไม่มีประโยชน์เหมือนเดิม
    5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ดูทั้งหมด