สำรวจอาณาจักรธุรกิจ "ปูนซิเมนต์ไทย" ใหญ่แค่ไหน? กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสร้างการเติบโตแค่ไหน
เมื่อพูดถึงกลุ่มทุนธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย เชื่อเลยว่าหนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ "ปูนซิเมนต์ไทย" ทั้งในแง่ของความเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 100 ปี มูลค่ากิจการที่รวมกันมากกว่า 5 แสนล้าน ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งและมั่นคงเป็นอย่างมาก
จุดเริ่มต้นของปูนซิเมนต์ไทย หรือที่เราเรียกกันว่า "เอสซีจี" เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 ต้องการให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศ จึงได้ก่อตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของเอสซีจีขึ้นมา เพื่อใช้ในการพัฒนานโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่กำลังเติบโต โดยแห่งแรกอยู่บริเวณย่านบางซื่อ หรือที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของปูนซิเมนต์ไทยในปัจจุบัน ต่อมาจึงได้เพิ่มกำลังการผลิตและขยายโรงงานไปอีกหลายที่ รวมถึงรุกเข้าสู่ธุรกิจอื่น สร้างการเติบโตให้บริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอาณาจักรปูนซิเมนต์ไทย นั้นมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นด้วยกัน ดังนี้
1. หุ้น SCC หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 385,200 ล้านบาท
เป็นบริษัทแม่แกนหลัก Holding company ที่ลงทุนถือหุ้นในบริษัทอื่น เช่น ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง เป็นต้น
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 385,200 ล้านบาท
2. หุ้น SCGP หรือ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 200,690 ล้านบาท
เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร แบ่งเป็นสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) และสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain)
3. หุ้น GLOBAL หรือ บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 90,272 ล้านบาท
ศูนย์จำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่ง บ้านและสวนแบบควบวงจร โดยปัจจุบัน บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด เข้าไปถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 32.27%
4. หุ้น Q-CON หรือ บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 6,600 ล้านบาท
ผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตมวลเบาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น บล็อค (Block) ขนาดต่างๆ คานทับหลังสำเร็จรูป แผ่นผนัง (Wall Panel) แผ่นพื้น (Floor Panel) และแผ่นบันได (Stair) โดยเป็นบริษัทที่ spin off มาจาก LH แต่ปัจจุบันถูก บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 61.01%
5. หุ้น SJWD หรือ บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 35,858 ล้านบาท
เป็นการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด และบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD) สองผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนชั้นนำระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเพิ่งประกาศดีลรวมกิจการสำเร็จเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
6. หุ้น COTTO หรือ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 13,117 ล้านบาท
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกปูพื้นบุผนัง และสุขภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี ล่าสุดบอร์ดปูนซิเมนต์ไทย ได้มีมติอนุมัติแผนปรับโครงสร้างธุรกิจผลิตกระเบื้อง–สุขภัณฑ์ โดยเตรียมนำ COTTO ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และส่ง "เอสซีจี เดคคอร์" ออกเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน พร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ COTTO
ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้น COTTO ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SCG Decor (การแลกหุ้น หรือ Share Swap) โดยจะไม่มีการชำระค่าตอบแทนในรูปแบบของตัวเงิน (No Cash Alternative) โดยที่ SCG Decor เตรียมตั้งโต๊ะแลกหุ้นในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น
ถือว่าเป็นมูฟเมนต์ที่น่าสนใจทีเดียว สำหรับกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย เพราะมีดีลใหญ่เกิดขึ้นติดต่อกัน ไล่มาตั้งแต่การควบรวมกับ JWD แผนปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจผลิตกระเบื้องและสุขภัณฑ์ รวมไปถึงอีกหนึ่งหุ้น IPO ที่รอต่อคิวอยู่อย่าง SCGC หรือ เอสซีจี เคมิคอลส์ ผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและเคมิคอลส์แบบครบวงจร ที่มีแผนจะจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นในเร็ววันนี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม