ไลฟ์สไตล์

เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

คมชัดลึกออนไลน์
อัพเดต 18 ต.ค. 2562 เวลา 20.00 น. • เผยแพร่ 18 ต.ค. 2562 เวลา 20.00 น.

เพราะการเลี้ยงเด็กในปัจจุบันไม่ง่าย ไม่เพียงเด็กดื้อ เด็กเกเร สมาธิสั้น ยังมีทั้งเด็กขี้กลัว อ่อนแอ ขาดความมั่นใจ ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหาที่พ่อแม่ต้องพบเจอและตีโจทย์ให้แตกเพื่อให้เข้าใจในบุตรหลานของตัวเอง และช่วยปรับพฤติกรรมให้ลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถรับมือกับสิ่งเร้าหรือภาวะที่ยากลำบากเมื่อต้องเจอะเจอในวันข้างหน้าได้เป็นอย่างดี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์

พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม รพ.สมิติเวช และรพ.บีเอ็นเอช และผู้อำนวยการ รพ.เด็กสมิติเวช บอกว่า ยุคนี้เด็กเกิดมาไม่เคยต้องรอ อยากกินอะไรสามารถสั่งซื้อมาได้เลย ถูกปลูกฝังมาตลอด เคยชินกับการไม่ต้องคอย ไม่อดทน ไม่ต้องรอ แต่ชีวิตไม่ได้มีแต่สีชมพู ข้างนอกมีสีอื่นด้วย มีการแข่งขัน ถ้าเจอเพื่อนล้อจะยืนหยัดได้ไหม เมื่อก่อนจะมีแต่ ไอคิว อีคิว แต่ปัจจุบันมี อาร์คิว จะทำอย่างไรให้เขายืนหยัดและยืดหยุ่นได้

"เด็กในกรุงเทพฯ มีความอดทนน้อยกว่าเด็กชนบทถึง 2 เท่า เพราะสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมเมือง การเลี้ยงดูที่สุขสบาย พ่อแม่ปกป้องลูกมากเกินไป มีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น เร็วขึ้น ทำให้เด็กไม่ต้องทนรออะไร อยากพูดอยากแสดงออกก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดถึงผลกระทบต่อคนอื่น การแก้ปัญหานี้แต่ต้นมือจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยต้องเร่งพัฒนา "อาร์คิว" (Resilience Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์ที่จะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวในสภาวะที่ยากลำบาก เป็นเรื่องสำคัญสำหรับยุคนี้" ผู้เชี่ยวชาญแนะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

ด้านนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการ สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ บอกว่า พ่อแม่ปัจจุบันไม่ได้รับการศึกษาให้ดูแลลูก เราเลี้ยงลูกตามที่เคยเลี้ยง เลี้ยงลูกตามตำราตามโซเชียลบอก ซึ่งตัวเองมองว่า เด็กมีความเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบในยุคนี้แล้ว แต่เด็กต้องเติบโตมาด้วยคุณภาพทางอารมณ์ด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"นิหน่า" สุฐิตา

จากคุณหมอมาฟังประสบการณ์ของดาราสาวคุณแม่ลูกสอง"นิหน่า" สุฐิตา ปัญญายงค์ เล่าว่า เมื่อครั้งที่ลูกยังเล็กทุกครั้งที่ลูกร้องไห้จะกังวลใจเพราะไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากอะไร ต้องเปิดแอพพลิเคชั่นเทียบเสียงร้องแปลความต้องการของลูก ตอนนั้นรู้สึกสิ้นหวังมาก สุดท้ายก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปกับลูก ภายหลังเมื่อได้รู้จักพูดคุยกับหมอ เมื่อกังวลใจกับพฤติกรรมของลูกจะปรึกษาคุณหมอตลอดกระทั่งเพื่อนๆ มองว่าเป็นคนติดหมอ การที่มี สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ น่าจะเป็นสิ่งดีกับพ่อแม่ เมื่อสงสัยสิ่งใดสามารถขอความเห็นจากคุณหมอได้

ทั้งนี้ สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ จะเปิดโปรแกรมสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองเพื่อการรักษาเด็กสมาธิสั้น และเด็กดื้อ อายุระหว่าง 2-12 ปี พ่อแม่และผู้ปกครองจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องโรคสมาธิสั้น และพฤติกรรมดื้อต่อต้าน อย่างครบวงจร อาทิ ฝึกสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับลูก ฝึกการออกคำสั่งแบบมีประสิทธิภาพ ฝึกทักษะการปรับพฤติกรรม การเลือกโรงเรียน การรักษาโรคสมาธิสั้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2378-9125

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • อภิชาติ
    เด็กสมัยใหม่เลี้ยงยาก..ควรแก้ที่พ่อแม่นั่นแหละ
    19 ต.ค. 2562 เวลา 00.05 น.
  • chaiyasit
    จะเข้าทำนองพ่อแม่ทำร้ายฉันน่ะ ทำให้ทุกอย่างเพื่อตัดความรำคาญ เร่งเวลาทำเวลากับการทำงาน เด็กเลยทำไม่เป็นซักอย่าง แม่ทำให้หมด เช้ามาก็เข้าหน้าจอ ก้มหน้าไปกินไป ขึ้นรถไป ร.ร.ก็ตามตารางของ ร.ร. ไม่มีกิจกรรมนอกห้องให้ได้ออกกำลัง ฝึกทักษะชีวิต ต่อไปก็หัวโต ตัวลีบ พึ่งแต่เทคโน เอไอเท่านั้นล่ะ
    19 ต.ค. 2562 เวลา 08.55 น.
ดูทั้งหมด