ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ระบบการเงินเปลี่ยนเร็ว อนาคตแบงก์อาจ”ไม่ใช่แบงก์”

Money2Know
เผยแพร่ 25 ก.ย 2561 เวลา 12.24 น. • money2know - เงินทองต้องรู้

ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ทิศทางระบบการเงินไทยในอนาคต จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว มองธนาคารพาณิชย์อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบให้มีต้นทุนต่ำลง พร้อมแนะผู้กำกับดูแลวางนโยบายให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ไม่ติดตำรา

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาประจำปี หรือ BOT Symposium 2018 ในคอนเซป สู่ยุคใหม่ของระบบการเงินและธนาคารกลาง ปิดท้ายด้วยวงเสวนา "The Future of Money, Finance and Central Banking” รวมผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ร่วมพูดคุยถึงทิศทางของระบบการเงินของไทยในอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
นายบรรยง พงษ์พานิช

ความสำคัญของตลาดเงิน

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สังเกตและตั้งคำถามว่า ปัจจุบันตลาดการเงินทำหน้าที่ เป็นต้นทุนหรือภาระต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. หน้าที่ในการเพย์เม้นต์ ที่ทำให้เกิดทุกเรื่องขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ระบบเพย์เม้นต์ของไทย เดิมมีต้นทุนสูงมาก เมื่อมีอีเพย์ลดต้นทุนได้มหาศาล สะท้อนว่าไทยก้าวหน้าตามลำดับ ธนาคารใหญ่ ๆ กระโดดมาดิสรัปท์ฟินเทค โดยการฟรีค่าธรรมเนียม จากเดิม 12 บาท 

2. Resource allocation ระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ มีทรัพยากรเป็นหัวใจ ตลาดการเงินที่ดี ต้องการจัดสรรทรัพยากรรวบรวมทรัพยากรให้กับระบบเศรษฐกิจได้พอเพียง เอาทรัพยากรมาจากแหล่งที่ถูกต้อง จัดสรรต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนตัวกลาง ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ 

เมื่อรวบรวมมาได้จะต้องมีกระบวนการจัดสรรทรัพยากร ให้ผู้รับนำไปประกอบกิจการ ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นอำนวยสินเชื่อ กระบวนการในตลาดทุน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ที่สำคัญต้องการ Re-Resource allocation คือการกลับมาของทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพากรที่นำไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์

3. ช่วยกระจายความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ บริหารความเสี่ยง ตลอดประกันความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ใช้งานไปแล้วเกิดประโยชน์ 

4. กระจายความมั่งคั่ง กระจายโอกาส ให้ระบบเศรษฐกิจ มีกระตุ้นและมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพของระบบ ไม่กระจายไปให้ช่องทางเกื้อหนุนคอรับชั่น ที่ทำลายเศรษฐกิจ

แบงก์ชาติต้องประสานความร่วมมือมากขึ้น 

ขนาดของตลาดการเงินของไทย ปี 2000 ขนาด 8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 2% ของจีดีพีในเวลานี้ พัฒนามาในปี 2007 เพิ่มเป็น 220% ของจีดีพี ประมาณ 20 ล้านล้านบาท

ในปัจจุบันเมื่อกลางปี พบว่าตลาดการเงินรวมทุกตราสาร 48 ล้านล้านบาท คิดเป็น 300% ของจีดีพีปัจจุบัน หากมองในแง่ของการขยายตัวของขนาดนับว่าตลาดการเงินไทยประสบความสำเร็จ โดยขึ้นมาเท่ากับอัตราเฉลี่ยของโลก ไม่รวมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

จุดน่าสังเกต เมื่อมองในรายละเอียดพบว่า แบงก์เครดิตเติบโตน้อยสุดในตลาดการเงิน 11 ล้านล้านบาท ส่วนที่โตสุดคือสถาบันการเงินของรัฐโตจาก 8 แสนล้าน ขึ้นมาเป็น 4.1 ล้านล้านเครดิต

จากสถิติข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ธปท. นั้นไม่สามารถควบคุมตลาดทั้งหมดได้ ยังไม่รับรวมทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่า 30 ล้านล้านที่อยู่ในรูปของตลาดทุน ควบคุมได้แค่ทรัพย์สินธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้หน้าที่ในการกำกับดูแล จะต้องมีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต., คปภ. ต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

"การก้าวไปข้างหน้า อย่าลืมองค์ประกอบสำคัญของการเงิน และการเพิ่มประสิทธิภาพในฟังก์ชั่นต่าง ๆ เป็นเป้าหมายสำคัญ" นายบรรยง กล่าว

นายปรีดี ดาวฉาย

อนาคตธนาคาร อาจไม่ใช่ธนาคาร

นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เฉพาะ

ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์เอง มีการรุกระบบเพย์เม้นต์โดยเร็ว ตามวิวัฒนาการในการแข่งขัน ราคาเปลี่ยนไป เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ในขณะที่แง่ของต้นทุน แบงก์ถือเป็นอุตสากรรมที่ให้ผลตอบแทนไม่มากเท่าอุตสาหกรรมอื่น

ธนาคารพาณิชย์ ต่างตระหนักว่า หากทุกภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการเงิน ความรู้ทางการเงิน ของเด็กๆ และประชาชนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการเงินมีความรู้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จะช่วยสร้างรากฐานความแข็งแกร่งในระบบทำให้ต้นทุนถูกลดลงได้ในทางอ้อม

ในขณะที่ปัจจุบัน แม้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นในแทบทุกมิติ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องทำหน้าที่เดิมคือการรับฝากเงิน ไปปล่อยกู้ กระจายทรัพยากร เพย์เมนต์ การซื้อขาย 

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือการสร้างรายได้ให้กับธนาคารพาณิชย์ แต่ในภาวะปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ถูกฉีกออกไปในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟินเทค, non-bank หรือผู้ประกอบการ

เมื่อผู้เล่นใหม่ ๆ ต่างพยายามสร้างแพลทฟอร์ม เก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อทำการปล่อยสินเชื่อโดยตรง ทำให้หน้าที่ที่สร้างรายได้ให้กับธนาคารพาณิชย์ถูกแย่งไป โดยไม่มีอำนาจต่อรอง ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับตัว ให้ต้นทุนลดลง กระบวนการต่าง ๆ ให้สั้นและราคาถูก เมื่อเทียบกับผู้เล่นหน้าใหม่ให้ได้

“ในอนาคต ธนาคารพาณิชย์ต้องหาทางอยู่รอด อาจจะถูกเปลี่ยนชื่อไปจากการเป็นธนาคาร อยู่ในลักษณะใหม่ แต่ระบบต่าง ๆ จะยังคงดำเนินไปต่อ เพียงแต่ไม่รู้ในอนาคตไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนทำ”

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

ธนาคารสร้างต้องสร้างความเชื่อมั่น และเปลี่ยนมายเซ็ตในการกำกับดูแล

ด้านนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ที่ปรึกษาบริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด กล่าวว่า บทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ระบบการเงินของไทยมีการเตรียมความพร้อม มีความแข็งแรง ทำให้ยังมีความอุ่นใจเรื่องแบงก์ และระบบการเงิน

โดยมองว่า หาปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น คงมีลักษณะที่แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา แต่อาจจะมาจากสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และโตเร็ว เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนรวมที่ปัจจุบันมีขนาดมูลค่าใหญ่ 

ปัจจุบันที่มีผู้เล่นใหม่เข้ามามากและมีน้ำหนักที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่การกำกับดูแลไม่ได้อยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ประกอบกับความเชื่อมั่นในธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเศรษฐศาสตร์ลดลงจากในอดีต ซึ่งเป็นความท้าทายในงานของธนาคารกลางทุกประเทศที่ต้องรักษาความเชื่อมั่นไว้ให้ได้

เพราะหากประชาชนเชื่อมั่นในสถาบันเหล่านี้ลดลง หรือเกิดความไม่ไว้วางใจเงินสกุลเดิม ทำให้หันไปใช้หรือเกิดความเชื่อมั่นในหลักทรัพย์ใหม่ ๆ  คริปโตเคอร์เรนซี มากขึ้น ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการกำกับดูแลที่มีอยู่เหมาะกับบริบทที่เกิดขึ้นมาใหม่แล้วหรือไม่

ทั้งนี้ ส่วนตัว นายเศรษฐพุฒิเอง ยังมองว่า เงินบาท ยังคงมีบทบาทต่อไป แต่ในด้านการกำกับดูแลควรปล่อยให้กลไกตลาดที่ควรจะเป็น โดยสิ่งที่จะเห็นในอนาคตคือความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและระบบการเงิน 

นอกจากนี้ ยังคาดว่าในอนาคตนโยบายการเงิน ที่เน้นเรื่อง Inflation target อย่างในปัจจุบัน จะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอื่นในอีก 10-20 ปี 

"ถ้าโลกมันเปลี่ยนการใช้ประสบการณ์อาจนำสู่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม เจอสไตล์ผู้ใหญ่นั่งหัวโต๊ะ ไม่มีการพูดคุย ทุกวันรูปแบบนี้ไม่หมด ต้องเปลี่ยนมายเซ็ต พาราไดร์ของระบบเศรษฐกิจ เพราะเราถูกล้างสมองจากหนังสือเรียน คิดเศรษฐกิจเหมือนเป็นเครื่องจักร แต่คิดว่าเศรษฐกิจไม่เป็นอย่างนั้น พยายามไปจูนเยอะเกินอาจมีผลข้างเคียงในด้านไม่ดีที่อาจคาดไม่ถึง" เศรษฐพุฒิ กล่าว

ด้านนายบรรยง กล่าวเสริมว่า“จะชอบหรือไม่ชอบแต่ก็ต้องเผชิญ แม้ยากที่จะวางแผนรับความไม่แน่นนอน มองกลับมาแล้วทำตัวให้พร้อมที่จะเผชิญ พอเรากลัวความเปลี่ยนแปลง ทำให้เราป้องตัวและสร้างกรอบ ในที่สุดกรอบอาจกลายเป็นกะลา” 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • maelek
    ทำเป็นแต่จำนองกินดอก พอมีคู่แข่งพาลจะกลับบ้านเอาดื้อๆ
    26 ก.ย 2561 เวลา 12.10 น.
  • jeerada
    สถาบันการเงินของรัฐเติบโตเพราะ เห็นความสำคัญของลูกค้ารายย่อย ให้โอกาสในการขอสินเชื่อมากกว่าแบงค์พาณิชย์ พูดง่ายๆเห็นใจคนจนแต่แบงค์เอกชนเหยียดคนจน มันเจ๊งไปก้อดีเหลือแต่แบงค์รัฐยังพอคุยกันได้บ้าง
    26 ก.ย 2561 เวลา 07.47 น.
  • phai 2653
    กินดอกเบี้ยเงินกู้ตรูไปเยอะแล้ว​
    26 ก.ย 2561 เวลา 02.20 น.
  • ประธาน
    ฝากถอนกระทบ แต่สินเชื่อยังไม่กระทบยังต้องมารอคิวขอสินเชื่ออยู่ ยังไม่มี App อนุมัติสินเชื่อครับ
    26 ก.ย 2561 เวลา 01.33 น.
  • PUnakhonbelieve
    กรอบกลายเป็นกะลา
    26 ก.ย 2561 เวลา 00.33 น.
ดูทั้งหมด