ไอที ธุรกิจ

ย้ำคนงานก่อสร้างไม่เข้าเกณฑ์ 5 พัน – แม่ค้าออนไลน์ลงทะเบียน 2 ล้านถูกตัดหมด

TODAY
อัพเดต 08 เม.ย. 2563 เวลา 10.16 น. • เผยแพร่ 08 เม.ย. 2563 เวลา 10.16 น. • Workpoint News

วันที่ 8 เม.ย. นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือ "เราไม่ทิ้งกัน" ซึ่งมีการโอนเงิน 5 พันบาทให้ผู้ผ่านการลงทะเบียนวันนี้วันแรกว่า ขณะนี้กระบวนการคัดกรองจากผู้ลงทะเบียน 24 ล้านคนยังดำเนินการอยู่ และจะทยอยจ่ายเงิน ซึ่งแต่ละคนกระบวนการใช้เวลาไม่เท่ากัน คนที่คัดกรองง่ายเจอตัวตนแล้วก็จะได้รับเร็ว ไม่ใช่ลงก่อนได้ก่อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มีประชาชนจำนวนมากที่เข้าใจหลักเกณฑ์คลาดเคลื่อน ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือต้องได้รับผลกระทบจากโควิด และต้องเข้าเกณฑ์ ผู้ที่ไม่ได้คือ อายุไม่ถึง 18 ปี / ไม่ได้ประกอบอาชีพ / ข้าราชการหรือผู้รับบำนาญ / อยู่ในระบบประกันสังคม / เกษตรกร / นักเรียน-นักศึกษา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบผู้เข้าเกณฑ์ 8 ล้านคน จากผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 และ 40 รวม 5 ล้านคน และ อาชีพอิสระ รับจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว กิจการส่วนตัว ค้าขาย 3 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าไปดูแล แต่ไม่ใช่ทั้ง 8 ล้านคนจะได้ ต้องดูว่าได้รับผลกระทบจากโควิดหรือไม่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบบางกรณีอาจจะมีเจ้าหน้าที่ลงไปดูถึงพื้นที่จริง

นายลวรณ ยังยกตัวอย่าง อาชีพอิสระบางประเภทที่ไม่เข้าเกณฑ์ เช่น แรงงานก่อสร้าง เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรงเนื่องจากรัฐไม่ได้สั่งปิดกิจการ ซึ่งงานน้อยลงจากภาวะเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลอาจจะดูอีกทีและมีมาตรการอื่นตามมา นอกจากนี้ การค้าขายออนไลน์ ก็ไม่เข้าเกณฑ์เพราะยังค้าขายได้ตามปกติ
.
ส่วนกรณีที่มีผู้โพสต์ว่าได้รับเงินทั้งที่มีความเป็นอยู่ไม่ได้ลำบาก ได้รับรายงานแล้ว ถ้าไม่มีคุณสมบัติจะต้องส่งเงินคืนภายใน 90 วัน ซึ่งเนื่องจากเราต้องทำงานแข่งกับเวลา กับข้อมูลผู้ลงทะเบียนถึง 24.8 ล้านคน ถ้าเราเข้มข้นมาก ผลจะออกช้า จึงเลือกใช้วิธีตรวจสอบก่อนระดับหนึ่งและจะมีการตรวจสอบตามหลังด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อถามถึงการขยายกลุ่มผู้ได้รับความช่วยเหลือ แทนที่จะขยายเวลาที่ได้รับเงินจาก 3 เป็น 6 เดือน นายลวรณ กล่าวว่า อยู่ที่นโยบายของภาครัฐ อยู่ที่ภาครัฐมองเห็นกลุ่มคนที่ตกหล่นอยู่ หากสั่งการ เราจะตามไปดูแลให้ครบถ้วน กระทรวงที่เกี่ยวข้องก็มีสิทธิ์เสนอให้รัฐบาลพิจารณา
.
ส่วนกรณี ผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่มีการสั่งงดออกสลาก 2 งวด เบื้องต้น ยังได้รับเงินช่วยเหลือตามกำหนด แต่ถ้าหากหลังจากนี้ขายได้เหมือนเดิม อาจจะมีการนำเงินเดือนต่อไปไปเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนแทน
.
นอกจากนี้ กรณี 1 คน มีหลายอาชีพ ต้องดูตามอาชีพหลัก เช่น หากเป็นเกษตรกรเพาะปลูก 8 เดือน รับจ้าง 4 เดือน จะถือเป็นเกษตรกรตามที่เคยลงทะเบียน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 8
  • แรงงานก่อสร้างน่าสงสารเห็นการเป็นอยู่ของเขาแล้วทั้งข้าเช่าบ้านค่าน้ำค่าไฟจิปาถะคนกลุ่มนี้ต่างหากที่พวกคุนควรช่วยเหลือคนขายสลากบางคนบ้านหรูมีแต่คนรวยๆทั้งนั้นและบางคนไม่ได้เดือดร้อนเลยขายสลากเป็นเพียงอาชีพรอง คนที่จนจิงๆต่างหากที่ควรช่วยเหลืออาชีพก่อสร้าง เกษตกรอาชีพระดับร่างมากกว่าที่พวกคุนควรช่วยเหลือเขาบางคนไม่มีแม้ข้าวจะกรอกหม้อเลยนะ ช่วยพวกเขาเถอะคุนประยุท
    09 เม.ย. 2563 เวลา 09.50 น.
  • TEERASAK CHUNJIT
    ระบบมึงล้มเหลวสุดๆๆ เดี๋ยวรัฐก็ถังแตกจนได้
    09 เม.ย. 2563 เวลา 06.11 น.
  • Jeab 🐣
    คนงานก่อสร้าง ทำงานหนัก กลางแจ้ง แดดเผา โดยเฉพาะหน้าร้อนร้อนสุดๆ แรงงานรายวัน น่าสงสาร ช่วยเค้าเถอะ
    08 เม.ย. 2563 เวลา 16.15 น.
  • พากเพียร
    เขาใช้อะไรคิด
    08 เม.ย. 2563 เวลา 16.07 น.
  • พากเพียร
    ได้แต่คนที่มีอันจะกินทั้งนั้นคนทำก่อสร้างจะไม่กินรู้ได้ไงว่าคนทำก่อสร้างไม่เดือนร้อนเอาอะไรคิด
    08 เม.ย. 2563 เวลา 16.04 น.
ดูทั้งหมด