ทั่วไป

อดีตประเทศไทยมีคณะตุลาการศาลรธน.พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช.

สยามรัฐ
อัพเดต 20 พ.ย. 2562 เวลา 10.44 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 10.44 น. • สยามรัฐออนไลน์

วันที่ 20 พ.ย.62 พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ระบุว่า..อดีตประเทศไทยมี “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” เป็นองค์กรสูงสุดการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

ก่อนรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยไม่มี “ศาลรัฐธรรมนูญ” แต่มี “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่การวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน และถูกยกเลิกไปตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ในอดีตมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้งมาที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ โดยส่วนใหญ่ ดังเช่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เกิดได้ขึ้นครั้งแรก มีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐสภาแต่งตั้ง เป็นประธานคณะตุลาการคนหนึ่ง และตุลาการอื่นอีก 14 คน

- รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 9 คน ประกอบด้วยประธาน วุฒิสภา ประธานสภาผู้แทน ประธานศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีกรมอัยการ และบุคคลอื่นอีกสี่คน ซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ประธานวุฒิสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ

- รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 9 คน โดยกำหนดให้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ(ก.ต.) เป็นผู้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ 3 คน และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเลือกตุลาการรัฐธรรมนูญคนหนึ่งเป็นประธาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา อธิบดีกรมอัยการ และบุคคลอื่นอีกสี่คน ซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ

- รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 9 คน ประกอบด้วย ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ หรือสาขารัฐศาสตร์ อีกหกคน ซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งสภาละสามคน ประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ

การวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือการกระทำใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น เห็นควรเป็นอำนาจที่ขององค์กรที่ยึดโยงกับประชาชน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนเลือกตั้งมาและเป็นผู้ร่างกฎหมายย่อมมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ตราออกมา ดังนั้น โครงสร้างของ “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” จึงสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนอำนาจของผู้พิพากษา ตุลาการ หรือศาล ไม่ใช่ผู้บัญญัติกฎหมายเหมือนฝ่ายนิติบัญญัติ หน้าที่หลักของฝ่ายตุลาการ คือการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีโดยทั่วไป อันเป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อปรับว่าเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายใดอันเป็นการบังคับใช้กฎหมายเป็นคดีๆไป

ในอดีต “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ได้มีผลงานที่ดี เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน และในฐานะองค์กรพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 14
  • 🐝มดงาน🐝
    ถูกต้องคับ ศาลทุกวันนี้ไม่ต่างอะไรกับศาลพระภูมิ ไม่มียังดีกว่า เพราะมีแต่พวกกะโหลกกะลาทั้งนั้น โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญพวกหัวควาย
    20 พ.ย. 2562 เวลา 13.18 น.
  • VC@Officer
    ประชาชนสับสนหมดที่พึ่ง สิ่งที่พึงเชื่อได้กลับเฉไฉ ต่อแต่นี้เราจะอยู่กันอย่างไร น่าเศร้าใจสิ้นหวังแล้วชาติไทยเรา (ยืนสงบไว้อาลัยแป้ป)
    20 พ.ย. 2562 เวลา 13.12 น.
  • เอกลักษณ์
    ระมัดระวังหน่อยครับ หมิ่นศาลมีโทษจำคุกน่ะ อันนี้ ไม่ได้ ดราม่า แค่เป้นห่วงพวกท่าน เดี้ยวนี้ รู้หมดท่านคือ ใคร ถ้าเข้าข่าย โดนคดี สงสารลูกเมีย ครับท่าน
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.53 น.
  • T.cho
    หยุดเถอะ เลอะเถอะน่ารู้ๆกันอยู่ นายคุณก็เคยได้ประโยชน์จากคำว่า บกพร่องโดยสุจริต สิถึงออกพล่ามอยู่นี้
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.49 น.
  • sak
    รธนไหนพวกมันได้ประโยชนมันบอกว่าดี รธนไหนมันไม่ได้ประโยชนมันบอกไม่ได้
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.35 น.
ดูทั้งหมด