ไอที ธุรกิจ

อังกฤษผวาฝุ่น PM2.5 เพชฌฆาตเงียบแห่งทศวรรษ

ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่ 19 ม.ค. 2563 เวลา 15.35 น.

 

ผลศึกษาในอังกฤษชี้ภัยฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และมลภาวะทางอากาศจะเป็นต้นเหตุคร่าชีวิตประชากร 160,000 คนในทศวรรษหน้าหากภาครัฐไม่เร่งหามาตรการรับมืออย่างเหมาะสม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

มูลนิธิ เดอะ บริติช ฮาร์ท ฟาวเดชัน (BHF: The British Heart Foundation) เปิดเผยผลการศึกษาคาดการณ์ว่า ภายในช่วงทศวรรษหน้า ประชากรมากกว่า 160,000 คนของอังกฤษจะเสียชีวิตด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายที่มีสาเหตุจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งนั่นเทียบเท่ากับว่า ในทุกๆวันจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 คนด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจที่มีสาเหตุมาจากมลภาวะทางอากาศ

หมอกควันพิษบดบังทัศนียภาพมหานครลอนดอน
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การรวบรวมสถิติของ BHF  ชี้ว่า ปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าวในอัตราปีละประมาณ 11,000 คน แต่แนวโน้มจะยิ่งสูงขึ้นมากกว่านี้เนื่องจากสัดส่วนประชากรสูงวัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ทางมูลนิธิ BHF จึงออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษนำแนวทางปฏิบัติขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ว่าด้วยเรื่องมลภาวะทางอากาศมาใช้ และทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ WHO กำหนดไว้ภายในปี 2573 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า 

ทั้งนี้ ปัจจุบันสหภาพยุโรป (อียู) กำหนดค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) หรือ AQI ไว้ โดยให้มีฝุ่น PM2.5 หรืออนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร (ไมครอน) ในอัตราเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 25μg/m3 (25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งอังกฤษสามารถควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ภายในเกณฑ์ดังกล่าวได้*แต่มาตรฐานของ WHO เข้มงวดกว่านั้น คือกำหนดค่าเฉลี่ยต่อปีให้ไม่เกิน 10μg/m3 (10ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) *

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

เนื่องจากฝุ่น PM2.5 สามารถส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายรุนแรงต่อหัวใจ จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจวายและหลอดเลือดสมองในประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงวัย รวมทั้งจะทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่แล้วมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ นายเจค็อบ เวสต์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิ BHF เปิดเผยว่า ทุกๆวันมีคนอังกฤษนับล้านคนที่ต้องสูดฝุ่นพิษขนาดจิ๋วนี้เข้าไปในร่างกาย เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตและเข้าไปสะสมอยู่ในระบบของร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ “อากาศเป็นพิษคือปัญหาเร่งด่วนด้านสาธารณสุขของเรา และรัฐบาลก็ยังไม่ได้ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามนี้ให้มากพอ”

 

ในเดือนกรกฎาคม 2562 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและกิจการชนบทของอังกฤษ ได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่ชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของอังกฤษจะสามารถควบคุมคุณภาพอากาศให้มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกภายในปี 2573  ทั้งนี้ นอกจากกฎหมายควบคุมคุณภาพอากาศแล้ว อังกฤษยังมีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพอากาศ หรือ Clean Air Strategy ที่ได้รับการยกย่องจาก WHO ว่าสามารถเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นนำไปปฏิบัติตามได้ และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่พุ่งเป้าควบคุมเกี่ยวกับฝุ่นขนาดจิ๋วในอากาศโดยใช้กลไกทางกฎหมาย

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 19
  • 314798
    คนไทยไม่สนใจหรอก เรื่องอนาคต ปากท้องกูสำคัญกว่า มีปัญญาคิดแค่วันนี้จะกินอะไรพอ ตัวใครตัวมัน เจริญยาก
    19 ม.ค. 2563 เวลา 23.29 น.
  • กะเพา
    เผาอ้อยกันต่อไป
    20 ม.ค. 2563 เวลา 00.08 น.
  • คนไทยดื้อยังเผากันอีกกฏหมายอ่อน
    20 ม.ค. 2563 เวลา 00.33 น.
  • นงลักษณ์
    ปิ๊ง ไทยต้องรีบเริ่มแล้ว เริ่มช้าดีกว่า ไม่เริ่มทำอะไรเลย
    19 ม.ค. 2563 เวลา 23.53 น.
  • เสือ
    มาศึกษาการแก้ปัญหาที่เมืองไทยเด้อ
    19 ม.ค. 2563 เวลา 23.29 น.
ดูทั้งหมด