ร่วมย้อนระลึกถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของเพื่อนมนุษย์ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ที่ถูกถ่ายทอดมาเป็นหนัง ทำให้เราเห็นถึงสงคราม ความทารุณ และการสูญเสียที่ไม่มีวันกลับมาในเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ ‘การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว’ โดยพรรคนาซี มีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นท่านผู้นำทัพนาซี ที่เริ่มแรกเหตุของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น มาจากชาวยิวได้เข้ามาอยู่อาศัยกันแบบกระจัดกระจายทั่วทุกหย่อมหญ้าในทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศเยอรมัน จนกระทั่งชาวยิวเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยอรมัน และมีท่าทีว่าจะสร้างปัญหาให้กับประเทศ จึงมีการประกาศกวาดต้อนชาวยิวไปที่ค่ายกักกัน ‘ค่ายแห่งการทารุณกรรม’ ที่หนังหลายเรื่องถ่ายถอดออกมาให้เราได้ตระหนักถึง ความเป็นคน สิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงมี และไม่ควรที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยกำลังอย่างไม่มีเหตุผล
ขึ้นชื่อว่า ‘สงคราม’ นั้นไม่อาจสร้างความสุข เพียง 1 ชัยชนะที่ได้ ไม่อาจเทียบเท่ากับหลายล้านชีวิตที่สูญเสีย …
Schindler’s List
หนังที่ใครดูแล้ว เป็นต้องยกให้เรื่องนี้เป็นตัวแทนแห่งการถ่ายทอดประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้อย่างดีเยี่ยม ถ่ายทอดอารมณ์ที่ทั้งหดหู่ บางฉากที่สะท้อนถึงเหตุการณ์เสมือนจริงสุดทารุณ ผ่านภาพขาวดำ และยิ่งได้อ่านประวัติว่า สตีเว่น สปีลเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์มีเชื้อสายยิว ยิ่งทำให้รับรู้ถึงความจริงอันน่าเศร้าที่เขาอยากจะเล่าต่อคนรุ่นหลังอย่างเป็นที่สุด
The Boy in The Striped Pajamas
เรื่องราวที่ทำให้ใครหลายคนซึมหลังดูจบ สะเทือนใจกับเรื่องราวผ่านมิตรภาพของเด็กชายทั้ง 2 ที่คนนึงเป็นลูกทหารนาซีและเด็กน้อยในชุดนอนลายทางชาวยิว ความไร้เดียงสาที่มีฉากหลังคือสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และ ฉากท้ายเรื่องที่บีบหัวใจ ทำให้รู้สึกว่า โชคดีแค่ไหนที่เราไม่ต้องสัมผัสกับเหตุการณ์แบบนี้
Downfall
หนังเรื่องนี้อาจเปลี่ยนความมุมมองความคิดต่อ ‘อดอล์ฟ ฮิตเลอร์’
น้อยเรื่องนักที่จะนำเสนอมุมมองที่น่าเศร้าของชาวเยอรมันที่ถูกบุกรุก การจะเป็นผู้นำที่มีความเผด็จการ แน่วแน่ และคุมพลทหารทั้งประเทศนั้น ต้องแลกมาซึ่งความอึดอัด การตัดความสุขของตัวเองเพื่อขับเคลื่อนประเทศ และการควบคุมจิตใจในภาวะที่ต้องโหดเหี้ยมเด็ดขาดเพื่อปกป้องคนของตนและฆ่าล้างสิ่งที่เรียกว่า มนุษย์ ที่มีเลือดเนื้อ มีครอบครัว มีหัวจิตหัวใจ ในขณะเดียวกัน
The Diary of Anne Frank
เรื่องราวของเด็กหญิงที่อาศัยอยู่ใต้หลังคา วรรณกรรมเยาชนที่ตั้งแต่จำความได้ ที่โรงเรียนก็มีการบ้านให้อ่าน แอน แฟรงค์ บันทึกส่วนตัวที่กลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญของการถ่ายทอดเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เกร็ดความรู้ที่แฝงมากับหนังสือที่คุณครูแนะนำให้อ่าน ทำให้เราได้กลับมาดูเรื่องราวที่น่าเศร้าผ่านหนังในตอนนี้ เธอมีอายุเพียง 13 ปี ขณะที่ต้องหลบซ่อนตัวจากสงคราม เธอระบายสิ่งที่เธอเจอผ่านสมุดบันทึกคู่ใจ
ในความมืดมนไร้หนทางรอด บางที อิสระภาพก็อาจเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้ตระหนักถึงมัน
Life is Beautiful
‘การโกหก’ ดีหรือร้าย อยู่ที่จุดประสงค์ของมัน
เรื่องราวชีวิตครอบครัวของชาวยิวในประเทศอิตาลี ที่ดูเหมือนช่วงแรกของหนังจะนำพาเราไปโลดแล่นกับชีวิตที่เหมือนจะสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้น แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องดี แต่หนังได้บอกเราอยู่เสมอว่า ในช่วงเวลาร้าย ๆ ย่อมมีสิ่งดี ๆ อยู่เสมอ มันขึ้นอยู่กับมุมมองและการทำความเข้าใจโลกต่างหาก เรื่องนี้นำเสนอสงครามที่แตกต่างจากเรื่องอื่น ทำให้เรามองเห็นความสวยงามแม้จะอยู่ในภาวะสงครามที่มืดมน เป็นอีกเรื่องที่แนะนำให้ดูเลยค่ะ
Pattie The Pianist ด้วย
27 ม.ค. 2563 เวลา 02.09 น.
Life is Beautiful สุดๆแล้ว ความรักของพ่อ ไม่อยากให้ลูกต้องจดจำความเลวร้ายของสงคราม โกหกสร้างภาพให้ลูกมองโลกสวยงาม
27 ม.ค. 2563 เวลา 01.43 น.
Ji Iphone14 Pro+Pc💚 ยิว ไม่เหมือนโรฮิยานะคะ เขียนอะไรลงมาน่ะ
27 ม.ค. 2563 เวลา 02.20 น.
เทพอสูร หนังไทยอีกเรื่องน่าจะ กัมพูชา
27 ม.ค. 2563 เวลา 03.09 น.
อั๋น ขัตติยะ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการสังหารหมู่นั้นได้บ่งบอกถึงความโหดร้ายของมนุษย์ซึ่งไม่น่าที่จะเกิดขึ้นในสมองที่มีปัญญาความคิดเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉานที่ดุร้าย มนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองเพียงเพื่อเกิดขึ้นจากความระแวง การสังหารหมู่ชาวยิว6ล้านคนโดยทหารนาซีภายใต้การกำกับดูแลของ นายพลไฮน์ริค ฮิมเลอร์ ช่างน่าหดหู่ใจแต่ก็ดูไม่โหดร้ายเท่ากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรโดยกองกำลังเขมรแดงภายใต้คำส้่งของ นายพอลพต ถึงแม้จะมีคนตายน้อยกว่าชาวยิวแต่เป็นการสังหารคนชาติเดียวกันคือคนเขมรด้วยกันเอง เป็นชะตากรรมที่โลกไม่ลืม
27 ม.ค. 2563 เวลา 13.57 น.
ดูทั้งหมด