ผลสำรวจเผย “คนกรุงเทพฯ” โดนขโมยความสุข! คุ้มใช่มั้ยการใช้ชีวิตในเมืองหลวง!
จากปัญหารถติดสะสม, ฝุ่น pm 2.5 เรื่อยมาจนถึงปัญหาค่าครองชีพที่แพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน ทำให้ชาวออฟฟิศหลาย ๆ คนที่ต้องจากบ้านต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในเมืองหลวงเริ่มถามตัวเองแล้วว่า “เรามาทำอะไรกันอยู่ที่นี่?”
แม้ว่า “กรุงเทพฯ” จะได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวให้เป็นเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน แต่หากประเมินกรุงเทพฯ ในแง่มุมของการเป็นเมืองที่จะอยู่อาศัยและใช้ชีวิต กลับรั้งท้ายเป็นอันดับที่ 169 จาก 177 เมืองดัชนีคุณภาพชีวิตที่ดีของโลก หรือพูดกันง่าย ๆ คือ “กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าเที่ยวแต่ไม่น่าอยู่”
เหตุผลสำคัญที่ทำให้หลาย ๆ คนต้องตัดสินใจเลือกออฟฟิศในกรุงเทพฯ มากกว่าการกลับไปทำงานในต่างจังหวัด ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องความเติบโตของตลาดงานที่มีมากกว่า โดยเฉพาะในบางสาขาอาชีพซึ่งตลาดงานต่างจังหวัดไม่ได้มีรองรับ และที่สำคัญคือ เรื่อง “ฐานเงินเดือน”
แม้ว่าเงินเดือนที่ได้จากออฟฟิศในกรุงเทพจะแพงกว่าในต่างจังหวัด แต่นั่นอาจจะเป็นเพียงตัวเลขหลอก ๆ เพราะตัวเลขที่แท้จริง คือ “เงินคงเหลือ” ซึ่งหักค่าใช้จ่ายและครองชีพออกไปแล้วต่างหาก! เมื่อเทียบกันแล้วสัดส่วนของรายได้ที่มากขึ้น กลับน้อยกว่า สัดส่วนของรายจ่ายที่มากกว่าเป็นเท่าตัว
ปัจจุบันรายได้เฉลี่ยของมนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 24,000 บาท/เดือน ส่วนรายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,000 บาท/เดือน (ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย) สำหรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของคนกรุงเทพฯ ในปี 2562 นี้ คือ ค่าอาหารในร้านอาหาร รองลงมาคือค่าเช่าที่พักอาศัย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้!
นอกจากเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แล้ว เรื่อง “คุณภาพชีวิต” และ “สุขภาพจิต” ก็อาจไม่คุ้มที่จะเอามาเสี่ยงอยู่ในเมืองใหญ่ ต้องยอมรับว่าคนกรุงฯ มีคุณภาพชีวิตห่างจากเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อยู่มาก กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวต่อสัดส่วนประชากรเพียง 6.18 ตรม./คน เท่านั้น ในขณะที่ WHO กำหนดไว้คือ 9 ตร.ม./คน ซึ่งพื้นที่สีเขียวนั้น ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมือง
อีกทั้งในปี 2561 ที่ผ่านมานี้ กรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่าสุขภาพใจคนวัยทำงานในกทม.ร้อยละ45 ถูก“ความเครียดขโมยความสุข” ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เครียด อันดับ 1 คือ ปัญหาการเงิน รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และยังพบว่ามีความเครียดมาจากการเสพข่าวมากเกินไปและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย
ในยุคนี้ มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ อาจจะต้องวางแผนให้รอบด้านมากขึ้น ตัวเลขเงินเดือนเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกที่ทำงานอีกต่อไป แต่ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและสภาพแวดล้อมรอบตัวเราต่างหาก ที่เราจะต้องทบทวนกันหนัก ๆ
ที่สำคัญ..เราคงต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าที่ใช้ชีวิตกันอยู่..คุ้มค่าแค่ไหน? ในเมืองใหญ่แห่งนี้!
แหล่งข้อมูล
ภาพประกอบ
zhiea ไม่ใช่แค่ กทม หรอก
ทั้งประเทศนั่นแหละ
กำลังโดนขโมยความสุข
โดยคนที่อ้างตัวว่าคืนความสุขให้คนไทย
29 มี.ค. 2562 เวลา 01.11 น.
จ๊อด เออนั้นสินะเรามาทำไรอยู่ตรงนี้ รัฐช่วยรีบเร่งหาอาชืพ หางาน กระจายออก ตจว ทุกภูมิภาคได้มั้ย ไม่ใช่มากระจุกแต่ใน กทมฝากรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาสานต่อจากรัฐชุดนี้ด้วย ถ้าคนออกตจวมากๆ ความแออัดความขัดแย้ง ความเลื่อมล้ำน่าจะลดลงกว่านี้ ต่างคนต่างอยู่มีอาชีพมีรายได้ทุกชุมชนแก้ไขด่วนครับ
29 มี.ค. 2562 เวลา 01.25 น.
ShelL รถติด
ฝุ่นควัน
โจรวิ่งราว
ขนส่งแย่ๆ
คนก้มหน้า
สารพัดสารเพ
29 มี.ค. 2562 เวลา 01.24 น.
ปนัดดา กาญจนจูฑะ กรุงเทพเขาอยู่เฉยๆ คนมาหาเขาเอง ถามคนกรุงเทพแท้ๆ มีน้อยกว่าคนต่างจังหวัดที่ย้ายเข้ามาอยู่กันจนเต็มไปหมด รวมถึงคนต่างด้าวทั่งถูกและผิดกฏหมายอีกเยอะ ไปโทษใคร ทำไม ถามสิว่าทำไมไม่ไปอยู่บ้านเกิดกัน ถ้ากรุงเทพไม่ดี
29 มี.ค. 2562 เวลา 01.32 น.
ที่อื่นมีให้ทำงานอยุ่ เป็นร้อยพันกว่าที่. ก็เห็นพอใจที่จะมาเลือกที่. กทม. กันแทบทั้งนั้น. ดูอย่างนักศึกษา จบใหม่ที่อยุ่ต่างจังหวัด. หันไปหันมา ก็ไปทำงาน กทม ดีกว่า กันหมดส่วนใหญ่. ถามใครๆก็ไป กทม กันทั้งนั้น. ตจว ไม่อยากไปกัน เพราะเค้าคิดว่า ไกลบ้านไกลแฟนไกลความเจริญไกลๆๆ. อะไรในความคิดเค้าไปทุกเรื่องโดยไม่คำนึงถึงอะไรอย่างที่ออกข่าว. ทำไมไม่ลงข่าวบ้างละว่า. กทม เป็นเมืองที่ที่เด็กรุ่นใหม่และวัยทำงานทุกๆคนคิดอยากไป เพราะมีทุกอย่างที่เค้าต้องการ.โดยไม่คิดอะไรอย่างที่ข่าวออก ควรส่งเสริมสิ.
29 มี.ค. 2562 เวลา 01.37 น.
ดูทั้งหมด