ไลฟ์สไตล์

มีอยู่แต่ไม่รู้ว่าเป็นปัญหา!? เมื่อ ‘แสงสว่าง’ ในเมืองใหญ่กลายเป็น ‘มลภาวะ’ ทั้งต่อคนและสัตว์

Amarin TV
อัพเดต 20 ก.พ. 2561 เวลา 08.09 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2561 เวลา 08.03 น. • AmarinTV

อย่างที่เราทราบกันดี ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลพิษที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษทางดิน แต่นอกเหนือจากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีมลพิษอีกรูปแบบหนึ่งที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวัน แต่อาจไม่ทราบผลกระทบของมันสักเท่าไหร่ นั่นคือ Light Pollution หรือ มลพิษทางแสง

wikipedia.org
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แน่นอนว่าแสงจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์นั้นมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันของมนุษย์อย่างมาก แต่การที่ในเมืองนั้นมีแสงสว่างมากเกินความจำเป็น หรือถูกนำไปใช้งานอย่างผิดวัตถุประสงค์ ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เราด้วยเช่นกัน ซึ่งมลภาวะประเภทดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานแล้ว แต่กลายเป็นที่พูดถึงอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ.1970 เมื่อกลุ่มนักดาราศาสตร์เริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากแสงสว่างในเมืองที่ทำให้การมองเห็นดวงดาวได้ยากขึ้น และต้องพึ่งพาอุปกรณ์มากขึ้นตามไปด้วย

wikipedia.org : ภาพถ่ายทางช้างเผือก จากทะเลทรายอาตากามา (Atacama Desert) ทางตอนเหนือของประเทศชิลี
wikipedia.org : เปรียบเทียบภาพกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ที่ถ่ายจากเมืองโปรโว กับเมืองโอเรม ในรัฐยูทาห์ ที่มีความหนาแน่นของประชากรผู้อยู่อาศัยต่างกัน
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากการมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าได้ยากขึ้นแล้ว ในแง่ของระบบนิเวศเองก็ได้รับผลกระทบจากแสงสว่างที่มากเกินไปเช่นกัน และมีสัตว์หลายชนิดที่เกิดการหลงเวลา เพราะไม่อาจแยกแยะความสว่างที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์หากินกลางคืน ที่ไม่เพียงจะสับสนกับแสงสว่างที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่สามารถหาอาหารจากดอกไม้บางชนิดที่บานและส่งกลิ่นเฉพาะในเวลาที่ไม่มีแสดงสว่างเท่านั้น

wikipedia.org : นอกจากกินแมลงแล้ว ค้างคาวบางชนิดยังตามกลิ่นจากดอกไม้ที่บานเฉพาะในเวลากลางคืนอีกด้วย

อาจจะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของผู้คนทั่วไปโดยตรง แต่การที่ในเมืองนั้นมีแสงสว่างมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นแสงในที่สาธารณะหรือแสงภายในบ้าน ก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายคนเราได้ เช่นกรณีที่มีแสงในห้องนอนมากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายไม่พร้อมที่จะพักผ่อน นอนหลับยาก และทำให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายไม่ปกติ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฟังมาถึงตรงหลายคนอาจตั้งข้อสังเกตว่า คงเป็นไปได้ยากที่เราจะหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหามลพิษทางแสง เพราะโลกใบนี้ยังมีธุรกิจอีกมาที่ต้องพึ่งพาแสงสว่างเกือบตลอดเวลาในการทำงาน ฉะนั้นการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในการใช้พลังงาน และควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม คืออีกหนึ่งความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

wikipedia.org
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • wisit
    จากดาวอังคานนะ แสงจากโลกเมิงแยงตา กรูนอนไม่หลับ
    20 ก.พ. 2561 เวลา 09.31 น.
  • Wa M`Prapassaro
    ไม่ไช่แค่ส่วนนึงมั้ง มลพิษทั้งหมดอะเหละฝีมือมนุษย์ล้วนๆ แค่โบ้ยธรรมชาติให้รู้สึกว่าผิดน้อยลง
    21 ก.พ. 2561 เวลา 00.47 น.
  • คณ วิทยาอินธิสุทธิ์
    ใครมีบ้านติดสถานนีBTS.ตอนกลางคืนสว่างมากกกกก แม้หลังเที่ยงคืน.
    20 ก.พ. 2561 เวลา 21.18 น.
  • ปู่วัติ(Niwat)
    มันใช้แสงสว่างมาก็เกิน คนตาบอดยังบ่นเลย
    20 ก.พ. 2561 เวลา 15.16 น.
ดูทั้งหมด