อ.เจษฎ์ เฉลยแล้ว "งูเขียวมีหงอน" คล้ายพญานาค แท้จริงแล้วคืองูอะไร มีที่มาจากไหน หลังมีผู้พบเห็นแถมวังนาคินทร์ คำชะโนด
จากกรณีที่ก่อนหน้านี้มีผู้พบเห็นงูเขียวมีหงอน ลักษณะคล้ายพยานาค ความยาวประมาณ 1 เมตร บริเวณทางเข้าวังนาคินทร์คำชะโนด จึงสร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก หลายคนเชื่อว่าเป็นบริวารของพ่อปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าศรีปทุมมา ทำให้คอหวยหลายคนต่างจับตามอง ลุ้นเลขเด็ดงวด 16 ธ.ค. 65
ล่าสุดทางด้าน อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เผยผ่านเพจ อ๋อ1เป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ถึงประเด็นดังกล่าวระบุว่า บางคน อาจจะมองมันเป็น "งูศักดิ์สิทธิ์มีหงอน" สาธุๆ แต่สำหรับผม มันคือ งูหนูแรด "Rhinoceros ratsnake" นำเข้าจากประเทศเวียดนามครับ
งู rhinoceros ratsnake (ชื่อวิทยาศาสตร์ Gonyosoma boulengeri) หรือ งูหนูแรด หรือ งูแรด หรือ งูจมูกยาวเวียดนาม (Vietnamese longnose snake) เป็นงูที่ไม่มีพิษสปีชีส์หนึ่ง ในวงศ์ Colubridae
งูชนิดนี้พบได้ตั้งแต่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน มันมีส่วนที่ยื่นยาว เด่น มีเกล็ด อยู่บนด้านหน้าของจมูกของมัน เลยทำให้ถูกเรียกชื่อตามลักษณะนอของแรด
ตัวเต็มวัยของงูหนูแรด มีความยาวจรดปลายหาง 100–160 เซนติเมตร ถ้านับจำนวนเกล็ดที่ด้านหลังของส่วนกลางลำตัว จะนับได้ 19 แถว
- ไรเดอร์หัวจะปวด เจอพ่อค้าขี้เซา เรียกยังไงก็ไม่ตื่น "พี่ครับผมมีออเดอร์"
- กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 12 สภาพอากาศแปรปรวน เช็กพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก
- เกษตรกรสาว รีวิวสวนทุเรียน ออกลูกดกเต็มต้น ทำชาวเน็ตขัดตา ก่อนโป๊ะแตกเต็มๆ
งูหนูแรด มีถิ่นอาศัยในป่าฝนเขตกึ่งร้อน ที่ระดับความสูง 300 ถึง 1,100 เมตร และมักเป็นหุบเขาที่มีลำธาร ปรกติมันจะอยู่บนต้นไม้ และส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน ล่าหนูตัวเล็กๆ และสัตว์ฟันแทะอื่นๆ นก และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ
ออกลูกเป็นไข่ และมีฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ออกไข่ 5-10 ฟองต่อครั้ง และหละงจากกกไข่ไว้ 60 วัน ก็จะฟักออกมาเป็นลูกงูขนาดยาว 30–35 ซม. สีเทาอมน้ำตาล และมีขอบสีเข้มอยู่บนเกล็ดด้านหลังบางส่วน
เมื่อโตขึ้น อายุ 12-14 เดือน งูหนูแรดจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทา แล้วส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมฟ้า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยอายุ 24 เดือน
จากการศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัย Bangor University ได้เสนอว่า ส่วนที่ยื่นออกมาจากจมูกของงูนั้น มีไว้สำหรับการผสมพันธุ์ โดยงูตัวผู้อาจจะใช้ต่อสู้กับงูคู่แข่ง
แต่การศึกษาอื่นๆ กลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ส่วนยื่นจากจมูกนี้ กับการแสดงออกเวลาสืบพันธุ์ ทำให้ยังคงเป็นปริศนาอยู่ว่า หน้าที่ที่แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่
ขอบคุณ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews