ทั่วไป

ค้าน “ชัชชาติ” ขึ้นค่าตั๋วสายสีเขียว จี้คงเพดาน 44 บ.

INN News
เผยแพร่ 28 มิ.ย. 2565 เวลา 11.17 น. • INN News
สภาองค์กรผู้บริโภค แถลงคัดค้าน ผู้ว่าฯชัชชาติ ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 บาทตลอดสาย ชี้ ควรคงเพดานไว้ 44 บาท

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค แถลงคัดค้านกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยระบุว่า เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานราคา 59 บาท เนื่องจากการที่มีผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ คาดหวัง อย่างน้อยผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบันเป็นหนึ่งในบุคคลที่มาร่วมงานกับสภาองค์กรผู้บริโภค จุดยืนตรงกันคือการไม่ต่อสัญญาสัมปทาน

แต่สิ่งเห็นต่างกันคือกำหนดเพดานราคาที่ 59 บาท เพราะในปัจจุบันมันทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายถึง 118 บาท/วัน หมายความว่าถ้าใครมีค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทใน กทม. จะต้องใช้เงินขึ้นรถไฟฟ้าอย่างเดียวเกือบ 36% มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ทำให้ทุกคนขึ้นรถไฟฟ้าได้

ทั้งนี้ ประเด็นแรก ที่อยากเห็นคือ ราคาที่ถูกลง ไม่ได้หมายความว่า จะไปรอนสิทธิของสัญญาสัมปทาน ขณะนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังอยู่ในสัญญาสัมปทาน สิ่งที่เป็นข้อเสนอของเสนอไปยัง ครม.ในช่วงยังไม่ต่อสัมปทาน ผู้บริโภคควรจ่ายราคาสูงสุด 44 บาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ให้ใกล้เคียงกับสายสีอื่น ๆดังนั้น กทม.ควรใช้เพดานราคากำหนดสูงสุดที่ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสีอื่น ๆ สายสีเขียวไม่ควรมีอภิสิทธิ์มีราคาสูงสุดที่ 59 บาท

และประเด็นที่ 2 ตัวเลขของกระทรวงคมนาคม ถ้าต่อสัมปทานตัวเลขแรกที่กระทรวงคมนาคมเสนออยู่ที่ 49.83 บาท ผู้บริโภคอย่างนั้นถ้า อย่างน้อยไม่ต่อสัมปทานขณะนี้ ราคาควรถูกลงกว่า 49 บาท คือ 44 บาทที่ใกล้เคียงกับสายอื่น ไม่ใช่ราคา 59 บาท

จึงเรียกร้องไม่ให้ต่อสัมปทาน แต่กลับเสียหายมากกว่า อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประเด็นที่3 วิกฤติน้ำมัน วิกฤติพลังงาน คนใช้รถส่วนตัว มีแนวโน้มที่อาจลดลง การที่ กทม.จะมีนโยบายให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ทำการเชื่อมต่ออย่างที่ผู้ว่าฯ กทม.มีนโยบาย ทำให้คนเอารถส่วนตัวไว้ที่บ้าน ใช้การเชื่อมต่อที่กำลังดำเนินการ

และใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อคุ้มครองสิทธิสัญญาสัมปทานที่ยังไม่หมด สถานีแรก 15 บาท แต่โดยเพดานไม่ควรเกิน 44 บาท และขอให้เก็บทั้ง 2 ด้าน ขณะนี้เก็บด้านเดียว เรียกว่าแบริ่งไปสมุทรปราการ ส่วนหมอชิต คูคต หรือลาดพร้าว คูคต ยังไม่ได้เก็บเงิน เราก็ขอให้เก็บเงิน

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของนักวิชาการ ค่าจ้างเดินรถสายสีเขียว ต้นทุนอยู่ไม่เกิน 19 บาท เมื่อไม่เกินนี้ ทำให้มั่นใจว่า หลังสัญญาสัมปทานหมด ราคา 25 บาทเป็นราคาที่ทำได้จริง ผู้ว่าฯ กทม.อาจต้องหาคนมาประมูล มาร่วมลงทุนโดยแยกระหว่างการร่วมลงทุนในการให้บริการเดินรถ และหาประโยชน์จากเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้า

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ดูข่าวต้นฉบับ