ทั่วไป

จบไม่สวยแน่!ครูเบี้ยวหนี้ ล้มละลาย-หมดสภาพข้าราชการ

เดลินิวส์
อัพเดต 19 ก.ค. 2561 เวลา 10.44 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2561 เวลา 04.03 น. • Dailynews
ปลัดยธ.ระบุหากครูเบี้ยวหนี้ และไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ผลที่ตามมาคือถูกฟ้องล้มละลาย และขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการ

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหลังได้มีการเผยแพร่คลิปของผู้ที่อ้างว่าทำอาชีพครู ได้รวมตัว รวมตัวกัน เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารออมสิน พักหนี้โครงการการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) อย่างไม่มีกำหนด ซึ่งแกนนำครูได้ประกาศบนเวที และให้สมาชิกที่อยู่ในห้องประชุมพูดตามว่า "วันที่ 14 ก.ค. 61 ข้าพเจ้าขอให้รัฐบาล และธนาคารออมสิน พักหนี้โครงการ ช.พ.ค.ทุกโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป ลูกหนี้ ช.พ.ค จำนวน 450,000 คน"

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า จงรับสภาพการเป็นบุคคลล้มละลายหากกรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท และที่สำคัญมันจะโยงพาบุคคลที่เรารักที่มาค้ำประกันเราเป็นบุคคลล้มละลายไปด้วย หนี้เกิดโดยนิติกรรม สัญญา ซึ่งเมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ก็ย่อมเกิดความเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ขึ้น โดยปกติเมื่อเกิดหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากเคราะห์แห่งหนี้ได้ด้วยการชำระหนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตาม ปปพ. มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้อง “กระทำโดยสุจริต”การที่เรามีหนี้สินมากและไม่สามารถชำระคืนกับเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย ผลที่ตามมาคือ กรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหากถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จะขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และเมื่อคุณสมบัติไม่ถูกต้องแล้ว มาตรา 110 ก็กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้น ออกจากราชการ

ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญา ใดๆ ทั้งสิ้นได้ รวมถึงธุรกรรมการเงินต่างๆไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ก็ต้องขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีก่อน หากได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทุกๆ 6 เดือน พร้อมทั้งส่งรายได้ตามที่เจ้าพนักงานจะอายัดเข้ากองทรัพย์สินด้วย การถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ก็ให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อได้ปลดจากการเป็นบุคคลล้มลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ.

*ข่าวที่เกี่ยวข้อง *

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

'หมอธี'แจงคลิป'ปฏิญญาสารคาม' ครูชักดาบหนี้'ช.พ.ค.'

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 113
  • ไม่รู้เขาจะอ่านกันบ้างไหม กลัวแต่จะดันทุรัง พอเข้าตาจนก็รวมตัวกันอีก เขาพากันทำลักษณะนี้จนได้ใจ
    17 ก.ค. 2561 เวลา 10.55 น.
  • เทอดพงศ์ ทองมี
    ก่อนกู้ก่อนคุณจะรับเงินคุณยอมตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินได้ แต่พอคุณเอาเงินเขาไปใช้แล้ว ทำไมมาพูดอีกอย่าง เขาเรียกคนขี้โกงหรือเปล่า
    17 ก.ค. 2561 เวลา 10.51 น.
  • เทอดพงศ์ ทองมี
    เป็นครูหรือเป็นใครเป็นหนี้ก็ต้องชำระ ยิ่งเป็นครูต้องทำตนเป็นตัวอย่างให้กับศิษย์ รักษาเกียรติศักศรีของความเป็นครู การเบี้ยวหนี้จะอ้างอะไรมันก็ทุเรศเพราะเจตนามันไม่สุจริต ไม่จ่ายก็ต้องฟ้องกันไป หนี้เกินล้านก็ฟ้องล้มไปตามกฎหมาย
    17 ก.ค. 2561 เวลา 10.47 น.
  • ครูที่กู้ทุกคนอ่านเอกสารทั้งนั้น เพราะสกสค.แต่ละจังหวัดแจกให้ทุกคนเพียงแต่ทุกคนคิดแต่จะกู้และจับกลุ่ม5-6คนกู้เป็นล้านและคิดแต่ว่าตายปลดหรือทำประกันถ้าตายไปประกันจ่าย ได้เงินชพค.ครบอยู่ดีกู้ก่อนจะเปลี่ยนรถใหม่ซื้อรถใหม่ ที่จะกู้สร้างบ้านอาจจะมีแต่น้อย ผมว่าไปตรวจสอบเหตุผลการขอกู้ในเอกสารว่าเอาไปทำอะไรหลังได้เงินนำไปทำตรงกับเหตุผลที่ให้ไหม ทุกอย่างเมื่อเขียนเสร็จส่งสกสค.ตรวจส่งธ.ออสินอนุมัติเซนต์สัญญาตรวจสัญญาทั้งสองฝ่ายลงนามพร้อมและต่อหน้าทั้งผู้กู้ ธนาคารและผู้ค้ำไม่ได้ทำลับหลัง ทุกคนเข้าใจครับ
    17 ก.ค. 2561 เวลา 10.43 น.
  • Vi
    อย่าใด้ละเว้น ไม่ใช่แบบอย่างที่ดี คนกลุ่มนี้ไม่สมควร มาสอนลูกหลานเรา
    17 ก.ค. 2561 เวลา 10.23 น.
ดูทั้งหมด