ไลฟ์สไตล์

นึกถึง ‘ห้องน้ำสาธารณะ’ สถาปนึกพาสำรวจก้าวแรกของการปรับปรุงทุกพื้นที่ให้มีความสุขีที่สุขา – สถาปนึก

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 07 ส.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • Ruby The Journey

‘ สุขาอยู่หนใด? ’ ขอที่สะอาด ๆ ได้มั้ย ฉันไม่อยากอั้น…

‘ห้องน้ำ’ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป แต่พอมานึกดูแล้ว การเข้าห้องน้ำที่ไม่ใช่บ้านของเรา ก็ดูน่าจะเป็นปัญหาหนักใจอยู่เหมือนกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัญหาของ ห้องน้ำสาธารณะ ที่ประชาชนอย่างเรา ๆ รู้สึกยี๊…

หนีไม่พ้นเรื่องความสะอาด ถ้าจะให้นึกภาพห้องน้ำที่นอกเหนือจาก ห้าง กับ ปั๊มน้ำมันยักษ์ใหญ่เจ้านึง แล้วนั้น ก็แทบไม่อยากเข้าไปอัดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเหล่านั้นเลย ที่ตีคู่สูสีคือ ความปลอดภัย ข่าวแอบถ่าย อาชญากรรมมากมายทำให้ไม่ค่อยอยากใช้ห้องน้ำสาธารณะเสียเท่าไหร่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มาตรฐานของ ‘สุขาสาธารณะ’

แน่นอนว่า ความสะอาด โดยรวมของห้องน้ำ , โถ ต้องมาอันดับหนึ่ง

กระดาษเพียงพอ ต่อการใช้งาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่างล้างมือพร้อมสบู่ ให้ความรู้สึกว่าล้างแล้วสะอาดกลับไป

กลิ่นไม่เหม็น ให้ได้หายใจสะดวกในการใช้บริการ

และมาตรฐานอีกหลายข้อที่บ่งบอกถึง 'สุขาสาธารณะ' ควรจะเป็น…

เกณฑ์มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร

‘สุขาสาธารณะ’ ที่ขึ้นชื่อว่า สะอาด

' จากผลการสำรวจของกรมอนามัย ในปี 2558 พบว่า สุขาสาธารณะที่คนทั่วไปเลือกใช้มากที่สุด 3 อันดับเเรก คือ ห้างสรรพสินค้า 86.64% ปั๊มน้ำมัน 73.09% และแหล่งท่องเที่ยว 58.66% '

แต่จะเป็นไปได้มั้ย ที่ห้องน้ำสาธารณะนี้ จะกระจายตัวให้ได้ใช้กันอย่างทั่วถึง… ตามนโยบายของกทม. ที่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชน ซึ่งสำนักอนามัยได้ดำเนินโครงการการพัฒนาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร (Bangkok Clean and Green) เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน และจัดให้มีกิจกรรมการประกวดสุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ให้ยังคงพัฒนาสุขลักษณะที่ดีให้ห้องน้ำสาธารณะ

และคนหลายกลุ่มที่มองเห็นปัญหาเหล่านี้ ทั้งรัฐและเอกชน ที่พยายามปลุกปั้น โปรเจคอัพเกรด ห้องน้ำสาธารณะ ให้ สาธารณะ ได้ใช้จริง แบบไม่มีอะไรมากั้น!

.

สถาปนิก นึกอะไร?

คุณเต้ จีรเวช หงสกุล สถาปนิก Idin Architechs ให้สัมภาษณ์กับสมาคมสถาปนิกสยาม ไว้ว่า ‘ไม่ได้สร้าง Architechture ที่ไม่ได้ตอบแค่ห้องน้ำ แต่ตอบไลฟ์สไตล์ของเมืองด้วย’

‘อย่างสะพานลอย ตรงพื้นที่ที่เปล่าประโยชน์ เราใช้มันได้ , ตู้โทรศัพท์ที่มันไม่ได้ใช้แล้ว เอามาเปลี่ยนได้มั้ย สเกลมันได้มั้ย นั่งได้มั้ย เราก็เลยคิด โมดูลที่สามารถเอาฟาซาสไปล้อมกรอบเดิมแล้วเปลี่ยนมันเป็นห้องน้ำ’

‘ดีไซน์มันแก้ปัญหาเรื่องคนได้ พอคนอยู่กันเยอะ ๆ มันก็เลยไปแก้ปัญหาสังคมได้’

‘ซึ่งการออกแบบออกมาเป็น 3 ขนาด ที่มีไซส์ใหญ่-เล็ก ลดหลั่นกันไป จะเข้าไปอยู่กับเมืองอย่างไร ยิ่งกว่านั้น ห้องน้ำควรเปลี่ยนรูปแบบได้ตามบริบทของสภาพแวดล้อมเหล่านั้น'

และสุดท้าย ‘เราจะสร้างแล้ว จะให้มันคงอยู่ ได้อย่างไร’

จากก้าวแรก ไปสู่การขยับขยายโครงการต่อไปให้ทั่วถึง ในวันข้างหน้าไม่ไกล เราคงได้ใช้ สุขานอกบ้าน ที่ทั้งเก๋ไก๋ ไม่อึดอัดใจ แน่นอน

ไอเดีย และการคิดออกแบบ ของสถาปนิกที่ว่ามานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยประโยชน์ของสังคมได้ เป็นก้าวแรกที่จะพัฒนา ‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ให้ประชาชนใช้ได้จริง ดูสะอาด ปลอดภัย รวมทั้งเป็นหน้าตาของประเทศไทย ให้ชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนหย่อนใจ ให้หย่อน…ได้อย่างมีความสุข เราแฮปปี้ คุณก็แฮปปี้ สุขีที่สุขขา : )

.

ครั้งหน้า สถาปนึก จะพาไปพักผ่อนหย่อนใจที่ไหน ติดตามกันได้ทุกวันเสาร์ ทาง LINE TODAY ที่เดียวค่ะ

- Ruby The Journey

.

อ้างอิง

-ASA สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

-The Urbanis

-สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ความเห็น 25
  • Note Kc33 🎒☕️🏃🏻‍♂️👨‍🍳
    ไม่ต้องหรู พฤติกรรมจิตสำนึกคนใช้สำคัญที่สุด ความสะอาดเรื่องใกล้ตัว
    08 ส.ค. 2563 เวลา 07.50 น.
  • มันอยู่ที่คุณภาพของคนที่ใช้ ไม่ใช่คนที่สร้าง เคยเห็นห้องน้ำในเอ็มโพเรียม สยามพารากอน มีเขียนเลอะเทอะบนกำแพงไหมละ นั่นล่ะคำตอบ!
    08 ส.ค. 2563 เวลา 02.48 น.
  • SUNSHlNE
    ไม่ต้องสวยเก๋ ไม่ต้องแพงหรูหรา เอาแค่ธรรมดาและขอให้สะอาดถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อผู้มาใช้ มีจำนวนเพียงพอ กระจายให้ครบทุกจุด
    08 ส.ค. 2563 เวลา 05.29 น.
  • Chaiwat
    Design ออกมาเป็นรูปร่างก่อน ได้ไหมว่าจะสะอาดหรือเป็นบ่อขยะ
    08 ส.ค. 2563 เวลา 05.20 น.
  • ณัฐเชษฐ์ จำรัส
    เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้ได้สำนึกการใช้ของสาธารณะร่วมกันต้องดี
    08 ส.ค. 2563 เวลา 13.06 น.
ดูทั้งหมด