ทั่วไป

ร้าวหนัก! สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ร่อนแถลงการณ์ขอ ‘จุฬาฯ’ ทบทวนจุดยืน

The Bangkok Insight
อัพเดต 14 ส.ค. 2563 เวลา 10.01 น. • เผยแพร่ 14 ส.ค. 2563 เวลา 09.59 น. • The Bangkok Insight

จุฬาฯ” ร้าวหนัก! สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ร่อนแถลงการณ์ขอ "มหาวิทยาลัย" ทบทวนจุดยืน อย่าผลักนิสิตประท้วงนอกรั้ว เสี่ยงต่อความปลอดภัย

จากกรณีที่ คณะจุฬาฯ และ Spring Movement ประกาศจัดกิจกรรมชุมนุมประท้วงทางการเมือง#เสาหลักจะหักเผด็จการ เวลา 16.00 น. วันนี้ (14 ส.ค. 63) ณ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนามจุ๊บ) แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอ้างว่าได้รับการประสานงานอย่างกระชั้นชิดเกินไป และหากนิสิตคนใดฝ่าฝืนเข้าร่วมกิจกรรม จะถูกลงโทษทางวินัยด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ล่าสุดวันนี้ สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมชุมนุมในพื้นที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว

จุฬาฯ รัฐศาสตร์

จี้ "มหา'ลัย" ทบทวนจุดยืน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แถลงการณ์จากสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเนื้อหาว่า

เนื่องด้วยประกาศสำนักบริหารกิจการนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เผยแพร่เมื่อ 11.42 น. วันที่ 14 สิงหาคม 2563 มีใจความว่า ไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมชุมนุมภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย

โดยอ้างว่าผู้จัดกิจกรรมขออนุญาตแจ้งจัดกิจกรรมในเวลากระชั้นชิด ทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถประสานงานได้ตามกำหนดเวลา อีกทั้งยังย้ำรูปแบบและวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมว่าต้องมีเงื่อนไข อันได้แก่ ต้องเป็นรูปแบบเชิงวิชาการ ไม่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพ หรือความเชื่อผู้อื่น และไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม รวมถึงกำชับว่าหากฝ่าฝืนประกาศและดำเนินกิจกรรมต่อไป นิสิตที่เกี่ยวข้องจะถูกดำเนินการทางวินัย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การไม่อนุญาตให้ชุมนุมภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยถือเป็นการกีดกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนิสิต และกดดันให้นิสิตต้องรับความเสี่ยงในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนอกรั้วมหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรปกป้องสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งประกอบด้วยการแสดงออกทางการเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากล รวมถึงไปถึงสวัสดิภาพของนิสิต มิใช่ตัดสินใจผลักไสให้นิสิตออกนอกรั้วมหาวิทยาลัยที่มีความเสี่ยงสูงกว่า

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทบทวนจุดยืนในฐานะสถานศึกษาซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อนิสิตและสังคม อีกทั้งพิจารณาอนุญาตให้จัดกิจกรรมชุมนุมภายในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อปกป้องสวัสดิภาพและความปลอดภัยของนิสิต และส่งเสริมให้นิสิตได้แสดงออกอย่างสันติ ตามกรอบการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชน

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14 สิงหาคม 2563

“อาจารย์นิติฯ” ลงชื่อค้านคำสั่ง จุฬาฯ

ในวันเดียวกันนี้ คณาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 14 คน ได้ร่วมลงนามแถลงการณ์ เพื่อคัดค้านคำสั่งของผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไม่อนุมัติให้นิสิตนักศึกษาจัดกิจกรรมเย็นวันนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้าพเจ้าคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้ เห็นว่า

  • นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 34 และมาตรา 44
  • ในกรณีที่การชุมนุมมีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายดังที่กล่าวอ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม มิใช่ปิดกั้นการจัดชุมนุมหรือจำกัดการแสดงออกเป็นการล่วงหน้า (prior restraint) ดังเช่นการไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมเช่นนี้ หากต่อมา แม้มีการกระทำความผิดจริง ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินคดีในภายหลัง (subsequent punishment)
  • เพื่อการดูแลความปลอดภัย สวัสดิภาพของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพ พร้อมๆ กับการเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ชุมนุม นิสิต บุคลากร และประชาคมจุฬาฯ เช่น การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยโดย รปภ. มหาวิทยาลัย และอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้ เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างการส่งเสริมการใช้เสรีภาพและการรักษาสวัสดิภาพความปลอดภัยให้ได้อย่างสมดุล
  • พื้นที่ที่นิสิตจะจัดกิจกรรมการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง คือ ลานพระบรมรูปสองรัชกาล แม้เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ถือเป็นพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐ และที่สำคัญ พื้นที่ดังกล่าวเคยเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะบ่อยครั้ง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มจุฬาฯ รักชาติ เมื่อเดือนมีนาคม 2557

มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่เสรี สนับสนุนการแสดงออกทางความคิดและการถกแถลง อันเป็นรากฐานแห่งความก้าวหน้าของศาสตร์วิทยาการต่างๆ

แฟ้มภาพเยาวชนปลดแอก

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มข้าพเจ้าจึงคัดค้าน การไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าว

  • รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
  • อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
  • อาจารย์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
  • อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล
  • ศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุด
  • อาจารย์ณัฏฐพร รอดเจริญ
  • อาจารย์ฐิตินันท์ เต็งอำนวย
  • อาจารย์ฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช
  • อาจารย์ ดร.รวินท์ ลีละพัฒนะ
  • อาจารย์ ดร.พัชร นิยมศิลป์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 89
  • Lek
    สู้ๆน้อง สู้เพื่อใคร 555
    15 ส.ค. 2563 เวลา 03.09 น.
  • Porn
    ล่าออกไห้โรงเรียนเจ้งเลย
    15 ส.ค. 2563 เวลา 02.59 น.
  • Pichet qui est riche
    ร้าวหนักก็ทุบทิ้ง จุฬาเป็นนิติบุคคล ส่วนไอ้สโมเหรี้ยนี่ ไม่ต้องตั้งขึ้นก็ได้ มีแต่พวกนอกคอก แหกคอก ฆรวยมั้ยเด็กสโม
    15 ส.ค. 2563 เวลา 02.54 น.
  • คิดถึงไวรัสโควิค -19 จัง
    15 ส.ค. 2563 เวลา 02.52 น.
  • อาจารย์​คงโดนเชื้อโรค​สายพันธุ์​ใหม่​เข้าไป​เลยลืมประชาธิปไตย​นักศึกษา​ต่อสู้​เพื่อประโยชน์ของ​ประชาชนให้ไปถึงมศาลมหาวิทยาลัย​เป็นของประชา​ชน​ทั้งประเทศ​
    15 ส.ค. 2563 เวลา 02.09 น.
ดูทั้งหมด