ไลฟ์สไตล์

เรื่องน่ารู้ของลำไส้ สมองที่2 เชื่อมโยงกับอารมณ์ ลำไส้ไม่ดีเสี่ยงป่วย ซึมเศร้า

THE ROOM 44 CHANNEL
อัพเดต 29 ส.ค. 2566 เวลา 09.15 น. • เผยแพร่ 29 ส.ค. 2566 เวลา 09.15 น.

เรื่องน่ารู้ของลำไส้ สมองที่2 เชื่อมโยงกับอารมณ์ ลำไส้ไม่ดีเสี่ยงป่วย ซึมเศร้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากพูดถึงลำไส้ รู้หรือไม่คะว่า "สุขภาพลำไส้" มีความเชื่อมโยงกับอารมณ์ นักจิตเวชศาสตร์พบว่าอาการทางจิตบางอย่าง เช่น ภาวะวิตกกังวล, "ซึมเศร้า" อาจเกิดจาก "ลำไส้" และระบบย่อยอาหารที่ทำงานผิดปกติ บทความนี้จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาหาคำตอบเรื่องนี้กันค่ะ

"ลำไส้" มีฉายาว่าเป็น "สมองที่ 2" ของมนุษย์ ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสร้างสารสื่อประสาทบางชนิดที่เชื่อมโยงกับสุขภาพจิตอีกด้วย เนื่องจากสำไส้มีระบบประสาทของตัวเอง ทำงานได้โดยไม่ต้องรับคำสั่งจากประสาทส่วนกลาง

"ลำไส้" ผลิตสารเซโรโทนิน (serotonin) ส่งผลต่อจิตใจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า "สารเซโรโทนิน" (serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ถูกผลิตขึ้นจากบริเวณลำไส้และทางเดินอาหาร มากถึง 80-90% โดยสารเซโรโทนิน เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาททางเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานหลายอย่างของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายมีปริมาณเซโรโทนินที่เหมาะสม เราก็จะมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าร่างกายไม่ผลิตสารตัวนี้ (มีความผิดปกติไป) ก็จะเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางจิตใจด้วย

ในทำนองเดียวกัน มีข้อมูลจาก ดร.ซามูน อาห์มัด ศาสตราจารย์คลินิกจิตเวชศาสตร์ ที่ NYU Grossman School of Medicine และเป็นหัวหน้าแผนกจิตเวชศาสตร์ผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์เบลล์วิว นครนิวยอร์ก ระบุว่า ตั้งแต่กลางปี 2020 มาจนถึงปัจจุบัน นักจิตเวชศาสตร์ได้ค้นพบข้อมูลสำคัญในการเกิดอาการผิดปกติทางจิตใจ นั่นคือ อาการป่วยทางจิตจำนวนมาก เริ่มต้นจากการทำงานผิดปกติในลำไส้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"ไมโครไบโอมในลำไส้" สร้างสาร "โดปามีน (Dopamine)" ส่งผลต่ออารมณ์เช่นกัน

"กลุ่มจุลินทรีย์ในลำไส้" หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "ไมโครไบโอม (Microbiome)" ในลำไส้ ซึ่งพวกมันมีบทบาทในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอย่าง “โดปามีน (Dopamine)”(สารควบคุมอารมณ์และความรู้สึก เช่น ความพึงพอใจ ความปิติยินดี) ถูกผลิตขึ้นในลำไส้ และส่งไปยังสมองผ่านระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย เพื่อควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นปกติ เมื่อร่างกายเรามีสุขภาพลำไส้ที่ดี (จุลินทรีย์ในลำไส้สมดุลแข็งแรง) ก็จะปล่อยสารสื่อประสาทชนิดนี้ออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ

แต่ถ้าสุขภาพลำไส้ไม่ดี หรือเกิดภาวะที่เรียกว่า "Dysbiosis" หรือภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการใช้ยาฆ่าเชื้อ, การกินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ, ความเครียด, การติดเชื้อในลำไส้ ฯลฯ ก็จะทำให้ลำไส้หยุดผลิตสารโดปามีน โดยในระหว่างการเกิดภาวะ dysbiosis นั้น มีกลไกหลายอย่างที่สามารถนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตเวชได้ โดยเฉพาะ “ภาวะซึมเศร้า”

ทำอย่างไรให้ "สุขภาพลำไส้" แข็งแรง ลดความเสี่ยงซึมเศร้า

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีกากใยสูง รวมถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลเชิงเดี่ยว แป้งขัดสี และอาหารแปรรูปที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงไปพร้อมๆ กัน ก็จะดีต่อสุขภาพลำไส้มากที่สุด

การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการช่วยดูแลเรื่องการขับถ่าย ให้ระบบลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง "Syn Fiber" ซินไฟเบอร์ ที่รวมจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดจาก USA ไว้ด้วยกันทั้งโพรไบโอติก (Probiotic), พรีไบโอติก (Prebiotic) และไฟเบอร์ (Fiber) ตัวช่วยในการดูแลสุขภาพและระบบขับถ่าย ปรับสมดุลย์ให้ร่างกาย และมีผิวพรรณเปล่งปลั่งดูมีสุขภาพดี ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการช่วยเรื่องขับถ่าย

ผลิตภัณฑ์ 1 กล่องบรรจุ 7 ซอง รับประทานวันละ 1 ซอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line official account: @synfiber.official