ทั่วไป

อีสานอินไซต์ เผยเด็กในภาคอีสาน มีทั้งหมด 3.3 ล้านคน

สำนักข่าวไทย Online
อัพเดต 12 ม.ค. เวลา 16.32 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. เวลา 09.32 น. • สำนักข่าวไทย อสมท

ขอนแก่น 12 ม.ค. – คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น เผยข้อมูลสะสมถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ในภาคอีสานมีจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยอ้างอิงจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีทั้งหมด 3.3 ล้านคน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 51.5% และเพศหญิง 1.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 48.5%

โดย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีจำนวน 390,176 ล้านคน 2. อุบลราชธานี มีจำนวน 301,923 ล้านคน 3.ขอนแก่น มีจำนวน 255,355 ล้านคน 4.บุรีรัมย์ มีจำนวน 251,234 ล้านคน และ 5.อุดรธานี มีจำนวน 237,526 ล้านคน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น ตั้งข้อสังเกตว่า จังหวัดที่มีเด็กมากก็แปรผันตามจำนวนประชากร รวมทั้ง จ.นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลฯ แต่ จ.อุบลฯ กลับเป็นจังหวัดใหญ่ที่มีสัดส่วนประชากรเด็กมากกว่าอีก 2 จังหวัด และบึงกาฬ มีสัดส่วนเด็กต่อประชากรสูงที่สุด ถึง 16.8% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในอีสาน โดยมี มุกดาหาร อุบลฯ และบุรีรัมย์ เป็นลำดับถัดมา ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนเด็กน้อยต่อประชากรน้อยที่สุด กลับเป็น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และโคราช ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนเด็กต่อประชากรต่ำกว่า 15% ซึ่งจะส่งผลต่อโครงสร้างประชากร ซึ่งอาจสร้างผลกระทบหลายด้านต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต รวมทั้งยังเป็นความท้าทายของสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

หากแบ่งเป็น Generations ก็จะพบว่า The Digital Native (Gen Z) มีอายุตั้งแต่ 12-14 ปี ในภาคอีสานจะมี 399,987 คน เป็น Gen ที่เติบโตในยุคอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย เสพติดความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี และยังมีความเป็นตัวเองสูงและมีความคิดริเริ่ม เรียกได้ว่าใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก 99% ดูทีวี 54% เลยทีเดียว สามารถใช้แพลตฟอร์มหลากหลาย เข้าถึงสื่อกลุ่มใหม่ ๆ เปิดรับสื่อและแพลตฟอร์มใหม่ อีกทั้งยังซื้อของออนไลน์สูงสุด เล่นเกมออนไลน์สูงเป็นอันดับ 2

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

The AI Kids (Gen Alpha) จะมีอายุน้อยกว่า 12 ปี ซึ่งในภาคอีสานมีมากกว่า 2,899,670 คน เป็น Gen ที่เติบโตและพึ่งพานวัตกรรมและเทคโนโลยีตั้งแต่แรกเริ่ม ส่วนมากจะใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากกว่า และมีพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยจะใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก 99% ดูทีวี 58% โดยจะมักใช้ Facebook, YouTube, Line และ TikTok อีกทั้งยังเล่นเกมออนไลน์สูงเป็นอันดับ 1.-716-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวต้นฉบับ