ทั่วไป

"หมอน้อย” หนุ่มสาวที่ทิ้งเงินเดือน ทิ้งความสบาย เพื่อมารักษาชีวิตคนบนเกาะ

อีจัน
อัพเดต 22 ก.พ. 2563 เวลา 07.44 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2563 เวลา 07.33 น. • อีจัน
เรื่องนี้ยาว แต่อยากให้อ่านจนจบนะ …

เรื่องนี้ยาว แต่อยากให้อ่านจนจบนะ

เขา คือ ฟาอีฟ หาญทะเล หนุ่มวัย 24 ปี
ส่วนเธอ คือ ลิยานา เบนหมาด สาววัย 22 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อ สัปดาห์ก่อน อีจันได้พบกับหมอเชษฐ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ของ จ.สตูล เขาบอก อีจันต้องได้พบกับ “เขา” และ “เธอ” คู่นี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หนุ่มสาวสองคนนี้ คือ หมอน้อยของคน 2 เกาะ คือ บุโหลนเล และ บุโหลนดอน
เรานั่งเรือจากชายฝั่งสตูล ฝ่าคลื่นไปประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ถึงเกาะบุโหลนเล
เกาะแสนสวยที่มีผู้คนอยู่ประมาณ 100 ครอบครัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ที่นั่นเดิมไม่มี อนามัย ระบบการสาธารณะสุขก็เข้าไม่ถึง
คนบนเกาะหากเจ็บป่วย ทางเดียวที่เป็นโอกาสรอด คือ นั่งเรือ ฝ่าคลื่นลม มรสุม มายัง รพ.บนฝั่งให้ได้
เจ็บป่วยเล็กน้อยคงไม่เท่าไร เจอประเภทต้องคลอดลูก หรือ หัวใจวาย นั่นคือ ความลำบาก
ด้วยความเมตตา เมื่อประมาณ 7 ปี ก่อน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานทุนการศึกษา ให้กับเด็กบนเกาะ ที่มี วุฒิ ม. 3 มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะไปเรียนต่อเวชกรฉุกเฉิน และกลับมาดูแลพี่น้องบนเกาะบุโหลนเลและ บุโหลนดอน ได้ในอนาคต
ทุนการศึกษาถูกส่งมา 2 ปี แล้ว แต่…หาผู้รับทุนไม่ได้

วันหนึ่ง ณ เกาะหลีเป๊ะ
ฟาอีฟ เล่าว่า คุณครูของเขาไปตามเขาถึงเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งตอนนั้นเขาทำงานในรีสอร์ทและได้รับเงินเดือน เดือนละ 25,000 บาท
“ช่วงนั้น ชีวิตผมดีมาก ผมใช้ 10,000 เก็บ 10,000 ได้อย่างสบายๆ”
แต่เมื่อครูบอกว่า เขา และ น้องลิยานา เป็นเพียงเด็ก 2 คน จากทั้งเกาะที่เรียนจบ ม. 3 และสามารถรับทุนนี้ได้ ทั้งฟาอีฟ และ ลิยานา จึงตัดสินใจทิ้งงาน ทิ้งเงิน เดินทางออกจากเกาะเพื่อเรียนต่อ
เมื่อเรียนจบ ที่เกาะบุโหลนเล ถือได้ว่ามีบุคลากรแล้ว
แต่…ปัญหาต่อมา คือ ไม่มีที่ทำงาน

พี่ๆสาธารณสุขก็พยายามไปขอปันศาลาของโรงเรียนที่มีแห่งเดียวบนเกาะ เพื่อตั้งเป็นสุขศาสาบริการสาธารสุขเล็กๆ จัดเป็นสถานที่ให้ ฟาอีฟ และ ลิยานา ได้ทำงานในฐานะ หมอน้อย รักษาดูแลสุขภาพของคนทั้งเกาะ

สิ่งที่ ฟาอีฟ และ ลิยานา ต้องทำ คือ ดูแลให้บริการเมื่อมีคนเจ็บป่วยมาหา เท่าที่ความรู้กับอุปกรณ์อันจำกัดจะช่วยได้
ในวันที่ฉุกเฉิน หมอน้อย คือ ความหวังเดียวในเกาะอันห่างไกล
หมอน้อย ต้องทำคลอดได้ ซีพีอาร์คนป่วยได้ พาคนป่วยไปส่ง รพ.บนฝั่งได้
“ผมต้องซีพีอาร์คนไข้บนเรือ ตลอด 1 ชั่วโมง โดยไม่มีคนเปลี่ยน แต่เพื่อให้เขารอด ผมก็ต้องทำให้ได้ ”
ความมุ่งมั่น และจิตใจอันเข้มแข็ง ดูสวนทางกับ เสื้อผ้ามอซอและสภาพความเป็นอยู่ ที่เราดูด้วยตาก็รู้ว่า เขาและเธอ ไม่ได้สบายนัก

4 ปี ที่ผ่านมา
ทั้งคู่ไม่มีที่พัก ต้องอาศัยนอนกับครูที่ รร.
ทั้งคู่ไม่มีเงินเดือน ต้องอาศัยการเจียดงบประมาณ จาก อบต. และอบจ. มาจ่ายเดือนละ 5,000/6,000 บาท
ทั้งคู่ลำบาก เงินเดือนไม่ออกมา 4 เดือนแล้ว 

“เราสวมเสื้อเครื่องแบบที่ดูดี แต่เบื้องหลังแล้ว ชีวิตไม่ต่างกับสัมภเวสี ที่ต้องเร่ร่อนขอที่นอน ที่กิน ที่ทำงาน แต่ทุกครั้งที่คนไข้มาหา เราต้องพร้อมที่จะดูแล และช่วยเหลือ”

ฟังเรื่องราวของหมอน้อยคู่นี้ เราอยากกราบหัวใจ
เย็นวันนั้น เราเดินทางออกจากเกาะบุโหลนเล ด้วยความรู้สึกบอกไม่ถูก ใจหนึ่งปลาบปลื้มที่ได้พบหนุ่มสาวที่มีหัวใจยิ่งใหญ่เช่นนี้ อีกใจกลับหนักอึ้ง รู้เพียงว่า เราต้องหาทางช่วยเหลือให้หมอน้อยพ้นความยากลำบากนี้ให้ได้
เรือแล่นออกจากฝั่งช้าๆ หมอน้อยยืนส่งเราด้วยสายฝากความหวัง เรารู้ เขากำลังร้องไห้
และเรารู้ว่า…เราจะต้องกลับไป
แล้วเราจะต้องเจอกันอีกนะ “หมอน้อย”ของเกาะบุโหลน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • เด็กมัญจาคีรี 😁😁😁😁
    แบบนี้ ทำไมไม่มีคนช่วยกันแชร์ ทำไมไม่คนช่วย
    22 ก.พ. 2563 เวลา 09.02 น.
  • tad 🏖 4 U
    ดีจัง ชื่นชมครับ
    22 ก.พ. 2563 เวลา 09.22 น.
  • สุพธริกา
    น่าจะบอกเบอรบัญชีมาจะได้โอนเงินไปช่วยเหลือได้
    22 ก.พ. 2563 เวลา 10.59 น.
  • สิริรัตน์ วิศาลวิทย์
    ใช่ค่ะ แบบนี้น่าจะช่วยกันเยอะๆ ทีมีคนบอกลำบากมากแต่ตัวเองยังกะหมูเด็กๆงี้ผอมกะหร่อง ยังงั้นยังช่วยกันมากมาย ฮือๆ ทีหมอน้อยสองคนนี่ช่วยกันเยอะๆนะค้า จะช่วยกันทางใดได้ บอกด้วยค่ะ สาธุ ขอให้มีคนใจบุญใจดีมีเมตตาช่วยกันด้วยเถอะค่ะ
    22 ก.พ. 2563 เวลา 09.40 น.
  • แบบนี้ช่วยเขา​ เขาจะช่วยคนอื่นได้อีกเยอะ​ บอกเลยจะช่วยแขร์
    22 ก.พ. 2563 เวลา 09.28 น.
ดูทั้งหมด