ทั่วไป

ยุทธศาสตร์สร้างหนี้! ปล่อยกู้ให้คนละ 5 หมื่น ซื้อใจ ปชช. ด้วยภาษี ปชช.!

TheHippoThai.com
เผยแพร่ 03 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

ยุทธศาสตร์สร้างหนี้! ปล่อยกู้ให้คนละ5 หมื่นซื้อใจปชช. ด้วยภาษีปชช.!

เงินกู้ฉุกเฉินสำหรับรายย่อย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตามที่ ครม. อนุมัติเงินกู้ฉุกเฉินสำหรับรายย่อย รายละ 50,000 บาท ในระยะเวลาการผ่อนชำระ 5 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ ซึ่งผู้มีรายได้น้อยสามารถยื่นคำขอได้ถึง 31 มีนาคม 2563 เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลายฝ่ายต่างให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง 

โดยโครงการนี้ เป็นโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 ของธนาคารออมสิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน ทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน รวมทั้งสามารถนำไปใช้หนี้นอกระบบได้ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.85% ต่อเดือน คาดว่าโครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยให้ดีขึ้นประมาณ 200,000 ราย

รัฐอาจสูญ 4,000 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สินเชื่อลักษณะดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดเงื่อนไขในการชดเชยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loan : NPL) ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการนี้ให้ธนาคารออมสินไว้ไม่เกินร้อยละ 40 คิดเป็นวงเงินประมาณไม่เกิน 4,000 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่ารัฐบาลอาจต้องสูญเสียเงินไปถึง 4,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยให้กับทางธนาคาร ในกรณีที่มีการผิดการชำระจากลูกหนี้ แต่ก็ใจชื้นขึ้นได้บ้าง เนื่องจากในโครงการแรกนั้นพบว่ามีหนี้เสียเพียงร้อยละ 0.14 เท่านั้น

ผลลัพธ์สวนทางหนี้สินครัวเรือน

ท่ามกลางการโหมกระแสข่าวจากฝั่งรัฐบาลถึงความสำเร็จในการปล่อยกู้ในเฟสแรก ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ปี 2561 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนคาดยังเติบโตได้ใกล้เคียง หรือสูงขึ้นกว่าในปี 2561 โดยพุ่งขึ้นเป็น 12 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่ากังขาว่า การปล่อยเงินกู้นี้ แท้ที่จริงแล้วจะช่วยเยียวยาปัญหาทางเศรษฐกิจของผู้มีรายได้น้อยจริงๆ หรือไม่ หรือเพียงเปลี่ยนผ่านจากหนี้นอกระบบมาสู่หนี้ในระบบ แต่ที่แน่นอนที่สุดเห็นจะเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้แก่รายย่อยให้มากขึ้นไปอีก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ระเบิดเวลาของประชานิยม

หรือนี่จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์จากรัฐบาล ที่เอาการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบมา ‘เคลือบ’ นโยบายประชานิยมอย่างแนบเนียนมานับปี ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ ทว่ากลับซ่อนเร้นศักยภาพอันต่ำต้อยของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และก็เป็นที่น่าคิดว่าจากการอนุมัติ ครม. ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ทำไมข่าวนี้จึงกลับมาเป็นกระแสในช่วงปลายปี ซึ่งใกล้กับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น

หรือนี่เป็นสัญญาณของการสืบทอดอำนาจ?

 

https://www.posttoday.com/finance/news/556260

https://www.thairath.co.th/content/1315126

https://www.thairath.co.th/content/1234107

https://www.sanook.com/money/466845/

ความเห็น 251
  • ...... มันเหมือนที่เขาพูดจริง ๆ แหละว่ารัฐบาลนี้ " มันโง่ " สมคำร่ำลือจริง ๆ .......
    03 พ.ย. 2561 เวลา 01.34 น.
  • 04i24
    เข้าข่ายซื้อเสียงไหม..กกต...? (เอ่อ...ลืมไป...กกต. ใครแต่งตั้ง...) ประเทศกูมี...อีกแล้วครับท่าน
    03 พ.ย. 2561 เวลา 01.30 น.
  • นิทัศน์
    ให้กู้อย่างไรก็แก้ไขการเป็นหนี้ การหายจนไม่ได้เพราะพฤติกรรมท่ีก่อให้เกิดหนี้ พฤติกรรมก่อให้เกิดความยากจน ของคนเหล่านี้ไม่มีการแก้ไข ยกระดับความขยัน ความอดทน ความประหยัด อุปสรรคเหล่านี้อยู่คงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนแปลง
    03 พ.ย. 2561 เวลา 01.29 น.
  • Viwatchai
    ชัดเจนแน่แล้วว่า มีคนต้องการสืบทอดอำนาจ เขาวางหมากไว้หมด ลดแลกแจกแถมให้กลุ่มต่างๆเอาใจสารพัดเลยช่วงนี้ เพื่ออะไรละ?
    03 พ.ย. 2561 เวลา 01.07 น.
  • mongkon
    เก่งจังนิเรื่องหาทางแจกเงิน กู้ได้กู้เลย รัฐบาลหน้าว่ากันใหม่
    03 พ.ย. 2561 เวลา 01.10 น.
ดูทั้งหมด