กำเนิด GUNDAM
ย้อนกลับไปสักประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว อนิเมะแนวหุ่นยนต์ยักษ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น อย่างเช่น Mazinger Z, Gigantor, Getter Robo,Danguard Ace ฯลฯ ไหนจะพวกหุ่นยนยต์ยักษ์จากซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ (เหล่าขบวนการมนุษย์ 5 สี) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการ์ตูนแนวหุ่นยนต์ที่มีพลังพิเศษ หรืออภินิหาร ปล่อยลำแสง ยิงหมัดเหล็ก อะไรทำนองนั้น
ภาพจาก Samuele Schirò : https://pixabay.com/images/id-1010971/
ผู้ให้กำเนิดซีรีส์ GUNDAM
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1979 Yoshiyuki Tomino อดีตพนักงานที่เคยทำงานในสตูดิโอของ Tezuka Osamu สุดยอดปรมาจารย์ในการ์ตูนญี่ปุ่นผู้ที่เป็นคนสร้างเจ้าหนูปรมาณู (Astro Boy) จนโด่งดังไปทั่วโลก ก่อนที่จะย้ายไปทำงานที่ Sunrise สตูดิโอผลิตอนิเมะ ได้ร่วมงานกับ Kunio Okawara ศิลปินที่เคยออกแบบหุ่นยนต์ให้อนิเมะมาแล้วหลายเรื่อง ซึ่งตอนนั้นเขาก็ทำงานอยู่ที่ Sunrise เช่นกัน ได้ร่วมกันรังสรรค์ผลงานที่ได้ชื่อว่าปฏิวัติวงการอนิเมะแนวหุ่นยนต์ไปตลอดกาลออกมา นั่นก็คือ กันดั้ม (GUNDAM)
Mobile Suit Gundam ตอนแรกเริ่มออกอากาศในวันที่ 7 เมษายน ปี ค.ศ. 1979 โดยมีเนื้อเรื่องที่เข้มข้น เป็นเรื่องราวของสงครามระหว่างมนุษย์ที่ถูกแยกออกเป็นสองฝ่าย และทำสงครามกันด้วยหุ่นยนต์เหล็กยักษ์ที่ชื่อว่า Gundam ซึ่งเป็นเนื้อหาที่แปลกใหม่มากในสมัยนั้น และได้รับความนิยมจนได้รับคำจำกัดความใหม่ให้เป็นอนิเมะแนว "Real Robot" (หุ่นยนต์ที่มีความสมจริง) ต่างจากการ์ตูนหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆ ในสมัยนั้น ที่จะเรียกว่า "Super Robot" (พวกหุ่นอภินิหาร ปล่อยพลัง แปลงร่างได้)
Yoshiyuki Tomino
Kunio Okawara
ว่ากันตามตรง Mobile Suit Gundam ที่เป็นซีรีส์ชุดแรกของ Gundam ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ในช่วงแรกๆ เนื่องจากผู้ชมคาดหวังว่าจะได้ชมการ์ตูนแนว Super robot มีหุ่นออกมาปล่อยพลังเปรี้ยงปร้าง ในขณะที่ Mobile Suit Gundam มีเนื้อหาที่ค่อนข้างเครียด มุ่งเน้นไปที่สงครามระหว่างจักรวรรดิ เรียกได้ว่ามันเป็นการ์ตูนสงครามที่มีเนื้อหาค่อนข้างดราม่าหนักเลยก็ว่าได้ นั่นทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เกือบถูกยกเลิกหลังจากที่ออกอากาศไปได้ 39 ตอน แต่หลังจากที่ได้เจรจากับเหล่าผู้สนับสนุน รวมไปถึงบริษัทของเล่นที่ชื่อว่า Clover จนทำให้ได้ยืดเวลาออกอากาศไปจนถึงตอนที่ 43 แบบไม่ถูกตัดจบ
แม้ GUNDAM ตอนแรกๆ จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ แต่มันก็จุดประกายแนวทางใหม่ให้กับการ์ตูนหุ่นยนต์
Clover เป็นบริษัทของเล่นในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี 1973 และปิดตัวในปี 1983 ด้วยอายุเพียง 10 ปี เท่านั้น อย่างไรก็ตามก็ต้องขอบคุณบริษัทนี้ เพราะเขาคือผู้ที่เป็นสปอนเซอร์หลักให้แก่ซีรีส์ชุดแรกของ Gundam ในปี 1973 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ Gundam เกือบถูกตัดจบก็เป็นเพราะว่าหุ่นยนต์ของเล่นจากซีรีส์นั้นขายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเราคิดว่าก็มาจากการที่หุ่นทำออกมาไม่สวยสักเท่าไหร่ แถมรายละเอียดก็ไม่ดีอีกต่างหาก
นี่หรือ Zaku ! (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Clover_(toy_company))
ดีไซน์ของ GUNDAM
ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตซีรีส์ Mobile Suit Gundam นั้น สตูดิโอ Sunrise ได้ทำสัญญากับ Yoshikazu Yasuhiko จาก Studio Nue ที่เป็นสตูดิโอด้านการออกแบบ และมีผลงานชื่อดังอย่าง Macross 7 ให้มาช่วยงานด้านดีไซน์ ซึ่งทาง Yoshikazu Yasuhiko ก็เอ่ยปากว่าอยากทำงานร่วมกับ Kunio Okawara ด้วย เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ขึ้นจากมุมมองที่แตกต่างกันของทั้งสองทีม
ตอนนั้น Kunio Okawara เคยออกแบบ GUNBOY เอาไว้ในสมัยที่ทำโปรเจคเรื่อง Daitairn 3 อยู่ โดยเป็นชุดที่สามารถสวมใส่เพื่อสู้รบในอวกาศได้ ไอเดียมาจากจากชุดนักบินอวกาศสวมใส่ ซึ่งภายหลังมันก็คือที่มาของคำว่า Mobile Suit นั่นเอง
เจ้า GUNBOY ได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ทาง Studio Nue ใช้ในการออกแบบหุ่นยนต์สำหรับซีรีส์ GUNDAM แต่ Kunio Okawara ได้เสนอให้ลองออกแบบใหม่โดยมีชุดเกราะซามูไรเป็นแรงบันดาลใจดู
ในที่สุดภาพร่างของ GUNDAM ตัวแรกก็ถูกร่างขึ้น โดย Kazutaka Miyatake นักออกแบบ และศิลปินแนววิทยาศาสตร์จาก Studio Nue โดยภาพซ้ายเป็นภาพแรกที่ถูกร่างขึ้น แต่ Yasuhiko ได้ให้ความเห็นว่ามันดูบอบบาง และไร้พลังจนเกินไป หลังจากปรับปรุงหลายครั้ง ก็ได้เป็นหุ่นที่ดูเพรียวแต่แข็งแรงมากขึ้นดังภาพขวา
จากภาพด้านบน ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า GUNDAM ต้นแบบนั้นมีปากด้วย แต่ Okawara มองว่ามันดูแปลกประหลาดมากๆ กับการที่หุ่นยนต์ยักษ์สูง 18 เมตร ต้องมีปาก นั่นทำให้มีการออกแบบ "ผ้าปิดปาก" ขึ้นมา
ที่มาภาพ cr3ative : https://www.deviantart.com/cr3ative/art/RX-78-2-Gundam-Head-465433332
ที่มาของคำว่า GUNDAM
เดิมทีชื่อเรื่อง GUNDAM จะใช้คำว่า "Freedom" ที่แปลว่าอิสรภาพ เป็นคำหลัก อย่างชื่อซีรีส์ เดิมทีก็มีชื่อว่า Freedom Fighter Gunboy หรือไม่ก็ Gunboy ไปเลย เพราะมันเป็นเรื่องของเด็กหนุ่มที่ต้องทำสงครามเพื่ออิสรภาพของจักรวรรดิด้วยการขับหุ่นยนต์ไปยิงต่อสู้กัน, ตัวยานแม่อย่าง White Base เดิมทีก็จะใช้ชื่อว่า Freedom Fortress, นักบินที่ขับ GUNDAM ก็จะใช้ชื่อว่า Freedom Wing
แต่ภายหลัง Hajime Yatate (ชื่อนามแฝงกลุ่มทีมงานของ Sunrise) ได้ตัดสินใจตั้งชื่อใหม่โดยเอาคำว่า Gun กับ Freedom มารวมกันออกมาเป็นคำว่า Gundom แต่ Yoshiyuki Tomino ได้ตัดสินใจเปลี่ยนเป็นคำว่า GUNDAM แทน โดยบอกว่าปืนของหุ่นยนต์ในเรื่องนี้ทรงพลังมากพอที่จะต่อต้านศัตรูได้เหมือนกับที่เขื่อน (อังกฤษ:Dam) สามารถกั้นน้ำจำนวนมหาศาลเอาไว้ได้นั่นเอง
ภาพจาก https://tenor.com/view/mobile-suit-gundam-unicorn-gundam-unicorn-fire-rifle-beam-gif-6164730
GUNDAM มีออกมากี่ภาคแล้ว?
GUNDAM มีมา 40 ปีแล้ว และก็มีการผลิตออกมาทั้งทีวีซีรีส์, ภาพยนตร์ และ OVA (ขายแบบแผ่นเท่านั้น) ซึ่งมีออกมาต่อเนื่องทุกปี ทำให้จนถึงตอนนี้มีออกมาทั้งหมด 46 ภาค แล้ว
ปัจจุบัน GUNDAM เป็น Media franchises ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยมูลค่าการประเมินที่ $26,000,000,000 หรือประมาณ 795,080,000,000 บาท
เกร็ดความรู้
Media franchises คือสื่อประเภทหนังสือ, ภาพยนตร์, วิดีโอเกมส์, หนังสือการ์ตูน, แอนิเมชั่น หรือทีวีซีรีส์ที่ขยายตัวเองไปยังสื่ออื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ ตัวอย่างเช่น เจ้าแมว Kitty หรือ Star Wars ที่มีทั้งภาพยนตร์, การ์ตูน, สินค้า ฯลฯ
ชื่อเรื่อง สื่อ ปีที่เผยแพร่ ช่วงเวลาในจักรวาล Mobile Suit Gundam TV series 1979–1980 UC 0079 Compilation movies 1981–1982 Mobile Suit Zeta Gundam TV series 1985–1986 UC 0087 Compilation movies 2005–2006 Mobile Suit Gundam ZZ TV series 1986–1987 UC 0088 Mobile Suit Gundam: Char's Counterattack Movie 1988 UC 0093 Mobile Suit SD Gundam Movies 1988, 1989, 1991, 1993 OVA 1989–1991 Compilation TV series 1993 Mobile Suit Gundam 0080: War in the Pocket OVA 1989 UC 0079-80 Mobile Suit Gundam F91 Movie 1991 UC 0123 Mobile Suit Gundam 0083: Stardust Memory OVA 1991–1992 UC 0083 Compilation movie 1992 Mobile Suit Victory Gundam TV series 1993–1994 UC 0153 Mobile Fighter G Gundam TV series 1994–1995 Future Century 60 Mobile Suit Gundam Wing TV series 1995–1996 After Colony 195 Compilation specials 1996 Mobile Suit Gundam: The 08th MS Team OVA 1996–1999 UC 0079 Compilation movie 1998 After War Gundam X TV series 1996 After War 15 Gundam Wing: Endless Waltz OVA 1997 After Colony 196 Compilation movie 1998 Turn A Gundam TV series 1999–2000 Correct Century 2343-5 Compilation movies 2002 G-Saviour Live-action movie 2000 UC 0223 Gundam Neo Experience 0087: Green Diver Specialty format movie 2001 UC 0087 Gundam Evolve Animated shorts 2001–2007 Mobile Suit Gundam SEED TV series 2002–2003 Cosmic Era 71 Compilation specials 2004 Superior Defender Gundam Force TV series 2003–2004 Mobile Suit Gundam MS IGLOO: The Hidden One Year War OVA 2004 UC 0079 Mobile Suit Gundam SEED Destiny TV series 2004–2005 Cosmic Era 73 Compilation specials 2006 Mobile Suit Gundam MS IGLOO: Apocalypse 0079 OVA 2006 UC 0079 Mobile Suit Gundam SEED C.E. 73: Stargazer OVA 2006 Cosmic Era 73 Mobile Suit Gundam 00 TV series 2007–2008 Anno Domini 2307-8, 2312 Compilation specials 2009 Mobile Suit Gundam MS IGLOO 2: Gravity Front OVA 2009 UC 0079 Mobile Suit Gundam Unicorn OVA 2010–2014 UC 0096 Compilation TV series 2016 SD Gundam Sangokuden Brave Battle Warriors Movie 2010 TV series Mobile Suit Gundam 00 the Movie: A Wakening of the Trailblazer Movie 2010 Anno Domini 2314 Model Suit Gunpla Builders Beginning G OVA 2010 Mobile Suit Gundam AGE TV Series 2011–2012 Advanced Generation 115-164 Compilation specials 2013 Gundam Build Fighters TV series 2013–2014 Our Century Mobile Suit Gundam-san TV series 2014 Gundam Reconguista in G TV series 2014–2015 Regild Century 1014 Gundam Build Fighters Try TV series 2014–2015 Our Century Special episode 2016 Mobile Suit Gundam: The Origin OVA 2015–2018 UC 0068, 0071, 0078 Mobile Suit Gundam: Iron-Blooded Orphans TV series 2015–2017 Post Disaster 323, 325 Mobile Suit Gundam Thunderbolt OVA 2015–2017 UC 0079 Compilation movies 2016–2017 Mobile Suit Gundam: Twilight AXIS OVA 2017 UC 0096 Compilation movie 2017 Gundam Build Fighters: Battlogue OVA 2017 Our Century Gundam Build Fighters: GM's Counterattack OVA 2017 Our Century Gundam Build Divers Prologue OVA 2018 Our Century TV Series 2018 Our Century Mobile Suit Gundam Narrative Movie 2018 UC 0097 SD Gundam World Sangoku Soketsuden Net Animation 2019-TBA Gundam Build Divers Re:Rise Net Animation 2019-TBA Our Century Mobile Suit Gundam: Hathaway's Flash Movies 2020-TBA UC 0105
GUNPLA ของเล่นที่สร้างชื่อให้ GUNDAM
อย่างที่เราบอกไว้ช่วงต้นว่า ซีรีส์ GUNDAM ในตอนแรกนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่หลังจากที่ BANDAI ได้สิทธิ์ในการผลิตหุ่นยนต์ของเล่น GUNDAM ออกมาขาย โดยใช้ชื่อว่า Gunpla ที่เกิดจากคำว่า Gundam ผสมกับคำว่า Plastic model ซึ่งสุดท้ายได้เรียกโดยย่อว่า Gunpla
Gunpla ตัวแรกที่วางจำหน่ายมีชื่อที่ถูกตั้งง่ายๆ ว่า "1/144 Gundam" วางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ปี 1980 ในราคาเพียง 300 เยน เท่านั้น ประกอบเสร็จจะได้หุ่นกันดั้มความสูง 125 มม.
ต้องขออธิบายเพิ่มเติมว่า การซื้อ Gunpla มาเราไม่ได้ซื้อโมเดล Gundam มานะ มันคือการซื้อชุดประกอบสำหรับสร้างโมเดล Gundam มาต่างหาก ซึ่งยุคนั้น เทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปพลาสติกก็ยังไม่แม่นยำเหมือนในสมัยนี้ การประกอบโมเดลจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เราต้อง ตัด, ตะไบ, ประกบ แล้วก็ไม่ได้มีกดเข้าล็อคง่ายๆ เหมือนกันพลาสมัยนี้นะ แต่ต้องใช้กาวในการยึด แล้วก็โมเดลเมื่อประกอบเสร็จจะมีแค่สีเดียว ดังนั้น ผู้ประกอบจะต้องทำสีแต่ละส่วนให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยนำไปประกอบ ว่ากันตามตรงมันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กๆ เลย
ภาพจาก https://gizmodo.com/celebrate-35-years-of-gundam-model-kits-with-this-exqui-1687965432
แต่ก็ด้วยความยาก ทำให้มันเป็นเสน่ห์ของ Gunpla ไปในที่สุด แถมต่อมาในภายหลัง BANDAI ยังมีชุดประกอบให้ผู้ซื้อนำไปปรับแต่ง ผสมผสาน สร้างดีไซน์ที่ตนเองต้องการได้อีก สร้างความนิยมไปแพร่หลายทั่วโลก ทุกวันนี้มีการแข่งขันประกอบ Gunpla ในหลายประเทศด้วยล่ะ
ภาพจาก https://en.gundam.info/news/event/news_event_20181210_008.html
ที่หน้าห้าง DiverCity Tokyo Plaza ในประเทศญี่ปุ่น มี Landmark เป็นหุ่นกันดั้มขนาดเท่าของจริงจัดแสดงไว้ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยนะ ด้วยความสูง 19.7 เมตร ปล่อยไฟได้ ทำให้คนมาชมกันเพียบเลยล่ะ
จะเห็นได้ว่า GUNDAM เป็นหนึ่งใน Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากจริงๆ แม้แต่ผู้กำกับหนังชื่อดังอย่างสตีเวน สปีลเบิร์กยังจำมันไปใส่ไว้ในหนังเรื่อง Ready Player One ด้วย ซึ่งต้องบอกว่าฉากที่ GUNDAM ออกมานั้น "โคตรเท่" และถ้าสังเกตดีๆ อีก เขาเลือกใช้รุ่น RX-78-2 Gundam ที่อยู่ในภาคแรกด้วยนะ น่าจะเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อต้นฉบับ
แถมให้อ่าน
หุ่น GUNDAM ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
สื่อ NHK เคยทำโพลสำรวจความนิยมของ GUNDAM โดยได้รับผลโหวตทั้งหมด 1,740,280 โหวต จากผู้ชาย 78% และผู้หญิง 22% ซึ่งผู้โหวตมีตั้งแต่วัยรุ่นอายุ 20 ไปจนถึงคุณปู่อายุเกิน 60 เลยล่ะ ผลออกมาดังนี้
- RX-93 ν Gundam (Mobile Suit Gundam: Char's Counterattack)
- MSZ-006 Zeta Gundam (Mobile Suit Zeta Gundam)
- ZGMF-X20A Strike Freedom Gundam (Mobile Suit Gundam Seed Destiny)
- XXXG-00W0 Wing Gundam Zero (Mobile Suit Gundam Wing: Endless Waltz)
- ZGMF-X10A Freedom Gundam (Mobile Suit Gundam Seed)
- MSN-00100 Hyaku Shiki (Mobile Suit Zeta Gundam)
- AMX-004 Qubeley (Mobile Suit Zeta Gundam)
- MSN-04 Sazabi (Mobile Suit Gundam: Char's Counterattack)
- F91 Gundam F91 (Mobile Suit Gundam F91)
- RX-78-2 Gundam (Mobile Suit Gundam)
ลองมาชมหน้าตาของหุ่นที่ได้รับการโหวตสูงสุดกันสักเล็กน้อย RX-93 ν Gundam จาก Mobile Suit Gundam ตอน Char's Counterattack นั้นได้รับคะแนนโหวตชื่นชอบจากแฟนๆ สูงที่สุด ทั้งนี้ เราหาข้อมูลตัวเลขไม่เจอนะ ว่าแต่ละอันดับคะแนนห่างขนาดไหน
ภาพจาก https://www.hype.tokyo/products/mobile-suit-gundam-chars-counterattack-real-grade-1-144-plastic-model-rx-93-nu-gundam
อันดับสอง MSZ-006 Zeta Gundam หุ่นตัวนี้น่าจะได้เห็นกันบ่อยๆ โทนสีขาว, น้ำเงิน, เหลือง และแดง ถือเป็นเอกลักษณ์ที่หลายคนจดจำมันได้
ภาพจาก https://global.rakuten.com/en/store/kenbill/item/4573102553669/
ส่วนตัวผู้เขียนเนี่ย ชอบ Gundam Astray Red Frame จาก Mobile Suit Gundam SEED Astray แต่ไม่ติดอันดับเลย (ฮา)
ภาพจาก https://www.japantoys.com.au/hirmastray-red-frame.html