ทั่วไป

“จุรินทร์” เปิดมหกรรมยางพารา ประกาศดึงราคาขึ้นเพิ่มส่งออก

new18
อัพเดต 16 ธ.ค. 2562 เวลา 02.54 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2562 เวลา 22.00 น. • new18
“จุรินทร์” เปิดมหกรรมยางพารา ประกาศดึงราคาขึ้น เพิ่มส่งออก พร้อมจับมือนายกฯดันการใช้ยางในหน่วยราชการ

“จุรินทร์” เปิดมหกรรมยางพารา ประกาศดึงราคาขึ้น เพิ่มส่งออก พร้อมจับมือนายกฯดันการใช้ยางในหน่วยราชการ
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2563 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ  โดยมีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผวจ.บึงกาฬ นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  ท่านบุนเส็ง ปะทำมะวง รองเจ้าแขวงบอลิคำไซ ท่านเลี่ยว จุ้น หยุน กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น ท่านคมคาย พระวรชัย รองกงสุลใหญ่ สปป.ลาว ณ จังหวัดขอนแก่น นายก อบจ. บึงกาฬ ผู้แทนภาครัฐ เอกชน รวมทั้งนายกิจ หลีกภัย และคณะ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2563 ซึ่งจัดขึ้นได้ทุกปี ซซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว บึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่การผลิต การค้า และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมยางพาราสูงมาก ถือเป็นผู้นำของภาคอีสาน หรือเมืองหลวงยางพาราภาคอีสานก็ว่าได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคายางพารามีความผันผวน แต่ชาวจังหวัดบึงกาฬก็ยังเดินหน้าจัดงานใหญ่เป็นปีที่ 8 เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาต่อยอด โดยเฉพาะด้านองค์ความรู้ที่จะพัฒนา ด้านนวัตกรรมการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการผลักดันของจังหวัดบึงกาฬในการระบายการใช้น้ำยางพารา ทั้งในการนำไปผลิตหมอน และที่นอนยางพารา นำไปสร้างถนนหนทาง ที่มีแนวคิดนำยางพารามาเป็นส่วนผสม หรือถนนยางพาราแอสฟัลติก (para asphaltic) เป็นการระบายการใช้น้ำยางพาราโดยสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนใช้ยางพารา เป็นแนวทางสำคัญ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากที่สุด นับเป็นแนวทาง  การแก้ไขปัญหาของยางพาราอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังมี การร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศ เช่น จีน ในการลงนามข้อตกลงซื้อยางพารา เป็นต้น จึงนับเป็นการแก้ปัญหาเรื่องราคายางพารา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยางเป็นหนึ่งในพืชที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายไว้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด และยางพารา โดยมีการจ่ายส่วนต่างไปแล้ว 1 พย และ 1 มค งวดสุดท้าย มีนาคม แล้วจะวนไปทุกปี ซึ่งแถลงนโยบายไว้กับรัฐสภา นับจากเวลานี้เกษตรกรจะไม่มีรายได้ทางเดียว แต่จะมีรายได้จากการขายสินค้าเกษตร แต่จะมีรายได้อีกก้อนที่ สอง คือเงินชดเชยส่วนต่าง 

ยางแผ่นดิบ กก ละ 60 น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา กก.ละ 57 บาท และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา กก.ละ 23 บาท โดยวิธีคิดส่วนต่าง ราคาตลาด ลบ เช่น ประกัน 23 ราคา ตลาด 20 จะมีเงินส่วนต่าง 3 บาท รัฐบาลก็จะชดเชย 3 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชี ธกส. ทันที อันนี้คือนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีมาตรการคู่ขนาน ที่รัฐบาลดูแลหลักๆ คือ 1. พยายามดูแลเรื่องการปลูกยางไม่ให้มาก ไม่ให้ล้นตลาด โดยกยท. จะแนะนำให้โค่นต้นยาง 1 แถว ให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทน 1 แถว เพื่อให้นำพืชอื่นแซม เพื่อให้เกษตรได้รายได้จากสินค้าเกษตรชนิดอื่นด้วย ได้ด้วยในช่วงเวลาที่ราคายางตกต่ำ 2. ดึงราคายางในประเทศให้มีเสถียร เสถียรภาพโดยเพิ่มการใช้ยาง 2 ส่วน 1 เพิ่มการใช้ยางให้มากขึ้น เช่นชุมนุมสหกรณ์สวนยางบึงกาฬ ไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า เช่น การทำหมอนยาง การทำหมอนสำหรับเด็กในอนาคต ซึ่งเป็นความต้องการของตลาดจีน โดยดึง ต่างประเทศมาลงทุนแปรรูป ส่วนภาครัฐ ส่งเสริม เช่น คมนาคม กลาโหม อบจ. นำยางไปทำถนน สนามฟุตซอล ที่กั้นผิวจราจร ทำเสาหลักกิโลเมตร โดยปี2563 จะเพิ่มการใช้ยางราชการแสนกว่าตันใช้ในส่วนราชการ ทำให้ดูดซับได้มากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3. เร่งรัดการส่งออกยางพารา วันนี้ที่เชิญ จีนมาซื้อยางในงานนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ขอบคุณท่านพินิจ ขอบคุณลูกค้าจีนที่มาซื้อยางของไทย เช่น ตุรกี 20 ล้านใบ มูลค่า หมื่นสองพันล้าน บาทที่ผ่านมาขายยางอินเดีย ภาษีอินเดียแพงมาก 20% ปรากฎ ซื้อยางถึงหนึ่งแสนตัน ที่สำคัญของอินเดียคือไม้ยางที่อินเดียมีอยาคต เซรษฐกิจดี จะสร้างที่อยู่อาศัยให้คนจน ที่ผ่านมาใช้ไม่สัก แต่ไม้ยางจะไปชดเชยไม้สักได้ ซึ้งไม้ยางถือว่ามีอนาคต กลางเดือนมกราคม ผมจะไปอินดดียอีกที่ตุรกิเร่งเจรจา fta อยู่เพื่อช่วยการส่งออกซึ่งเป็นประตูไปสู่ยุโรป เพื่อนำรายได้ทั้งหมดเข้าประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานมหกรรมยางพาราจังหวัดบึงกาฬ เป็นมหกรรมใหญ่ประจำปีซึ่งมีการจัดแสดง การแข่งขัน การพบปะระหว่างเอกชนและผู้ผลิตภายในงานและยกระดับงานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปีโดยมีการให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพของยางพาราและเน้นให้เกิดการแปรรูปด้วย โดยก่อนหน้านี้นายจุรินทร์ได้ไปเยี่ยมชมสหกรณ์ชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬซึ่งมีโรงงานทำหมอนยางพาราโดยมีกำลังการผลิตเดือนละกว่า 20,000-30,000 ใบ และสามารถขยายกำลังการผลิตขึ้นได้อีกหากมีออเดอร์

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 14
  • 🌿ลิต เตอร์☘️
    ยางพาราไม่ใช่ข้าวกินแล้วขี้ๆ เอาไปแปรรูปย่อยสลายก็ยาก สามารถน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ อยู่ได้เป็นร้อยๆปีบางอย่าง ทุกวันนี้ปลูกกันทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา คิดจะหาเสียงด้วยยางพารา มันแค่ของเด็กเล่น ใครเชื่อมันก็โง่
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.57 น.
  • Toonkularb
    ให้มันทพได้เถอะ ไม่ใช่มาพ่นน้ำลายไปวันๆ. ปชช. ขัดสน เข้าตาจน คงลุกขึ้นมาสู้ตาย
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.45 น.
  • S.P
    ดีใจกับท่านในโครงการนี้ ไม่งั้นเกษตรกรออกมาเต็มถนนแล้ว
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.40 น.
  • วัฒนา สุดสนิท
    คนใต้ เป็นถึงเจ้ากระทรวง ทำราคา พืชผลทางการเกษตร ให้มีราคา ดีๆเป็น ของขวัญปีใหม่ ให้ชาวใต้ และ ประชาชน ได้ชื่นชม ทีเถอะนะ อู๊ดนะ...
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.38 น.
  • สจ..
    ส่งไปดาวอังคารเหรอเกษตรจะตายอยู่แล้ว
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.36 น.
ดูทั้งหมด