ไลฟ์สไตล์

‪อภัยใครได้‬ทั้งโลก ยกเว้นตัวเอง‬ - ดังตฤณ

THINK TODAY
เผยแพร่ 22 ธ.ค. 2562 เวลา 01.59 น. • ดังตฤณ

มีคนประเภทหนึ่ง 

เหมือนใจดีกับคนอื่น 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ใจร้ายกับตัวเอง 

ด้วยเหตุผลพิสดารต่างๆ กันไป

เช่น เอื้ออาทรต่อลูกหลาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซื้ออะไรให้ใครต่อใครได้ไม่อั้น

อยากเห็นเขาดีใจ

แต่กับตัวเองประหยัดมัธยัสถ์เต็มที่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อยากได้อะไรก็อดใจไม่ซื้อตลอด

ราวกับว่าเป็นความผิด

ถ้าจะคิดเอาทรัพยากรโลกมาให้ตัวเองใช้

ไม่แบ่งปันให้คนอื่นก่อน

.

กับอีกประเภท 

ใครทำอะไรไม่ดีกับตัวเองแค่ไหน 

ก็ชินที่จะช่างเขา 

ไม่เอาใจไปผูกเจ็บ 

แต่กับตัวเองเป็นตรงข้าม 

ผิดนิดผิดหน่อยไม่ได้

หงุดหงิดด่าเช้าด่าเย็นอยู่ในใจไม่เลิก

.

ประเภทนี้ดูเผินๆ เหมือนประหลาด

สวนทางกับชาวบ้านเขาเป็นตรงกันข้าม

กล่าวคือ ปกติชาวบ้านทั้งหลาย

เขาจะเอาดีเข้าตัว โยนชั่วให้คนอื่น

เห็นใจตัวเองชัด แต่ไม่ถนัดเห็นใจคนอื่น

คนอื่นจำเป็นต้องได้อะไร

ไม่สำคัญเท่าตัวเองอยากได้อะไร

ความผิดคนอื่นเท่าภูเขา

ความผิดตัวเราเท่าเส้นผม

ข้าทำเองไม่เป็นไร

แต่แกทำนี่ด่าบ้านแตก

.

หากพิจารณาแบบพุทธว่า

ที่คนเราเห็นแก่ตัว

ก็เพราะมีอุปาทานในตัวตน

ชนิดเข้าข้างตัวเองเหนียวแน่น

ก็ต้องมองว่าที่บางคนเห็นแก่ใครอื่นมากไป

เพราะมีอุปาทานในตัวตนกลับขั้ว

เข้าข้างคนอื่นผิดปกติ

สำคัญว่าเป็นเรื่องดีที่จะอภัยคนอื่น

แต่เป็นเรื่องผิดถ้าจะยอมอภัยให้ตนเอง

.

บางคนเริ่มมีปมอุปาทานกลับขั้ว

จากการโทษตัวเองไม่เลิก

ย้ำคิดย้ำด่า เสียดายไม่ทำอย่างนั้น

เสียดายไม่เอาอย่างนี้

เลยทำคนอื่นเขาเดือดร้อนไปทั่ว

กระทั่งกินไม่ได้นอนไม่หลับ

แล้วฝังใจอย่างรุนแรงว่า

ตัวเองเลว ต้องด่า

คนอื่นน่าเห็นใจ ต้องอภัยเสมอ

.

แต่บางคนก็เริ่มปมจากความเป็นคน ‘ติดดี’

ด้วยเหตุผลที่ใครๆ นึกไม่ถึง

อาทิเช่น ช่วงเด็กดูหนังแนวฮีโร่

ประเภท คนดี คือคนที่เห็นใจคนอื่น

โดยไม่นึกถึงตัวเองเลย

แล้วเกิดแรงบันดาลใจฝังจิตว่า

ถ้าอยากเป็นคนดี ต้องไม่มีความไยดีกับตัวเอง

สงสารคนอื่นได้ แต่ตัวเองห้ามสงสาร

ซึ่งประเภทนี้บางทีก็ซับซ้อน

เพราะแรงกดดันที่อัดอั้นไว้

ก็ระเบิดตัวออกมาเป็นการนั่งสงสารตัวเอง

แบบไม่มีเหตุผล ไม่มีปี่มีขลุ่ย

.

ปมอุปาทานกลัวขั้ว

จะมาจากอะไรไม่สำคัญ

การแก้แบบพุทธใช้วิธีเดียวกันหมด

คือ ละอุปาทานด้วยความจริงที่เห็นอยู่ตรงหน้า

เช่น เฝ้าสังเกตว่า

ลมหายใจเข้าออกมันเป็นตัวเดิมไหม

เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็สั้นอยู่อย่างนี้

.

ชั่ววูบที่จับสังเกตได้ว่า 

ลมหายใจไม่แน่นอน ทั้งขาเข้า ขาออก 

มาจากข้างนอก เดี๋ยวก็กลับคืนสู่ภายนอก 

แล้วปล่อยความรู้สึกว่า

เป็นลมหายใจเดิมๆ ของเราเสียได้

คุณก็จะมีพลังสติในการปล่อยตัวเก่าเดิมๆ

ในวันก่อนที่ผิดพลาด

ให้หายไปจากวันนี้ได้เหมือนกันครับ!

.

ความเห็น 5
  • Tui of Earth
    รักตัวเองโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น โลกนี้ย่อมสวยงาม รักตัวเองให้มากๆ เพื่อจะได้มีพลังไว้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก
    22 ธ.ค. 2562 เวลา 03.28 น.
  • Rainny L.(อิมกึมบี)🌦
    ก่อนจะยกโทษและอภัยให้ตัวเอง ก็ต้องสำนึกผิดก่อน ว่าได้ทำอะไรลงไปและมีผลเสียอย่างไรคิดให้ได้ก่อน ถ้าคิดไม่ได้ อภัยตัวเองก็เท่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไร
    22 ธ.ค. 2562 เวลา 03.33 น.
  • ในการพิจารณาถึงในหลักของความเป็นจริงให้รอบครอบอย่างดีแล้ว ก็ย่อมสามารถที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจที่สมควรทำต่อในสิ่งที่ถูกต้องได้เสมอ.
    22 ธ.ค. 2562 เวลา 03.42 น.
  • Ging Kamonrat ⭐️
    "ได้ค่ะ, เข้าใจค่ะ, ไม่เป็นไรค่ะ, ไหวค่ะ, ได้ทุกคนทุกเรื่องเลยค่ะ " ... ตอนแรกมันก็สนุกมากดีมากไป ตอนนี้ทำไมอึดอัดจัง บอกใคร อ่อนแอ หรือล้ม ให้ใครเห็นไม่ได้เลย ... คนนู้นต้องการแบบนู้น คนนี้ต้องการแบบนี้ ไม่มีใครถามเลยว่า "เหนื่อยไหม ทำได้ไหม (ย้ำ! ทำได้อยู่แล้ว! ถ้าทำไม่ได้นะ!) "ทำได้ค่ะ" "ทำไมยิ่งทำ ยิ่งพัง" "ยิ่งพยายาม ไม่มีอะไรเหลือ" "ยิ่งเดิน ยิ่งไกล" นี่ไม่มีเวทมนต์ เหมือน แม่มดน้อยโดเรมี !!!! // ไม่สนุกแล้ว ไม่อยากตื่นมาแล้ว เหนื่อยจัง! T,___,T
    03 ม.ค. 2563 เวลา 22.31 น.
  • Yong
    คนที่รู้จักให้อภัยคนอื่นได้แม้จะถูกดูหมิ่นเหยียดหยามก็ยังให้อภัยได้แสดงว่าเป็นผู้มีปัญญาเพราะจิตถูกอบรมมาดีแล้วสามารถทำจิตให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ก็เพราะสติรู้ตัวเห็นความคิดนึกของตัวเองดีก็รู้ว่าดีแต่ถ้าชั่วก็ไม่ส่งเสริมความคิดนั้นสามารถกำหนดจิตละความคิดที่ไม่ดีนั้นทิ้งไปเสียตลอดจนคิดถึงเมตตาควรมีขึ้นให้มากเมตตาก็คือการให้อภัยนี่เองเป้าหมายก็คือการพ้นทุกข์ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 อันเป็นก้้้้้อนทุกข์นี่เองด้วยมีจิตที่เข้าถึงโลกุตระธรรมย่อมเข้าใจโลกว่าเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งและไม่สามารถให้อภัย
    28 ธ.ค. 2562 เวลา 09.56 น.
ดูทั้งหมด