ทั่วไป

รถไฟฟ้าล้อยางไร้คนขับขบวนแรกของไทยมาแล้ว ถึงไทย 10 มิ.ย.นี้ เตรียมพร้อมขึ้นโรงจอดลอยฟ้าโครงการ“รถไฟฟ้าสายสีทอง”ที่สถานีกรุงธนบุรี พร้อมให้บริการชาวกรุงภายในเดือนต.ค.นี้

สวพ.FM91
อัพเดต 29 พ.ค. 2563 เวลา 03.40 น. • เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 12.51 น.

รถไฟฟ้าล้อยางไร้คนขับขบวนแรกของไทยมาแล้ว ถึงไทย 10 มิ.ย.นี้ เตรียมพร้อมขึ้นโรงจอดลอยฟ้าโครงการ“รถไฟฟ้าสายสีทอง”ที่สถานีกรุงธนบุรี พร้อมให้บริการชาวกรุงภายในเดือนต.ค.นี้

นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทองช่วง สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน (รถไฟฟ้าสายสีทอง) ว่า หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กำหนดการจัดส่งขบวนรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองต้องเลื่อนจากเดือนเมษายน 2563ที่กำหนดไว้เดิม ล่าสุดขณะนี้ทางบริษัทผู้ผลิตในจีน ได้จัดส่งขบวนรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวมาแล้ว โดยขบวนรถจะมาถึงไทย ในวันที่ 10 มิถุนายน 2563 นี้ โดยจัดส่งมาก่อน 1 ขบวนมี 2 ตู้โดยสาร จากจำนวนที่จัดซื้อทั้งหมด 3 ขบวน โดยขบวนที่เหลือจะจัดส่งมาภายหลัง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายมานิต กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง จะใช้รถ รุ่น Bombardier Innovia APM 300 ซึ่งผลิตจากเมืองอู่หู มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อรถมาถึงและผ่านพิธีการทางศุลกากรแล้วจากนั้นจะมีการนำขบวนรถไฟฟ้ายกขึ้นสู่โรงจอดและซ่อมบำรุงที่สถานีกรุงธนบุรี เพื่อเตรียมการทดสอบระบบในช่วงเดือน มิถุนายนถึงกันยายน และทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Running) ในเดือนกันยายน ก่อนเปิดให้บริการในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2563 นี้ซึ่งกำลังเร่งรัดงานในส่วนที่ล่าช้าจากผลกระทบโควิด-19

“สำหรับรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 มีความพิเศษคือ เป็นระบบที่ใช้เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบไร้คนขับโดยใช้รางนำทาง มีผิวสัมผัสระหว่างล้อและทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลและก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำ ความเร็วการทำงานสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขบวนรถที่ใช้ในระบบมีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ โดยใช้รับส่งผู้โดยสารจำนวน 2 ขบวน และสำรองไว้ในระบบ 1 ขบวน ความจุผู้โดยสาร 137 คน/ขบวน รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร น้ำหนัก 16,300 กิโลกรัม”

นายมานิต กล่าวต่อด้วยว่า สำหรับความคืบหน้างานก่อสร้างโรงจอดและซ่อมบำรุง รวมถึงสถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) และสถานีคลองสาน (G3) ความก้าวหน้าภาพรวม 88 % แบ่งออกเป็นความก้าวหน้างานโยธา 93% และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ 81%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ

ดูบทความอื่นๆ จาก สวพ.FM91

หน้าหลัก
สวพ.FM91
ความเห็น 10
  • kasem
    เอามาดัดแปลงแทนรถเมล์บนพื้น เชื่อมต่อเส้นรองทุกเส้นที่ไม่สามารถทำรถไฟลอยฟ้าได้....ถ้าทำได้จะช่วยลดการใช้รถส่วนตัวลงได้เยอะ เพราะเฉพาะรถไฟฟ้าลอยฟ้ายังไงก็ไม่ทั่วถึง บางจุดไม่มีรถไฟฟ้าผ่านหลายกิโลเลย
    28 พ.ค. 2563 เวลา 13.57 น.
  • Foong
    มำไมรถแบบนี้ ประเทศเรายุคคลากร คงโง่มากๆ ไม่มีปัญญาผลิตเอง...หรือสั่งซื้อดีกส่าจะได้กินเงินค่าส่วนต่างกันน๊าาาาาา!!!
    28 พ.ค. 2563 เวลา 14.00 น.
  • mom2kids
    เอางบซื้อมาวางไว้โชว์ รองบเปลี่ยนยางได้อีกยาวๆ ของดีต้องไม่มีล้อ แม่เหล็กไฟฟ้าน่ะรู้จักไหม ของดีราคาถูกโดยใช้สมองคนไทยไม่ให้คิดทำ ไปซื้อของห่วยๆมาใช้
    28 พ.ค. 2563 เวลา 13.56 น.
  • Nicha
    คงแพงน่าดูรุ่นนี้.. สายมิตรภาพไทย-จีน
    28 พ.ค. 2563 เวลา 13.54 น.
  • lovely cat
    มีล้อ ก้ต้องส่อมเยอะ
    28 พ.ค. 2563 เวลา 14.02 น.
ดูทั้งหมด