ทั่วไป

สังคมงง! “เซอร์วิสชาร์จ” ทำไมต้องมี? จ่ายพนักงานหรือจ่ายร้านกันแน่?

Another View
เผยแพร่ 11 ม.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

สังคมงง! “เซอร์วิสชาร์จทำไมต้องมี? จ่ายพนักงานหรือจ่ายร้านกันแน่?

“เซอร์วิสชาร์จ” ถือเป็นเรื่องที่สังคมเริ่มตั้งคำถามอย่างจริงจัง และผู้บริโภคเริ่มปฏิเสธที่จะจ่ายและเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ว่า สมควรหรือไม่? ต้องจ่ายหรือไม่? ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เรียกได้ว่าถกเถียงกันเองในหมู่ผู้บริโภคมายาวนานกว่า 2 ปี แต่ล่าสุด กรมการค้าภายใน ก็ได้ออกมาชี้แจงแล้ว พร้อมเตรียมจัดระเบียบร้านค้าร้านอาหารทั่วประเทศ ในปี 2562 นี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"นายวิชัย โภชนกิจ" อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงนโยบายการทำงานในปี 2562 ว่า กรมฯ จะเดินหน้าดูแลผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าและบริการ โดยเรื่องค่าบริการ(เซอร์วิสชาร์จ) ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะคิดที่10% ของราคาอาหารกรมฯถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะบางครั้งพนักงานให้บริการไม่ดี ผู้บริโภคไม่เต็มใจจ่ายแต่ต้องยอมจ่าย กรมฯ จึงเสนอให้ร้านอาหารเปิดให้เป็นทางเลือกกับผู้บริโภคที่จะจ่าย หรือไม่จ่ายก็ได้ หากไม่ได้รับความพึงพอใจ

ทั้งนี้ เว็บไซต์ของ "ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์" เคยได้ชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ว่า ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ในยุโรป ส่วนใหญ่มีการเก็บ เซอร์วิสชาร์จ (service charge) แต่ละที่ก็มีการจัดเก็บในอัตราที่แตกต่างกัน แต่ในประเทศไทยนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจน

ทางด้าน "นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์" ที่ปรึกษากฎหมายและเจ้าของเพจดัง #ทนายคู่ใจ เคยกล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ว่า เซอร์วิสชาร์จคือการให้ทิปแก่พนักงาน เพราะฉะนั้นลูกค้าก็มีสิทธิ์ปฏิเสธได้ แต่ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าร้านได้มีการแจ้งลูกค้าก่อนหรือไม่ ว่าทางร้านมีการรวมค่าเซอร์วิสชาร์จเข้าไปอีกกี่เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของที่สั่ง “ส่วนตัวมองว่า หากร้านอาหารเรียกเก็บเซอร์วิสชาร์จโดยที่ไม่แจ้งลูกค้าก่อนแต่มายัดเยียดการขายบริการให้ลูกค้าในภายหลังก็อาจจะไม่แฟร์ และลูกค้าสามารถปฏิเสธได้” นายรณณรงค์ กล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการจัดเก็บเซอร์วิสชาร์จในปีนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอีกฝั่งหนึ่ง นั่นก็คือ พนักงานของร้านในฐานะผู้ให้บริการใกล้ชิดกับลูกค้านั่นเอง เนื่องจากพนักงานก็มักจะได้รับส่วนแบ่งจากเซอร์วิสชาร์จเป็นค่าตอบแทนที่นอกเหนือจากเงินเดือนหรือค่าจ้างด้วย แต่ก็มีหลายกระแสในโลกออนไลน์ที่บอกมาชี้เบาะแสว่า บางร้านที่เก็บเซอร์วิสชาร์จ ก็ไม่ได้แบ่งให้กับพนักงาน

ดังนั้นแล้ว หากมีการจัดระเบียบร้านอาหารเรื่องการเก็บค่าบริการ หรือ เซอร์วิสชาร์จ กับลูกค้าแล้ว ก็ควรที่จะมีการจัดระเบียบเรื่องการจัดสรรปันส่วนค่าบริการนี้อย่างเป็นธรรมด้วยเช่นกัน 

แหล่งข้อมูล 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

https://www.thairath.co.th/content/1461169

https://hilight.kapook.com/view/142420

http://www.tanaiwirat.com/index.php?mo=3&art=42307467

ความเห็น 106
  • อุ้ม🍋‍🟩MANOW
    เอสแอนด์พีไง มีเซอร์วิสชาร์จแต่บริการห่วยแตกมาก พนักงานแย่ เหมือนเราเข้าไปขอทานกินเลย หน้าบึ้งหน้างอ ถามไรก็ไม่อยากตอบ และไม่มีการแจ้งลูกค้าด้วย มาเห็นตอนดูบิลว่าคิดค่าเซอร์วิส
    11 ม.ค. 2562 เวลา 00.23 น.
  • วุฒิพงษ์
    ใช่ครับผมเห็นว่าไม่ควรมี ให้ลูกค้าตัดสินใจเองดีกว่าว่าสมควรจะให้หรือไม่เพราะเด็กเสริฟบางคนทำงานแบบหน้างอมากไม่มีอารมณ์ที่จะทำงานไม่สมควรให้ถ้ามีเซอร์วิสชาตจะยิ่งไปกันใหญ่เพราะยังไงก็ได้อยู่แล้ว
    11 ม.ค. 2562 เวลา 00.25 น.
  • Bill สุรพล
    อย่าไปกินที่มีเซอร์วิสชารจ์ เดี๋ยวมันจะเจ๊งไปเอง
    11 ม.ค. 2562 เวลา 00.18 น.
  • เบื่อจริงๆพวกมัดมือชก
    11 ม.ค. 2562 เวลา 00.34 น.
  • Golf164
    ก้อน่าคิดทบทวนดูนะ
    11 ม.ค. 2562 เวลา 00.22 น.
ดูทั้งหมด