ไลฟ์สไตล์

นักเลง-อันธพาล ในทศวรรษ 2490-2500 กับความเข้าใจเรื่อง "แดง ไบเลย์"

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 22 ม.ค. เวลา 00.33 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. เวลา 00.33 น.
รูปของนายบัญชา สีสุกใส (แดง ไบเลย์) ยอมมอบตัวกับทางการ (ขอบคุณภาพจาก https://board.postjung.com/879374)

“แล้วแต่ปุ๊” คงเป็นวลีจับใจผู้ชมภาพยนตร์เรื่อง2499 อันธพาลครองเมือง แต่ในความเป็นจริงเนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นภาพ “มายาคติ” ที่ครอบงำการรับรู้เกี่ยวกับ นักเลง – อันธพาล ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ถึงต้นทศวรรษ 2500 เสียจนกลายเป็นความจริงที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนในปัจจุบันไปเสียแล้ว ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเรื่องราวของกลุ่มนักเลง – อันธพาล เหล่านั้นจะไม่ได้เป็นไปตามที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็ตาม

นักเลง – อันธพาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คำว่า “นักเลง” หรือ “อันธพาล” นั้นมักถูกสื่อความหมายออกมาในแง่ลบ แต่การนิยามความหมายนั้นผู้นิยามมักเป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการของนักเลงหรืออันธพาล แต่หากมองจากสายตาของกลุ่มผู้ที่อยูในวงการแล้วจะไม่ปรากฎคำว่านักเลงหรืออันธพาลที่ให้ความหมายไปในแง่ลบแต่อย่างใด แต่จะพบคำว่า “นักเพลง” หรือ “จิ๊กโก๋” ที่มีความหมายที่ค่อนข้างที่จะเบาลงมามาก

จากคำบอกเล่าของ ปุ๊ กรุงเกษม หนึ่งในผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นได้เล่าว่า ชีวิตของเหล่าวัยรุ่นชายในช่วงนั้นล้วนแต่มีความคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมตะวันตก และชอบฟังดนตรีตะวันตกเป็นชีวิตจิตใจ และชอบการเที่ยวไปตามสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือสถานบันเทิงต่างๆ เช่น ถนนสิบสามห้างบางลำภู วังบูรพา ซึ่งล้วนเป็นแหล่งพบปะกันของบรรดาวัยรุ่นขาโจ๋ในสมัยนั้น ทำให้ในหลายครั้งเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันของเหล่าวัยรุ่นกลุ่มต่างๆ ที่เกิดการขัดแย้งกันทั้งในกรณีที่เจอกันครั้งแรกแล้วไม่ชอบหน้ากันหรือเป็นคู่อริเก่ากันมาก่อน

การทะเลาะวิวาทนั้นมีอาวุธส่วนมากเป็นไม้และมีด แต่ไม่มีอาวุธปืนเข้าไปเกี่ยวเหมือนในภาพยนตร์แต่อย่างใด กลุ่มวัยรุ่นอันตรายที่มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงเวลานั้นได้แก่ แดง ไบเลย์ ปุ๊ ระเบิดขวด ดำ เอสโซ่ ปุ๊ กรุงเกษม จ๊อด เฮาดี้ หล่อ ปังตอ ตุ๋ย ระเบิดขวด ฯลฯ กลุ่มขาโจ๋นี้ยังถือได้ว่าเป็นเพียงแค่นักเลง “รุ่นเล็ก” ที่นิยมเสียงดนตรี และการเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนฝูงรักในศักดิ์ศรีรักเพื่อนพ้องและนิยมการแต่งกายให้ดูดีเท่านั้น ไม่ได้เป็นถึงผู้มีอิทธิพลหรือนักเลงมืออาชีพที่มีหน้าที่ในการคุมกิจการเถื่อนต่างๆ แต่อย่างใด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สภาพสังคมไทยในช่วงปลายทศวรรษ 2490 – 2500

ช่วงปลายทศวรรษ 2490 – 2500 สังคมไทยอยู่ในขณะของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเมือง-เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้าและบริการภายใต้เศรษฐกิจรูปแบบ “เสรีนิยม” ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในหลากหลายด้าน ทั้งการศึกษา การแพทย์ สินค้าและบริการต่างๆ ฯลฯ อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีประชากรที่หลากหลาย ทั้งชนชั้นสูง ชนชั้นกลางที่ขยายตัวมากขึ้น หรือชนชั้นล่างที่อพยพมาจากต่างจังหวัด เพื่อมาขายแรงงานในเมืองกรุง

วัฒนธรรมต่างชาติโดยเฉพาะวัฒนธรรมอเมริกัน ได้แพร่หลายในสังคมไทยช่วงหลังสงรามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมาจนถึงช่วงหลังสงครามเย็น การรับวัฒนธรรมอเมริกันนี้แสดงออกทั้งด้านการแต่งกาย การไว้ทรงผมให้เหมือนกับดาราฝรั่งโดยเฉพาะเจมส์ ดีน และเอลวิส เพรสลีย์ รวมทั้งการฟังเพลงร็อคแอนด์โรล วัฒนธรรมอเมริกันได้รับความนิยมในหมู่กลุ่มวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นค่านิยมของวัยรุ่นไทยในยุคนั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถึงแม้ว่าปัญหาเรื่องการยกพวกตีกันของนักเลง – อันธพาล ในช่วงนั้นจะไม่ได้เป็นปัญหาระดับชาติที่ร้ายแรงมากนัก แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นในพ.ศ. 2501 ปัญหานักเลง-อันธพาล ถูกยกขึ้นมาเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการปราบปรามอย่างเด็ดขาดเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคม

การสิ้นสุดของนักเลง อันธพาล

ภายหลังการรัฐประหารและขึ้นสู่อำนาจของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลัง พ.ศ. 2501 ได้มีการจัดระบบระเบียบสังคมกันอย่างจริงจัง การปราบปรามนักเลง – อันธพาล เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่ง ระเบียบข้อบังคับมากมายถูกนำมาใช้ในการจับกุมและปราบปรามบรรดากลุ่มวัยรุ่นต่างๆ นักเลงที่มีชื่อเสียงต่างถูกจับเข้าคุมขังคุกที่ลาดยาวกันเป็นจำนวนมากจนถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของกลุ่มนักเลง – อันธพาล ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

ปุ๊กรุงเกษม. ย้อนตำนานโก๋หลังวัง เดินอย่างปุ๊. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาสน์, 2559.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : นักเลง-อันธพาล ในทศวรรษ 2490-2500 กับความเข้าใจเรื่อง “แดง ไบเลย์”

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Yaowalak Nanon
    2564 นักเลง อันธพาลเป็นใหญ่เป็นโต #แป้งก้เยอะ เมียก้แยะ
    03 พ.ค. 2564 เวลา 06.30 น.
  • Champz411
    ขยะสังคม จบคำบรรยาย
    03 พ.ค. 2564 เวลา 09.05 น.
  • มืด
    เป๊ะครับ​ กากๆหลังๆไม่มีทางเข้าใจได้เลย แต่ตั้งแต่มีคำว่าตำรวจมาในเมืองไทย​ ติดทุกช่องมาตั้งแต่สมัยนั้น​
    09 พ.ย. 2565 เวลา 00.02 น.
  • ตาริน
    ใครว่า พวกเค้าเป็นดี? ..ยุค 2490-2500 บ้านเมืองเราแย่มาก .. .โรงถิ่นมีทุกซอย บ่อนเพียบ ซ่องเกลื่อนเมือง .. นักการเมืองทะเลาะกันทุกวัน ปฏิวัติ กบฏมีทุกปี เดี๋ยวทหารบกก่อการ เดี๋ยวทหารเรือก่อการ .. นักเลง กุ๊ย เกลื่อนเมือง ไปดูแลบ่อน ซ่อง โรงยาฝิ่น .. .เด็กวัยรุ่นจับกลุ่มกันเป็นแก็งค์อันธพาล แดงไบเล่ห์ ดำเอสโซ่ ปุ๊ ระเบิดขวด ..พวกนี้ตีกันประจำ รอวันพลาดไปทำร้าย ฆ่าคนตาย ..ออกจากคุกมา ก็ไปทำงานให้พวกขาใหญ่ เจ้าพ่อ ไปคุม บ่อน ซ่อง ต่อๆไป . ดีนะ จอมพลสฤษฏ์ปราบเกลี้ยงไป 7 ปี จนถึงปี 2506
    03 พ.ค. 2564 เวลา 13.52 น.
  • ถ้าผมเกิดยุคสมัยนั้นคงไปสวรรค์แล้ว
    03 พ.ค. 2564 เวลา 11.39 น.
ดูทั้งหมด