ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ นับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตลอดทุกช่วงเวลาตราบใดที่ฝนกระหน่ำตก แล้วยิ่งบางจุดฝนอาจจะตกเพียงไม่กี่นาที แต่ก็สามารถทำให้บริเวณนั้นเกิดน้ำท่วมขังหรือที่เราต่างเรียกกันว่า ‘น้ำรอระบาย’
เสาร์นี้ในอดีต : จะพาย้อนไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 หนังสือพิมพ์ทุกสำนักต่างตีพิมพ์ขึ้นหนึ่ง กับวลีเด็ดของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ในขณะนั้นที่ว่า “ไม่อยากเจอน้ำท่วมให้ขึ้นไปอยู่ดอย” ซึ่งประโยคเด็ดดังกล่าวพาไปสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ให้ออกมาขอโทษประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในขณะนั้น เนื่องด้วยประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฤดูร้อนด้วยซ้ำ อีกทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบตั้งรับไม่ทัน ซึ่งชาวกรุงต่างเดือดร้อนและต้องการทำตอบของการแก้ไขปัญหาของ ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งในช่วงหนึ่งของการแถลงระบุว่า
“ผมมารับตำแหน่งในครั้งแรก กทม. ได้ทำอะไรไว้มาก การระบายน้ำดีกว่าเมื่อก่อนที่ใช้เวลานาน แต่การระบายน้ำ 1 - 2 ชั่วโมงในขณะนี้ ถือว่าไม่นานเกินไป หากฝนตกในปริมาณ 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ก็จะสามารถระบายได้ทันที แต่ถ้าเกิน 60 มิลลิเมตรขึ้นไปอาจจะต้องใช้เวลา เราเป็นเมืองน้ำ เป็นเมืองฝน ไม่มีจุดเสี่ยงเลยคงไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำท่วมต้องไปอยู่บนดอย ใครจะว่าผม ผมไม่ได้ว่าอะไร ใครจะว่าผมก็ว่าได้ ที่ไม่เตือน กทม.”
ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าคำแถลงดังกล่าวทำให้ชาวกรุงและโลกออนไลน์ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากกับคำว่า “ไม่อยากเจอน้ำท่วมให้ขึ้นไปอยู่ดอย” จนเกิดเป็นประเด็นร้อนต่างให้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์อออมาขอโทษกับสิ่งที่ได้แถลงไปโดยด่วน
หลังจากนั้นเพียงไม่นาน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ได้ออกมาแถลงขอโทษพร้อมระบุว่า “บางครั้งตนพูดทีเล่นทีจริง สื่อก็ยกคำพูดนั้นเป็นเรื่องใหญ่โต ขอความร่วมมือสื่อมวลชนให้เกียรติลูกน้องตนบ้าง เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนต่างทำงานหนัก ส่วนจะด่าตน ด่าเมื่อไรก็ได้ ยังนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.อีก 2 ปี ขอให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวดีๆเกี่ยวกับการทำงานของ กทม.บ้าง”
จนกระทั่ง 18 ตุลาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พร้อมคณะทำงาน ออกจากตำแหน่งโดยใช้อำนาจ ม.44 และแต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. จนถึงปัจจุบัน
กรุงเทพเจอฝนแล้วน้ำรอระบายอื้อ?
กรุงเทพมหานคร ในอดีตเต็มไปด้วยคลอง คู บึง ห้วย ที่ว่างรับน้ำเป็นจำนวนมาก เมื่อฝนตกลงมาสามารถระบายน้ำจากถนนและบริเวณที่อยู่อาศัยออกไปที่ลุ่มข้างเคียงได้ง่าย แต่ปัจจุบันความเจริญ ของชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยขาดการกำหนดผังเมืองและการควบคุมการใช้ที่ดินอย่างเพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ที่ว่างรับน้ำต่าง ๆ ถูกถมความสามารถซับน้ำฝนและผิวดินเกือบหมดไปเมื่อผิวดินส่วนใหญ่ ถูกแทนที่ด้วยอาคารและพื้นที่คอนกรีต รวมถึงระดับพื้นถนนและซอยไม่เท่ากัน หรือบางช่วงเป็นแอ่งท้องกระทะเนื่องจากแผ่นดินทรุด ท้าให้น้ำฝนไหลลงมาท่วมถนน และซอยที่ต่ำกว่าเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและรุนแรงในถนน
ปัจจุบันรอบกรุงเทพ มีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำประชาราษฎร์ สาย 2, อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน, อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว และอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ ที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วเปิดใช้ไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่มีปัญหาน้ำท่วม
อ้างอิง : prbangkok.com , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
Tanawat อย่าโทษใคร
มนุษย์ทำกันเอง
26 มี.ค. 2564 เวลา 20.27 น.
Kurt-Jib Lee เอาความจริงเลยนะ ซึ่งคงมีแต่คนไม่ยอมรับแหละ
คือเพราะ ปชช. จำนวนมาก เห็นแก่ตัว มักง่าย แค่นั้นแหละ
เปิดท่อระบายทุกที่ เปิดกี่ที กี่ครั้งก็เจอแต่ขยะเต็มท่อ
ปัญหานี้ใครก็แก้ไม่ได้
26 มี.ค. 2564 เวลา 22.28 น.
กะเพา ท่อตัน ไขมันอุดตันเพียบ
26 มี.ค. 2564 เวลา 20.25 น.
Pittaya833 เก่าไปใหม่มาก็ไม่ได้ต่างกัน ห่วยเท่ากัน
26 มี.ค. 2564 เวลา 18.20 น.
วลีนี้ถ้า..ไม่สมองหมาปัญญาควาย..พูดออกมาไม่ได้หลอก..
26 มี.ค. 2564 เวลา 17.54 น.
ดูทั้งหมด